3 สมุนไพรไทย กินแล้วช่วยบรรเทาผลกระทบ ฝุ่น PM 2.5
กรมการแพทย์แผนไทยฯแนะ 3 สมุนไพรตามภูมิปัญญาไทย ดูแลสุขภาพรับมือ "ฝุ่น PM 2.5" สรรพคุณโดดเด่นช่วยบรรเทาผลกระทบฝุ่นพิษ พร้อมเตือน 5 กลุ่มโรคเสี่ยงมีผลต่อสุขภาพ
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่จะช่วยดูแลตัวเองท่ามกลางสถานการณ์ ฝุ่นPM2.5 โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคผิวหนัง ที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มีอนุภาคขนาดเล็กมาก สามารถหลุดผ่านขนจมูกเข้าสู่ร่างกาย ก่อให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ การอักเสบในอวัยวะต่างๆ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการกำเริบของโรคเรื้อรังดังกล่าวได้
ว่านหางจระเข้า บัวบก พญายอ
ดังนั้น การนำสมุนไพร เช่น มะขามป้อม บรรเทาอาการไอ บรรเทาอาการระคายคอ ขมิ้นชัน และชาชงรางจืด ต้านการอักเสบของร่างกาย สำหรับปัญหาผิวหนังที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5 เช่น ผด ผื่น และอาการคัน ควรใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและลดการอักเสบ เช่น ว่านหางจระเข้ บัวบก โลชั่นพญายอ
ส่วนอาการผิวหนังอักเสบหรือผื่นลมพิษควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพลู หรือ ขี้ผึ้งพญายอ ใช้ทาบรรเทาอาการ ผื่น แพ้ คัน และการอักเสบของผิวหนัง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีจำหน่ายทั่วไปตามร้านขายยา หรือ ร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป
3 สมุนไพร สรรพคุณบรรเทาผลกระทบ ฝุ่นPM2.5
1. รางจืด โดดเด่นเรื่อง การแก้พิษ ล้างพิษ ต้านการอักเสบของร่างกาย สามารถนำมาใช้ได้ 2 -3 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ข้อควรระวัง ผู้ป่วยที่รับประทานยาอื่นประจำ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ผู้ป่วย ตับ ไต ต้องใช้อย่างระมัดระวัง และ ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
2. มะขามป้อม มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ลดการอักเสบ การระคายเคือง บรรเทาอาการไอ รับประทานได้ทั้งแบบผลสด ผลแห้ง และชาชง
3.ขมิ้นชัน มีสารเคอร์คิวมิน สามารถป้องกันการทำลายเซลล์ ระบบทางเดินหายใจ ต้านการอักเสบของร่างกาย จึงรับประทานขมิ้นชันในช่วงที่มีมลพิษ ทางอากาศ ได้ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 – 4 ครั้ง แต่ต้องไม่เกิน 9 กรัม / วัน และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีท่อน้ำดีอุดตัน และนิ่วในถุงน้ำดี
นอกจากนี้ ยังควรรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ เน้นผักและสมุนไพรที่มีประโยชน์ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ผักผลไม้สีส้ม แดง ม่วงน้ำเงิน เช่น กะหล่ำปลีม่วง ส้ม หรือรับประทานบล็อกเคอรี่ และผักใบเขียว เป็นต้น