รวมอาหารลด "กรดยูริก" กินแล้วไม่ปวดตามข้อ
รวมอาหารลด "กรดยูริก" กินแล้วไม่ปวดตามข้อ เคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับอาหารที่จะช่วยลดกรดยูริกในร่างกายได้ง่ายๆ แถมบรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเกาต์ ได้อีกด้วย
กรดยูริก (Uric Acid) เป็นสารที่เกิดจากกระบวนการทางเคมีในร่างกายตามธรรมชาติ ในขณะที่มีการสร้างหรือซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ยอดผัก ถั่วต่างๆ หรือการดื่มเครื่องดื่ม เช่น เบียร์ น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุคโตส (FRUCTOSE) เมื่อร่างกายมีกรดยูริกมากเกินกว่าความสามารถของไตจะขับออกได้ หรือไตมีความเสื่อมจนความสามารถในการขับกรดยูริกออกจากร่างกายลงลง เช่น ในผู้ป่วยไตเสื่อมหรือไตวาย ก็จะทำให้มีการสะสมของกรดยูริกมากขึ้นอีก หากปล่อยให้เจ้ากรดยูริกตัวนี้สะสมในร่างกายจนสูงเกินไป อาจทำให้เกิดอาการปวดข้อจนแทบเดินไม่ได้ แถมปล่อยไว้นานๆ อาจเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ ที่พร้อมต่อคิวอีกเพียบด้วย
8 อาหารลดกรดยูริก กินอย่างไรให้ห่างไกลอาการปวดตามข้อ
1. นมไขมันต่ำ : การดื่มนมพร่องมันเนย หรือนมไขมันต่ำจะทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่ชื่อว่า ‘เคซีน’ โดยเมื่อผ่านการย่อยที่ลำไส้จะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นกรดอะมิโนที่เชื่อว่า ‘อลานีน’ ซึ่งกรดอะมิโนนี้เองสามารถช่วยกระตุ้นให้ไตขับกรดยูริกออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสะสมในร่างกายได้ดีขึ้นนั่นเอง
2. อาหารผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง: ในปัจจุบันมีหลากหลายงานวิจัยที่กล่าวว่าวิตามินซีมีแนวโน้มช่วยลดกรดยูริกในร่างกายได้ถึง 0.05 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ โดยศึกษาจากกลุ่มคนที่เป็นโรคเกาต์ ผ่านการกินวิตามินซี 500 มิลลิกรัม ติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน โดยกลไกของวิตามินซีนั้นมีส่วนช่วยในการขับกรดยูริกที่ท่อไต รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากวิตามินซียังช่วยลดการอักเสบได้อีกด้วย ซึ่งอาหารลดกรดยูริกอย่างวิตามินซีสามารถรับประทานได้ทั้งในรูปแบบเม็ด หรือผักและผลไม้สดได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ตระกูลส้ม, กีวี, สตรอว์เบอร์รี, มะเขือเทศ เป็นต้น
3.กาแฟดำ : จากการศึกษาพบว่ากาแฟดำที่สกัดคาเฟอีนออกแล้ว (Decaf Coffee) รวมถึงไม่เติมน้ำตาลและครีม วันละ 4-5 แก้ว (เล็ก) มีส่วนช่วยลดระดับกรดยูริกได้ถึง 0.26 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้ปริมาณดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อดื่มในระดับที่เหมาะสมกับสุขภาพของแต่ละบุคคล
4. อาหารที่มีสารพิวรีนต่ำ: มีหลายชนิด สามารถเลือกทานได้สลับกันไปเช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวขัดสี ธัญพืช ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด ถั่วเปลือกแข็ง เต้าหู้ ไขมันทุกประเภท (ควรทานแต่น้อย
5. น้ำเปล่า: น้ำจะช่วยให้กรดยูริคในเลือดเจือจางลงและยังช่วยเร่งการกำจัดกรดยูริคออกจากร่างกายทางปัสสาวะ จึงแนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ส่วนใครที่เคยชินกับการดื่มน้ำน้อยๆ มาก่อน แนะนำให้หาแก้วสวยๆ ใส่น้ำมาวางไว้ข้างๆ ตัว อาจจะใส่ผลไม้ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ สับปะรด ใบมิ้นท์ ลงไปด้วยก็ได้แล้วใส่น้ำแข็งเกล็ด คุณจะได้น้ำที่หอมหวานกลิ่นผลไม้ไว้จิบตลอดทั้งวัน รับรองว่าสามารถดื่มน้ำได้มากกว่าเดิมแน่นอน