ไลฟ์สไตล์

เตือน! สายแคมป์ปิ้งเดินป่าต้อง ระวัง "ไข้รากสาดใหญ่" พบ 10 จังหวัดป่วยมากสุด

เตือน! สายแคมป์ปิ้งเดินป่าต้อง ระวัง "ไข้รากสาดใหญ่" พบ 10 จังหวัดป่วยมากสุด

12 พ.ย. 2567

กรมควบคุมโรค เตือนสายแคมป์ปิ้ง เดินป่า ผู้ทำงานภาคเกษตรกรรม ระวัง “ตัวไรอ่อน” ก่อโรคสครับไทฟัส หรือไข้รากสาดใหญ่ ไม่มีวัคซีนป้องกัน รักษาได้แต่ต้องเร็ว ขณะที่กองระบาดวิทยาเผยอัตราการป่วยสูงสุดพบมากใน 10 จังหวัด

 

ใกล้เทศกาลท่องเที่ยวช่วงหน้าหนาว โดยเฉพาะสายแคมป์ปิ้ง ต้องระมัดระวังโรคที่อาจพบได้ คือ  โรคสครับไทฟัส (Scrub typhus) หรือโรคไข้รากสาดใหญ่ เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเชีย (Rickettsia) ซึ่งตามธรรมชาติ เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์ป่าในตระกูลสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระแต กระจ้อน เป็นต้น โดยเชื้อริกเก็ตเชีย ที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะจะไม่ทำให้สัตว์นั้นมีอาการของโรค แต่หากติดต่อมาสู่คนจะทำให้ป่วยได้

 

เตือน! สายแคมป์ปิ้งเดินป่าต้อง ระวัง \"ไข้รากสาดใหญ่\" พบ 10 จังหวัดป่วยมากสุด

 

โรคไข้รากสาดใหญ่ หรือ โรคสครับไทฟัส

เป็นโรคที่ต้องระวัง แม้พบได้ทุกฤดู แต่พบมากสุดในฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว โดยโรคนี้ติดต่อมาสู่คน โดยมีไรอ่อน  (Chiggers) เป็นพาหะ ไรอ่อนจะอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ ทุ่งหญ้าในป่าละเมาะ เมื่อสัตว์ฟันแทะผ่านเข้าไปในบริเวณนั้น จะถูกไรอ่อนเกาะและดูดเลือดหากสัตว์เหล่านั้นมีเชื้อโรคอยู่ ไรอ่อนจะติดเชื้อ และเมื่อกัดคน จะทำให้เชื้อแพร่สู่คนต่อไป  ทั้งนี้ โรคนี้พบได้ทุกฤดู แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝนจนถึงต้นฤดูหนาว และพบมากในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งกลุ่มเสี่ยงคือ ผู้ที่ทำงานในภาคเกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน หาของป่า และนักท่องเที่ยวเดินป่า

 

เตือน! สายแคมป์ปิ้งเดินป่าต้อง ระวัง \"ไข้รากสาดใหญ่\" พบ 10 จังหวัดป่วยมากสุด

 

อาการของโรค

สำหรับอาการแสดง หลังจากถูกกัดเชื้อจะมีระยะเวลาฟักตัว 6-20 วัน (เฉลี่ย 10วัน ) อาการที่พบบ่อยคือ ไข้เฉียบพลันและหนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อและปวดเมื่อยตามตัว บางรายไอแห้ง ต่อมน้ำเหลือโต กดเจ็บปวดท้อง มีผื่นแดงเริ่มจากบำตัว ผื่นขนาดเล็กค่อยๆนูนหรือใหญ่ขึ้น และอาจพบแพลบ๋มสีดำคล้ายบุหรี่จี้ ไม่เจ็บปวด บริเวณที่ถูกไรอ่อนกัด ส่วนใหญ่พบตามซอกขาหนีบ รักแร้ ราวนม และข้อพับ อยู่นานราว 6-18 วัน บางรายอาจหายเอง และบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เบ่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และการทำงานของอวัยวะในร่างกายล้มเหลว ทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง

 

10 อันดับจังหวัดที่ป่วยโรคสครับไทฟัสมากที่สุด

นอกจากนี้ กองระบาดวิทยา ยังเผยข้อมูลอัตราป่วยโรคสครับไทฟัสต่อประชากรแสนคน จำแนกรายจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม -29 ตุลาคม 2567 โดยแบ่งเป็น 10 อันดับ พบมากที่สุด คือ แม่ฮ่องสอน ตาก ระนอง น่าน เชียงราย เชียงใหม่ พังงา ร้อยเอ็ด ยโสธร และอุตรดิตถ์

 

 

เตือน! สายแคมป์ปิ้งเดินป่าต้อง ระวัง \"ไข้รากสาดใหญ่\" พบ 10 จังหวัดป่วยมากสุด