ไลฟ์สไตล์

สืบ นาคะเสถียร ประวัติ วันครบรอบ 34 ปี ตำนานนักอนุรักษ์ "ห้วยขาแข้ง"

สืบ นาคะเสถียร ประวัติ 1 กันยายน 2567 วันครบรอบ 34 ปี การจากไปของตำนานนักอนุรักษ์แห่งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เปิดอัตชีวประวัติของบุคคลอันเป็นแบบอย่างที่ควรค่าแก่การยกย่อง

สืบ นาคะเสถียร ประวัติ วันครบรอบ 34 ปี ตำนานนักอนุรักษ์ \"ห้วยขาแข้ง\"

วันสืบ นาคะเสถียร ปีนี้ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2567 เพื่อรำลึกถึงอดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533 โดยตลอดการทำงานของท่านอุทิศตนต่อสู้เพื่อผืนป่า และปลุกจิตสํานึกของคนในสังคมให้อนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่าเมืองไทย ภายหลังการเสียชีวิต 18 วัน มูลนิธิ สืบ นาคะเสถียร ได้รับการก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการด้านการปกป้องฝืนป่าต่อไป

 

 

ประวัติ สืบ นาคะเสถียร : เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่ตำบลท่างา อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรชายคนโตของนายสลับ นาคะเสถียร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และนางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร 

 

สืบ นาคะเสถียร ประวัติ วันครบรอบ 34 ปี ตำนานนักอนุรักษ์ \"ห้วยขาแข้ง\"

สืบ นาคะเสถียร เติบโตมาในครอบครัวที่มีฐานะ วัยเด็กเขาได้ร่ำเรียนที่โรงเรียนเซ็นต์หลุยส์ จ.ฉะเชิงเทรา พร้อมรับบทนักวาดภาพฝีมือดีจนชื่อเสียงแพร่กระจายไปทั่วโรงเรียน จากนั้น ระดับอุดมศึกษา สืบ นาคะเสถียร ได้เข้าศึกษาคณะวนศาสตร์ ศาสตร์ด้านการป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามด้วยระดับปริญญาโท สาขาวนวัฒน์วิทยา คณะวนศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษา

 

 

 

 

ปี 2518 สืบ นาคะเสถียร ปฏิเสธการเข้าทำงานกับกรมป่าไม้ แต่เลือกทำงานกับกองอนุรักษ์สัตว์ป่า เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมพู่ จังหวัดชลบุรี เพราะมองว่าจะได้ใช้ความรู้ในการพัฒนางานด้านอนุรักษ์สัตว์ป่าได้มากกว่า 

 

 

จากนั้นปี 2522 ได้รับทุน British Council ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ University of London ประเทศอังกฤษ ซึ่งพอจบการศึกษามาในปี 2524 นายสืบ ได้กลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ จังหวัดชลบุรี โดยเริ่มงานวิจัยชิ้นแรก คือการศึกษาการทำรังวางไข่ของนกบางชนิด ที่อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี

 

 

ปี 2528 สืบ นาคะเสถียร เสียใจอย่างมาก

เขาเดินทางไปทำวิจัยเรื่องกวางผา กับดร.แซนโดร โรวาลี ที่ดอยม่อนจอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนจะเกิดเหตุไฟไหม้ป่า จนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์นี้สร้างความสะเทือนใจให้แก่ สืบ นาคะเสถียร เป็นอย่างมาก

 

สืบ นาคะเสถียร ประวัติ วันครบรอบ 34 ปี ตำนานนักอนุรักษ์ \"ห้วยขาแข้ง\"

 

เริ่มบทบาทนักเรียกร้องสิทธิ

นั่นคือแรงผลักดันแรกที่ สืบ นาคะเสถียร ใช้เป็นแรงผลักในการทำงานเผื่อสาธารณะชนอย่างที่สุด พ.ศ. 2529 เขารับตำแหน่งหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าในเขื่อนเชี่ยวหลาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่นี่สัตว์นับพันตัวได้รับความช่วยเหลือจากการสร้างเขื่อน และยังเป็นผู้ค้นพบ "รังนกกระสาคอขาวปากแดง" ครั้งแรกในประเทศไทยอีกด้วย เหตุการณ์นี้ทำใหห้เขาตระหนักถึงความสำคัญของผืนป่าดั้งเดิม นั่นทำให้เขาผันตัวไปเป็นนักเรียกร้อง "คัดค้านการสร้างเขื่อน" พร้อมวลีเด็ดในการเริ่มอภิปรายทุกครั้งว่า "ผมขอพูดในนามของสัตว์ป่า"

 

 

ปี 2530 - 2531 สืบ นาคะเสถียร เดินหน้าคัดค้านการสร้างเขื่อนน้ำโจน จ.กาญจนบุรี , คัดค้านการสัมปทานทำไม้บริษัทไม้อัดไทย ที่ป่าห้วยขาแข้ง ก่อนปฏิเสธทุนเรียนต่อปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษ เพื่อเข้ารับตำแหน่ง "หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง" เพื่อดูแลพื้นที่ป่าอันอุดมสมบูรณ์บนเนื้อที่กว่า 2,780 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ อุทัยธานี กาญจนบุรี และตาก 

 

สืบ นาคะเสถียร ประวัติ วันครบรอบ 34 ปี ตำนานนักอนุรักษ์ \"ห้วยขาแข้ง\"

ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับอำนาจผู้มีอิทธิพลที่เข้าตัดไม้ทำลายป่า, ล่าสัตว์ รวมถึงทีมงานเจ้าหน้าที่ป่าไม้ของเขาถูกยิงเสียชีวิต แต่เขากลับไม่ย่อท้อ เดินหน้าเขียนรายงานนำเสนอ "ยูเนสโก" จนได้รับการอนุมัติให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งเป็นมรดกโลก ช่วยคงไว้ซึ่งธรรมชาติป่าใหญ่ที่เขารัก และการันตีว่าที่นี่จะไม่ถูกทำลายโดยใช้อาวุธเป็นกฎหมายระดับโลก

 

 

1 กันยายน 2533 "เสียงปืนดังสนั่นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง"

สืบ นาคะเสถียร เสียชีวิตเพราะอะไร?

ภาพนักอนุรักษ์และอาวุธปืนในมือ เขาตัดสินใจทำอัตวิบาตรกรรม หรือฆ่าตัวตาย พร้อมทิ้งจดหมายสะสางงานที่ติดค้าง พร้อมข้อความแสดงเจตจำนงค์ว่าการตายของเขาคือสัญลักษณ์การเรียกร้องให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการทำลายผืนป่า และทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง 

 

 

 

Cr. seub.or.th

 

 

 

 

 

ข่าวยอดนิยม