ทำงานหนัก! ระวังเป็นโรค "คาโรชิซินโดรม" รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
25 ก.ย. 2567
รู้จัก คาโรชิ ซินโดรม (Karoshi Syndrome) โรคจากการทำงานหนักจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ รวมทั้งประสบภาวะทางจิตใจ รู้สึกไร้ค่า กดดันตัวเอง หดหู่ ทำให้อัตวินิบาตกรรมลาจากโลกนี้ไปในที่สุด
เป็นภาวะที่เกิดจากการทำงานหนักเกินไปจนกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในสังคมที่มีการทำงานหนักมาก เช่น ญี่ปุ่น "คาโรชิ" (Karoshi) ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง "การเสียชีวิตจากการทำงานหนัก" ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อคนทำงานมีภาวะความเครียดสูงจากการทำงานเป็นเวลานานโดยไม่มีการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือไม่มีการดูแลสุขภาพที่ดี ผลกระทบจากภาวะนี้สามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดสมอง
สาเหตุหลักของคาโรชิซินโดรมมาจากการทำงานที่เกินกำลัง การขาดการพักผ่อน ความเครียดสะสม และการไม่มีสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว
อาการของโรคคาโรชิ ซินโดรม
- ทำงานล่วงเวลาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
- มาเช้า กลับทีหลังเพื่อนร่วมงาน
- ไม่ใช้วันลาหยุดตามสิทธิ์
- เครียดตลอดเวลา เพราะคิดแต่เรื่องงาน
- มีปัญหาในการนอนหลับ
- มีเวลาให้กับคนรอบข้างน้อยลง
- ปวดหลัง ไหล่ สายตา คล้ายกับโรคออฟฟิศซินโดรม
- ความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โมโห ฉุนเฉียว
กลุ่มเสี่ยงของคาโรชิ ซินโดรม
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45-74 ปี ขึ้นไป ตามธรรมชาติแล้ว คนวัยนี้มักมีฮอร์โมนที่ไม่ค่อยสมดุลกัน พฤติกรรมทำงานมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รวมทั้งกลัวการถูกละเลยจากบุตรหลาน
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดบุตร (Mama Blue)
- โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป อาจประสบกับภาวะซึมเศร้า ทำร้ายตนเองและทารก
- หัวหน้างานตำแหน่งสูง ๆ
- มีความเครียด กดดันสูง ควบคุมพนักงานใต้บังคับบัญชา ทำงานแข่งกับเวลาอยู่เสมอ
- บุคลากรด้านการแพทย์ รับภาระงานจากคนไข้อย่างใหญ่หลวง มีหน้าที่รับผิดชอบชีวิตมนุษย์