ไลฟ์สไตล์

เปิดรายชื่อสมุนไพรพื้นบ้านกินแล้วช่วยรักษาโรคกระเพาะ

เปิดรายชื่อสมุนไพรพื้นบ้านกินแล้วช่วยรักษาโรคกระเพาะ

17 ก.พ. 2568

หลายคนนิยมใช้สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบัน เปิดรายชื่อสมุนไพรพื้นบ้านกินแล้วช่วยรักษาโรคกระเพาะ

 

โรคกระเพาะเป็นโรคที่พบได้บ่อยและหายได้ในระยะเวลาสั้นสำหรับคนที่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไปพบแพทย์หรือซื้อยามารับประทาน และหลายคนนิยมใช้สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะเป็นทางเลือกในการรักษาควบคู่ไปด้วย เพราะสมุนไพรหลายตัวถูกกล่าวอ้างว่ามีคุณสมบัติทางยาในการรักษาตามความเชื่อที่สืบทอดกันมา ทำให้เกิดความสงสัยว่าสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะสามารถช่วยได้มากน้อยแค่ไหน 

 

 

เปิดรายชื่อสมุนไพรพื้นบ้านกินแล้วช่วยรักษาโรคกระเพาะ

 

สมุนไพรพื้นบ้านกินแล้วช่วยรักษาโรคกระเพาะ

 

1.กระเทียม

 

เปิดรายชื่อสมุนไพรพื้นบ้านกินแล้วช่วยรักษาโรคกระเพาะ

 

กระเทียม เป็นพืชสมุนไพรพื้นฐานที่ใช้เป็นส่วนผสมในเมนูอาหาร และยังเชื่อกันว่าอาจมีคุณสมบัติช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารจากการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อภายในร่างกาย

 

 

 

2.ชะเอม

 

เปิดรายชื่อสมุนไพรพื้นบ้านกินแล้วช่วยรักษาโรคกระเพาะ

 

ชะเอม เป็นสมุนไพรที่นิยมใช้เป็นสารให้ความหวานในลูกอมและเครื่องดื่ม อีกทั้งยังถูกกล่าวถึงฤทธิ์ทางยาที่ใช้สืบทอดกันมายาวนานในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากมีสารสำคัญในชะเอมหลายชนิด โดยเฉพาะ สาร Glycyrrhizin ซึ่งเชื่อว่ามีคุณสมบัติช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและบรรเทาอาการแสบร้อนกลางทรวงอกให้หายไวมากขึ้น

 

 

 

3.ขมิ้น

 

เปิดรายชื่อสมุนไพรพื้นบ้านกินแล้วช่วยรักษาโรคกระเพาะ

 

ขมิ้นยังมีสารสำคัญที่ชื่อว่า เคอร์คูมิน (Curcumin) และสารต้านอนุมูลอิสระที่เชื่อกันว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง และช่วยให้ระบบย่อยอาหารภายในร่างกายเป็นปกติ

 

เปิดรายชื่อสมุนไพรพื้นบ้านกินแล้วช่วยรักษาโรคกระเพาะ

 

สมุนไพรบางชนิดอาจมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการและป้องกันโรคกระเพาะเมื่อใช้ควบคู่กับการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการรับรองประสิทธิภาพและความปลอดภัยในทางการแพทย์ การรับประทานสมุนไพรชนิดใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะช่วยแนะนำปริมาณที่ควรรับประทานและระยะเวลาเหมาะสมในการใช้