
ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดต่ำหรือน้ำตาลตก คืออะไร มีอาการอย่างไร
ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดต่ำหรือน้ำตาลตก คืออะไร? มีอาการอย่างไรบ้าง? วิธีรักษาและดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำต้องทำอย่างไร?
ภาวะน้ำตาลต่ำ (Hypoglycaemia) หรือน้ำตาลตก นั้นถือเป็นภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่พบได้มากในผู้ป่วยเบาหวาน (Diabetes) ซึ่งใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือฉีดยาอินซูลิน ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลต่ำจะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ราว 3.9 มิลลิโมลต่อลิตร) ส่วนภาวะน้ำตาลต่ำในคนทั่วไปที่ไม่มีปัญหาเบาหวานนั้นจะต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (ราว 3.1 มิลลิโมลต่อลิตร)
อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
- เหงื่อออก
- ไม่มีแรง
- เวียนศีรษะ
- สับสน
- ผิวหนังเย็น
- อ่อนเพลีย
- ตาพร่า
- หิวบ่อย
- ตัวสั่น
- ชัก
- ขาดสติ
- หัวใจเต้นเร็ว
- อาการโคม่า
วิธีรักษาและดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำ
1) ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซึ่งปริมาณอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมได้แก่
- ทอฟฟี่ 3 เม็ด
- น้ำส้มคั้น 180 มิลลิลิตร
- น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา
- ขนมปัง 1 แผ่น
- ไอศกรีม 2 สกูป
- กล้วย 1 ผล
2) ติดตามระดับกลูโคสในเลือดโดยใช้กลูโคสมิเตอร์ทุก 20 นาทีหลังรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตครั้งแรก
3) ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซ้ำถ้าระดับกลูโคสในเลือดยังคงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร
4) เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นและผลการตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 80 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรให้รับประทานอาหารต่อเนื่องทันทีเมื่อถึงเวลาอาหารมื้อหลักหรือถ้าต้องรอเวลาอาหารมื้อหลักนานเกินกว่า 1 ชั่วโมงให้รับประทานอาหารว่างที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมและโปรตีนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ