ภัยเงียบใกล้ตัว "ภาวะไตเสื่อม" ป่วยได้ทั้งที่ไม่ได้กินเค็ม
รู้จัก "ภาวะไตเสื่อม" อาการเป็นอย่างไร? โรคนี้พบได้ในผู้สูงอายุหรือแม้แต่กับผู้ใหญ่วัยกลางคน แล้วพฤติกรรมแบบไหนทำร้าย "ไต" ทั้งที่ไม่ได้กินเค็ม
ภาวะไตเสื่อม ที่เรามักจะพบได้ในผู้สูงอายุหรือแม้แต่กับผู้ใหญ่วัยกลางคน โรคไตเสื่อม คือการที่ไตเสื่อมการทำงานลงอย่างช้าๆและมีการสูญเสียเนื้อไต และมักจะแสดงอาการเมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น ซึ่งภาวะไตเสื่อมสภาพสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีความเสี่ยงติดตัวมาแต่กำเนิด
สัญญาณของ “ไตเสื่อม”
- ผิวหนังมีสีซีดหรือคล้ำขึ้น อาจมีอาการคันด้วย
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจมีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ขี้หลงขี้ลืม ความจำไม่ดี
- ปวดหัวง่าย จาม คัดจมูก เป็นหวัดง่าย
- ปัสสาวะสีแดงหรือเข้มขึ้นปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยหลับไม่สนิทหรือนอนไม่ค่อยหลับ กล้ามเนื้อกระตุก ปวดตามตัว ปลายเท้าและปลายมือชาเนื่องจากปลายประสาทอักเสบ เป็นตะคริวและชัก
- หากไตวายมาก จะมีการคั่งของเกลือและน้ำ ความดันโลหิตสูง มีอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย บางรายมีอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
พฤติกรรมแบบไหนทำร้าย "ไต" ทั้งที่ไม่ได้กินเค็ม
1.ดื่มน้ำน้อย หรือมากเกินไป
การดื่มน้ำน้อยเป็นสาเหตุของหลายๆ โรคเช่นกัน รวมไปถึงโรคไตด้วย เพราะไตฟอกของเสียในร่างกาย และต้องใช้น้ำเป็นตัวพาไปสู่การกรองของไตจนกลายเป็นปัสสาวะ หากดื่มน้ำมากเกินไป ไตก็จะทำงานหนักเกินไป แต่หากดื่มน้ำน้อยมากเกินไป (ซึ่งมีโอกาสมากกว่า) ก็จะทำให้ปัสสาวะมีสีเข้ม ซึ่งไม่ดีต่อไต และกระเพาะปัสสาวะด้วย
2.ทานอาหารรสจัด
ไม่ใช่แค่รสเค็มจัด แต่อาหารรสจัดรวมไปถึง อาหารหวานจัด เผ็ดจัด หรือแม้กระทั่งมันจัด อาหารรสจัดทำให้ไตทำงานหนักขึ้น จึงมีส่วนทำให้เป็นโรคไตได้เช่นเดียวกันกับอาหารรสเค็ม
3.ทำงานหนักเกินไป
เชื่อหรือไม่ว่าการทำงานหนักก็เป็นสาเหตุของโรคไตด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อร่างกายขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ อวัยวะภายในร่างกายก็จะไม่ได้รับการฟื้นฟู และซ่อมแซมตัวเองอย่างเต็มที่ด้วยเช่นเดียวกัน เมื่ออวัยวะที่คอยฟอกของเสียในร่างกายอย่างไตไม่ได้หยุดทำงาน ก็อาจทำให้ไตเสื่อมสภาพลงได้ง่าย
4.ความเครียด
ความเครียดมักมาพร้อมกับการทำงานหนัก หากเครียดมากๆ ร่างกายก็จะพักผ่อนได้ไม่เต็มที่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้เมื่อเราเครียด เราจะหายใจเอาออกซิเจนเข้าร่างกาย เพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ไม่เต็มที่ และไตก็เป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากความเครียดด้วยเช่นกัน
6.ความดันโลหิตสูง
หากใครมีอาการความดันโลหิตสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งมีโอกาสที่จะเป็นโรคไตตามมาด้วย เพราะหากปล่อยให้เป็นความดันสูงต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่รีบรักษา ความดันโลหิตสูงนี้จะทำลายเส้นเลือดที่ไต ทำให้ไตถูกทำลาย หรืออาจเรียกว่าเป็น “ไตวายชั่วคราว”