ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยป้องกัน "ไข้หวัดนก" เบื้องต้นได้
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยป้องกัน "ไข้หวัดนก" เบื้องต้นได้ แม้จะไม่ได้ป้องกันโรคไข้หวัดนกโดยตรง แต่ช่วยลดความรุนแรงของอาการ และลดโอกาสการติดเชื้อร่วมระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก
สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในต่างประเทศเพิ่มขึ้นสูงขึ้น ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยเชื่อมโยงกับสัตว์ปีกติดเชื้อสัตว์ปีกป่วยตาย หรือโคนมที่ติดเชื้อ อีกทั้งยังมีการพบเชื้อในสัตว์ปีก นกธรรมชาติ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วโลกเพิ่มขึ้น แม้ไทยไม่มีรายงานโรคในคนตั้งแต่ปี 2549 แต่ปัจจัยเสี่ยงทางภูมิศาสตร์ การเดินทางระหว่างประเทศ และการเลี้ยงสัตว์ปีกยังคงสูง
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ประจำปีเป็นมาตรการป้องกันที่สำคัญ แม้จะไม่ได้ป้องกันโรคไข้หวัดนกโดยตรง แต่ช่วยลดความรุนแรงของอาการ และลดโอกาสการติดเชื้อร่วมระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก ซึ่งอาจนำไปสู่การกลายพันธุ์ ของเชื้อที่รุนแรงขึ้น กรมควบคุมโรคแนะนำให้บุคลากรกลุ่มดังกล่าวฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี พร้อมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ มีอะไรบ้าง
วัคซีนไข้หวัดใหญ่จะมีส่วนประของไวรัส Influenza Virus 4 สายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์ที่บรรจุในวัคซีนจะเปลี่ยนแปลงไปทุกปี
- สายพันธุ์ A แบ่งย่อย 2 สายพันธุ์ คือ H1N1, H3N2
- สายพันธุ์ B แบ่งย่อย 2 สายพันธุ์ คือ Yamagata, Victoria
ทางด้าน กรมควบคุมโรค ได้เพิ่มความเข้มงวดการเฝ้าระวังในโรงพยาบาลและจุดคัดกรองโรค โดยได้สั่งการและให้คำแนะนำหน่วยบริการในทุกจังหวัดยกระดับการเฝ้าระวังในคน โดยเน้นการซักประวัติเสี่ยง ณ จุดคัดกรองโรคที่โรงพยาบาล ติดป้ายแจ้งเตือนผู้มารับบริการ หากผู้ป่วยที่มีอาการไข้ และมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย หายใจหอบเหนื่อย หรือหายใจลำบาก และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีก หรือฟาร์มโคนมให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข ปศุสัตว์และสัตว์ป่า ถือเป็นกลุ่มสำคัญที่ต้องได้รับการป้องกันอย่างเหมาะสม เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงจากการปฏิบัติงานใกล้ชิดผู้ป่วยและอาจสัมผัสเชื้อโดยตรง และหากมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือมีเยื่อบุตาอักเสบ (ตาแดง) หลังสัมผัสกับสัตว์ ให้รีบไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติเสี่ยงให้แพทย์ทราบ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422