ไลฟ์สไตล์

เคสนี้ต้องศึกษา! หมอเถื่อนเกาหลีใต้ระบาดหนัก!

เคสนี้ต้องศึกษา! หมอเถื่อนเกาหลีใต้ระบาดหนัก!

16 ต.ค. 2567

เคสนี้ต้องศึกษา! จากกรณีที่มีการบุกรวบหมอเกาหลีใต้ เปิดให้คำปรึกษาด้านเสริมความงาม เข้าข่ายหมอเถื่อน ไร้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมในไทย ด้าน "แพทยสภา" เผยแพทย์ต่างชาติหากปฏิบัติงานในประเทศไทย ต้องผ่านเกณฑ์ผ่านการรับรอง เหตุมีกฎหมายบังคับชัดเจน

เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2567 ที่ผ่านมา ดร.นายแพทย์ภานุวัฒน์ ปานเกตุ อธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ตามที่ กรม สบส.ได้รับเบาะแสการลักลอบนำแพทย์ต่างชาติเข้ามาประกอบวิชาชีพเวชกรรมในคลินิก ย่านปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ตนจึงสั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่กลุ่มไซเบอร์ กองกฎหมาย กรม สบส.ประสานความร่วมมือกับกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. และแพทยสภา ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ณ คลินิกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 

โดยพบบุคคลซึ่งเป็นแพทย์จากประเทศเกาหลีใต้ กำลังให้บริการด้านการให้คำปรึกษา และประเมินการให้บริการเสริมความงามแก่ผู้รับบริการ โดยมีการสัมผัสบริเวณใบหน้า และให้การวินิจฉัยกับผู้รับบริการ โดยจากการตรวจสอบพบช้อมูลว่า ในการตรวจประเมินและวินิจฉัยในแต่ละครั้งนั้น ทางคลินิกจะให้ผู้รับบริการเข้าพบแพทย์ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล และแพทย์ชาวเกาหลีใต้ ผ่านเอเจนซี่ ซึ่งการกระทำของแพทย์ชาวเกาหลีใต้ เข้าข่ายการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ในฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

เคสนี้ต้องศึกษา! หมอเถื่อนเกาหลีใต้ระบาดหนัก!

โดยมีนายแพทย์ต่อพล วัฒนา ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  ซึ่งกรม สบส. จะดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับ ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ซึ่งจะถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในฐานปล่อยปละละเลยให้ผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้ประกอบวิชาชีพทำการประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีมาตรการทางปกครองออกคำสั่ง ตามมาตรา 49 ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อีกทั้ง ยังพบการโฆษณาสถานพยาบาลผ่านสื่อโซเชียล โดยมิได้รับการอนุมัติ จากผู้อนุญาต ซึ่งกรม สบส.จะดำเนินการออกคำสั่งระงับ การโฆษณา และส่งคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี 

 

เคสนี้ต้องศึกษา! หมอเถื่อนเกาหลีใต้ระบาดหนัก!

ส่วนกรณี ของแพทย์ชาวเกาหลีใต้ กรม สบส.จะดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน โดยมีหมายเรียกให้แพทย์ชาวเกาหลีใต้มาสอบสวนต่อพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. และจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลส่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหากมีการหลบหนีจะมีหนังสือแจ้งไปถึงองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือ "อินเตอร์โปล" เพื่อดำเนินคดีต่อไป

 

ด้าน ดร.ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวเพิ่มเติมว่า บริการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับความงาม เป็นบริการที่ได้รับความนิยมและมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สถานพยาบาลหลายแห่งจึงมีการแข่งขัน ทั้งในด้านเทคโนโลยี หรือบุคลากร ซึ่งบางแห่งอาจจะมีการอ้างชื่อแพทย์จากต่างประเทศมาเป็นจุดดึงดูดความสนใจ อย่างไรก็ดี กรณีที่คลินิกเสริมความงาม จะนำแพทย์จากต่างประเทศ เข้ามาให้บริการในคลินิกไม่ว่าจะให้บริการประจำหรือไม่ประจำก็ตาม จะต้องดำเนินการให้ถูกกฎหมาย  

 

โดยต้องขออนุญาตกับ สบส. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ และตัวแพทย์ผู้ให้บริการจะต้องต้องสอบใบประกอบวิชาชีพเพื่อประกอบวิชาชีพในประเทศไทยให้ได้ก่อน จึงจะมีสิทธิ์ให้การรักษา ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน  หากใช้แพทย์ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นแพทย์หรือไม่ก็ตาม จะเข้าข่ายว่าคลินิกแห่งนั้นใช้หมอเถื่อน ซึ่งจะมีบทลงโทษทั้งหมอเถื่อน และแพทย์ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ประการสำคัญ กรม สบส.จะร่วมือกับแพทยสภาตรวจสอบสถานพยาบาลเอกชนที่มีข้อสงสัยว่านำแพทย์ต่างประเทศมาให้บริการ 
ซึ่งเป็นนโยบายหลักของดร.นายแพทย์ภานุวัฒน์ ปานเกตุ อธิบดีกรม สบส.

 

เคสนี้ต้องศึกษา! หมอเถื่อนเกาหลีใต้ระบาดหนัก!

 

กรณีโรงพยาบาล คลินิกเอกชนโฆษณาอ้างนำ “แพทย์ต่างประเทศ” มีความเชี่ยวชาญมาให้บริการ ชี้ต้องมีการขออนุญาตแพทยสภา ปฏิบัติตามเกณฑ์กำหนด หากไม่ทำผิดพรบ.วิชาชีพเวชกรรมและสถานพยาบาลฯ ด้าน แพทยสภา ชี้ทำได้เฉพาะให้ความรู้ หรือบรรยาย หากจะรักษาต่อผู้ป่วย มีขั้นตอนเกณฑ์ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ทำไม่ได้!

 

เคสนี้ต้องศึกษา! หมอเถื่อนเกาหลีใต้ระบาดหนัก!

 

“สำหรับกรณีที่แพทย์จากต่างชาติที่เข้าประเทศไทยมาเพื่อมาเปิดการรักษาพยาบาล  จะต้องเป็นสัญชาติไทย ทำได้โดยการสมัครสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของไทยที่แพทยสภา โดยหลักเกณฑ์นี้จะเหมือนกับทุกประเทศ เช่น แพทย์ไทยไปอยู่ต่างประเทศ ก็ต้องรับใบอนุญาตประเทศนั้นๆ จึงจะสามารถไปตรวจรักษาได้ เพื่อการคุ้มครองมาตรฐานและความปลอดภัยประชาชนแต่ละประเทศ  ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายของประเทศนั้นๆ เช่นเดียวกับกรณีเด็กไทยจบการศึกษาแพทย์ในต่างประเทศ สามารถกลับเข้ามาสอบใบประกอบวิชาชีพในไทยเพื่อรักษาผู้ป่วยในประเทศได้ เช่นเดียวกับแพทย์ที่จบในประเทศไทย โดยกฎหมายปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ แต่อนาคตอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ในบางกรณี บางความเชี่ยวชาญ บางพื้นที่ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ปัญหาสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถอนุญาตได้เนื่องจาก หากนำแพทย์ต่างชาติเข้ามาให้คำปรึกษา รักษาในภาคเอกชนแล้วเกิดความเสียหาย ก็จะไม่สามารถติดตามเพื่อร้องเรียนข้ามประเทศได้ ต่างจากการดำเนินการภายใต้ภาครัฐ โดยหน่วยงานรัฐที่ขอเข้ามา เป็นผู้รับผิดชอบติดตาม ดูแล