ไลฟ์สไตล์

ย้อน 23 ปี เหตุวินาศกรรม 9/11 จุดเริ่มต้นกฎเหล็กข้อห้ามในสนามบิน

11 ก.ย. 2567

เหตุวินาศกรรม ที่อยู่ในความทรงจำของคนทั่วโลก ที่ 9/11 จากวันนั้น จนถึงวันนี้ เป็นเวลา 23 ปี แต่ไม่มีใครลืมเหตุวินาศกรรมในวันนั้นได้ ย้อนลำดับเหตุการณ์ เหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 9/11 คร่า 3,000 ชีวิต สร้างความบอบช้ำที่สุด จุดเริ่มต้นกฎเหล็กข้อห้ามในสนามบิน

11 กันยายน เครื่องบินพุ่งชน “ตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์” ในนครนิวยอร์ก ในปี 2544 คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ3,000 คน เป็น ย้อนรำลึก 23 ปี  9/11 วินาศกรรม ช็อกโลกสร้างความบอบช้ำที่สุดในรอบศตวรรษ เหตุการณ์การโจมตีโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายจากอัลกออิดะห์ได้จี้เครื่องบินพาณิชย์ 4 ลำและใช้มันเป็นอาวุธในการโจมตีเป้าหมายที่สำคัญในสหรัฐฯ ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตและความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา

 

ย้อน 23 ปี เหตุวินาศกรรม 9/11 จุดเริ่มต้นกฎเหล็กข้อห้ามในสนามบิน

 

ลำดับเหตุการณ์ 9/11

  • เช้าวันที่ 11 ก.ย. 2544 ผู้ก่อการร้าย 19 คน ยึดเครื่องบินพาณิชย์สี่เครื่อง ระหว่างทางไปซานฟรานซิสโกและลอสแอนเจลิส หลังนำเครื่องขึ้นจากบอสตัน เนวาร์ค และวอชิงตัน ดี.ซี. โจรเจตนาเลือกจี้เครื่องบินที่ต้องบินเป็นระยะทางไกลเพราะมีน้ำมันอยู่มาก

 

  • เวลา 8.46 น. โจรจี้เครื่องบิน 5 คน นำเที่ยวบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 พุ่งเข้าชนกับตึกเหนือของตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์

 

  • เวลา 9.03 น. โจรอีก 5 คน ได้นำเที่ยวบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งเข้าชนตึกใต้ ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และอาคารทั้งสองถล่มลงภายในสองชั่วโมง

 

  • เครื่องบินลำที่สาม พุ่งชนอาคารเพนตากอนในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนเครื่องบินลำที่สี่ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนถึงเป้าหมาย ที่โจรจี้เครื่องบินต้องการพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐ ในวอชิงตัน ดี.ซี. หลังผู้โดยสารพยายามยึดเครื่องกลับคืน เหตุการณ์นี้ มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คน และไม่มีผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินทั้งสี่ลำ

 

ย้อน 23 ปี เหตุวินาศกรรม 9/11 จุดเริ่มต้นกฎเหล็กข้อห้ามในสนามบิน

เครื่องบินที่ถูกปล้นทั้ง 4 ลำ เป็นเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง โดยเป็นรุ่น โบอิ้ง 767-200ER จำนวน 2 ลำ (จากอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 และยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175) อีก 2 ลำเป็นโบอิ้ง 757-200 (จากอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 และจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93) ทั้ง 4 ลำ เป็นเที่ยวบินที่บินข้ามจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตก ดังนั้น จึงบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงไปเต็มที่ และเชื่อว่าการพังทลายของอาคารแฝดเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ น่าจะเกิดมาจากปริมาณน้ำมันจำนวนมากที่บรรทุกอยู่บนเครื่องบินเหล่านั้น

 

เหตุหายนะครั้งนี้ มีการพุ่งเป้าสงสัยไปที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์อย่างรวดเร็ว “อุซามะฮ์ บิน ลาดิน” ผู้นำกลุ่ม ซึ่งได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องในตอนแรก สุดท้ายได้อ้างความรับผิดชอบเหตุวินาศกรรมดังกล่าวในปี 2547 โดยอัลกออิดดะห์และบิน ลาดิน อ้างเหตุผลจูงใจในการก่อเหตุ ว่า การสนับสนุน “อิสราเอล” ของ “สหรัฐอเมริกา” การคงทหารสหรัฐประจำการไว้ใน “ซาอุดิอาระเบีย” และการลงโทษต่อ “อิรัก” ก่อนที่ในเดือน พ.ค. 2554 บิน ลาดิน ถูกพบ และถูกสังหาร ในเวลาต่อมา หลังลอยนวลมาได้นานหลายปี 

 

เหตุวินาศกรรม “9/11” ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อเศรษฐกิจของแมนฮัตตันล่าง การทำความสะอาดเขตเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ แล้วเสร็จในเดือน พ.ค. 2545 พิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์ 11 กันยายนแห่งชาติ มีกำหนดเปิดในวันที่ 11 ก.ย. 2554 ที่ติดกับอนุสรณ์ วันเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ซึ่งมีความสูง 541 เมตร ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้กำหนดวันที่ 11 ก.ย. เป็นวันรำลึกเหตุวินาศกรรม 11 กันยายนแห่งชาติ (National Day of Service and Remembrance) โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไป 

 

ย้อน 23 ปี เหตุวินาศกรรม 9/11 จุดเริ่มต้นกฎเหล็กข้อห้ามในสนามบิน

 

เปลี่ยนแปลงกฎการบินทั่วโลก หลังเหตุการณ์ 9/11 มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านการบินและการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดทั่วโลกเพิ่มความปลอดภัยของผู้โดยสารและลูกเรือบนเครื่องบิน 

  • การเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยสนามบิน
  • ก่อตั้งหน่วยงาน TSA (Transportation Security Administration)
  • เสริมสร้างความปลอดภัยในห้องนักบิน
  • การระบุและตรวจสอบผู้โดยสารล่วงหน้า (Passenger Pre-Screening)
  • มีการพัฒนาระบบระบุและตรวจสอบผู้โดยสารล่วงหน้าด้วยการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลที่มากขึ้น 
  • ฝึกอบรมลูกเรือ
  • โครงการ Federal Air Marshal
  • ห้ามนำของเหลวเกิน 100 มิลลิลิตรขึ้นเครื่องบินและบังคับใช้ไปทั่วโลก
  • จำกัดสิ่งของต้องห้ามและข้อกำหนดใหม่สำหรับสัมภาระ

 

ย้อน 23 ปี เหตุวินาศกรรม 9/11 จุดเริ่มต้นกฎเหล็กข้อห้ามในสนามบิน