ไลฟ์สไตล์

รู้จัก "Food Coma" อาการง่วงนอนหลังรับประทานอาหาร

รู้จัก "Food Coma" อาการง่วงนอนหลังรับประทานอาหาร

13 พ.ย. 2567

เชื่อว่าหลายคนคงเคยเป็น เมื่อหนังท้องตึงหนังตาก็หย่อนอาการแบบนี่เรียกว่า "ฟู้ดโคม่า" (Food Coma) มาทำความรู้จักอาการง่วงนอนหลังรับประทานอาหาร กันเถอะ

 

หลังทานอาหารมื้อใหญ่ในช่วงกลางวัน อาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกง่วงนอนในยามบ่าย รู้สึกไม่กระฉับกระเฉง และส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ทางการแพทย์ เรียกอาการง่วงนอนหลังรับประทานอาหารว่า “ฟู้ดโคม่า” (Food Coma) หรือ Postprandial somnolence เป็นอาการที่เกิดจากการรับคาร์โบไฮเดรตจากอาหารเข้าสู่ร่างกายจำนวนมาก ปริมาณอาหารที่มากเกินไปจะเปลี่ยนเป็นภาระหนัก เนื่องจากสมองมีกลไกสั่งให้ร่างกายใช้พลังงานในการย่อยอาหารมากขึ้น และลดพลังงานที่จะถูกนำไปใช้ในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จึงทำให้ร่างกายรู้สึกไม่มีแรง เฉื่อยชา และเซื่องซึม

 

รู้จัก \"Food Coma\" อาการง่วงนอนหลังรับประทานอาหาร

 

 

ในกระบวนการย่อยอาหาร คาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยเป็นน้ำตาล และปริมาณน้ำตาลที่สูงขึ้นจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ออกมาเพื่อปรับปริมาณน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งการหลั่งอินซูลินจะทำให้ฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) และเมลาโทนิน (Melatonin) ออกมาด้วย เซโรโทนิน มีส่วนสำคัญในการทำงานของร่างกายและจิตใจ รวมถึงควบคุมเซลล์สมองที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางอารมณ์ เช่น ความหิวและความง่วง ส่วนเมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการนอนหลับ และเป็นนาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ของร่างกาย ฮอร์โมนทั้งสองจะทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย และเกิดอาการง่วงนอน อย่างไรก็ตาม เราสามารถหลีกเลี่ยงอาการฟู้ดโคม่าได้ด้วยการลดอาหารจำพวกแป้ง ของหวาน และเครื่องดื่มรสหวาน เพื่อลดภาระในการย่อยอาหาร รวมทั้งควรนอนหลับให้เพียงพอในตอนกลางคืน เพื่อให้ร่างกายกระฉับกระเฉงตลอดวัน

 

 

รู้จัก \"Food Coma\" อาการง่วงนอนหลังรับประทานอาหาร

รู้จัก \"Food Coma\" อาการง่วงนอนหลังรับประทานอาหาร