ฝุ่น PM2.5 สารก่อมะเร็งปอด ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้!
"มะเร็งปอด" เกิดจากอะไร? แม้ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้ ฝุ่นพิษ PM2.5 เป็นอีกหนึ่งในสารก่อมะเร็งปอดขนาดเล็กด้วยเช่นกัน
“มะเร็งปอด” ถือว่าเป็นหนึ่งในมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในคนไทย และทั่วโลก ความน่ากลัวของมะเร็งปอด คือ ต่อให้ไม่ได้สูบบุหรี่ก็สามารถที่จะป่วยเป็นโรคนี้ได้ และที่สำคัญมะเร็งปอดลุกลามค่อนข้างรวดเร็ว และถ้าหากตรวจพบมะเร็งปอดในระยะท้าย ๆ ก็ยากที่จะทำการรักษา
ไม่สูบบุหรี่แต่เป็นมะเร็งปอดได้จริงหรือ?
และหากถามว่าไม่สูบบุหรี่แล้วทำไมถึงยังมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้อีก คำตอบคือ ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่จะเป็น ปัจจัยเสี่ยงที่มาเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งปอด แต่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น สิ่งแวดล้อม พันธุกรรม โดยเฉพาะการรับสารก่อมะเร็งจำพวกสารเคมีต่าง ๆ เช่น สารเดรอน แร่ใยหินหรือแอสเบสตอส สารเคมีหนักอื่น ๆ การได้รับควันบุหรี่จากคนใกล้ตัว พันธุกรรมที่ผิดปกติ รวมถึงฝุ่น PM2.5 ก็เป็นหนึ่ง ในสารก่อมะเร็งปอดขนาดเล็กด้วยเช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงที่มาเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งปอด แต่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น สิ่งแวดล้อม พันธุกรรม โดยเฉพาะการรับสารก่อมะเร็งจำพวกสารเคมีต่าง ๆ เช่น สารเดรอน แร่ใยหินหรือแอสเบสตอส สารเคมีหนักอื่น ๆ การได้รับควันบุหรี่จากคนใกล้ตัว พันธุกรรมที่ผิดปกติ รวมถึงฝุ่น PM2.5 ก็เป็นหนึ่ง ในสารก่อมะเร็งปอดขนาดเล็กด้วยเช่นกัน
มะเร็งปอดแบ่งได้ทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกัน
มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) มะเร็งปอดชนิดนี้จะพบอยู่ที่ 80% – 85% ของ ผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งสามารถตรวจพบได้ง่าย และการลุกลามของโรคจะช้ากว่าชนิดเซลล์เล็ก ถ้าหากพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก็จะมีโอกาสรักษาหายได้
มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) : ถือว่าเป็นมะเร็งปอดที่พบได้น้อย เพราะมีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเป็นมะเร็งปอดชนิดนี้เพียง 10% – 15% เท่านั้น แต่เป็นชนิดที่มีอัตราการแพร่กระจายได้ไวและรุนแรงมาก ซึ่งพบเยอะในผู้ป่วยที่มีประวัติสูบบุหรี่ และการรักษาต้องใช้การฉายรังสีและเคมีบำบัด