"ไข้หวัดใหญ่" โรคนี้อาจดูไม่ร้าย แต่อันตรายถึงชีวิต!
"ไข้หวัดใหญ่" เป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว พบได้ตลอดปี แม้ว่าไข้หวัดใหญ่ ชื่อโรคดูไม่ร้ายแรงเท่าไร แต่อันตรายถึงชีวิต!
หนึ่งในโรคสามัญประจำบ้านที่เราต่างก็คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีสำหรับ ไข้หวัดใหญ่ ทั่วไปเมื่อป่วยแล้วแทบจะรู้สึกว่าไม่ได้มีความร้ายแรงใดๆ ไม่ได้ดูอันตรายในการรับรู้ของผู้คน ก็เลยพาให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ตระหนักถึงพิษภัยของไข้หวัดใหญ่มากเท่าที่ควร
ไข้หวัดใหญ่อันตรายแค่ไหน สังเกตอาการอย่างไรให้รู้เท่าทัน?
ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B อาการของไข้หวัดใหญ่นั้น โดยทั่วไปก็จะไม่ต่างจากไข้หวัดสักเท่าไร หากแต่มีอาการที่รุนแรงกว่า โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่าอาการที่เราเป็นอยู่นั้นไม่ใช่ไข้หวัดธรรมดาแต่เป็นไข้หวัดใหญ่ ประกอบไปด้วย
- มีไข้สูงมากกว่าปกติ คือตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- มีอาการปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลีย
- มีน้ำมูกไหล คัดจมูก เจ็บคอ มีอาการไอ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตามร่างกาย แขน ขา ตามตัว
- ไข้หวัดใหญ่ส่วนมากจะมีระยะเวลาอาการของโรค 5 วัน หากมีอาการนานกว่านั้นอาจเกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียแทรกซ้อนที่พบได้ในบางราย
นอกจากอาการดังที่กล่าวไปแล้ว ไข้หวัดใหญ่ยังอาจรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งที่พบบ่อยมากที่สุดเลยก็คือ “ภาวะปอดบวม” และ “หลอดลมอักเสบ” ดังนั้น หากสังเกตพบอาการไข้หวัดที่รุนแรงกว่าปกติ อย่าชะล่าใจว่าเป็นแค่หวัดธรรมดา แต่ควรรีบพบแพทย์ดีกว่า จะได้รักษาได้ทันท่วงที
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่ระบาดติดต่อกันได้ผ่านการไอ จาม พูดคุย แล้วสูดเอาละอองที่มีเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น “ทุกคน” จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ทั้งหมด ซึ่งจะติดเชื้อได้ง่ายมาก-น้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่ความ 2 ปัจจัยหลักๆ คือ ความรุนแรงและปริมาณของเชื้อ ประกอบกับสภาพร่างกายของเรา คือถ้าร่างกายเราไม่แข็งแรงแล้ว ต่อให้เชื้อไม่ดุมีปริมาณน้อย เราก็อาจติดเชื้อและเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบุคคลกลุ่มเสี่ยงดังต่อไปนี้ ต้องยิ่งระมัดระวัง เพราะมีโอกาสเกิดภาวะรุนแรงแทรกซ้อนมากที่สุด
ที่มาข้อมูล phyathai