19 พ.ย. วันส้วมโลก เช็ก 5 จุดเสี่ยง ใน ห้องส้วม หากละเลยจะกลายเป็นพาหะได้
19 พฤศจิกายน "วันส้วมโลก" (World Toilet Day) เปิดข้อมูล ก่อตั้งขึ้นเพื่ออะไร เช็ก 5 จุดเสี่ยง ใน ห้องส้วม หากละเลยอาจกลายเป็นพาหะเชื้อโรคได้
วันส้วมโลก (World Toilet Day) เป็นวันที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดย สหประชาชาติ ตรงกับวันที่ 19 พ.ย. เพื่อให้ตระหนักในการจัดการสภาวะวิกฤตของสุขาภิบาลทั่วทั้งโลก มีผู้คนทั่วโลกกว่า 4.2 พันล้านคน ดำเนินชีวิตอย่างปราศจากการจัดการสุขาภิบาลอย่างปลอดภัย และราว 673 ล้านคนขับถ่ายอุจจาระในที่โล่งแจ้ง เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อที่ 6 บัญญัติว่า "ต้องรับประกันความสะดวกในการเข้าถึงกับการจัดการระบบน้ำและสุขอนามัยอย่างยั่งยืนแก่ทุกคน"
เมื่อปี พ.ศ. 2544 วันส้วมโลก ได้ถูกกำหนดขึ้นโดย องค์การส้วมโลก สิบสองปีต่อมาสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้มีมติเห็นชอบให้บรรจุ วันส้วมโลก เป็น วันสำคัญของสหประชาชาติ
องค์การน้ำแห่งสหประชาชาติ ได้เป็นผู้ดูแลหลักของวันส้วมโลก องค์การน้ำแห่งสหประชาชาติยังเป็นผู้จัดทำเว็บไซต์วันส้วมโลกและยังจัดหัวข้อพิเศษในแต่ละปี ในปี 2565 หัวข้อในปีนี้คือ "น้ำบาดาลกับสุขอนามัย" ในวันส้วมโลกจะมีการให้ความรู้และกิจกรรมอื่นๆ กิจกรรมและการวางแผนถูกจัดขึ้นโดยองค์การน้ำแห่งสหประชาชาติ, องค์การนอกภาครัฐ หรืออาสาสมัคร
การเข้า ห้องส้วม ที่ปลอดภัย ล้วนมีผลต่อสุขภาพ, ความเป็นส่วนตัว และศักดิ์ศรีของคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มสตรี ระบบสุขาภิบาลที่ไร้มาตรฐานจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ โดยส่วนมากจะเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น โรคอหิวาตกโรค, ท้องร่วง, ไทรฟอร์ย, โรคบิด และโรคพยาธิใบไม้ในเลือด ซึ่งมีผู้ป่วยทั่วโลกเป็นโรคท้องร่วงกว่า 892 ล้านคน
เนื่องในวันที่ 19 พ.ย. ของทุกปี องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็น "วันส้วมโลก" เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการสุขาภิบาลที่ปลอดภัยให้ทุกคนเข้าถึงส้วมที่สะอาด มีสุขอนามัยที่ดี โดยในปี 2567 กำหนดหัวข้อการรณรงค์ คือ "Toilets : A Place for Peace ส้วมไทยสะอาด ปลอดภัย ครอบคลุมทุกกลุ่มวัยสู่เป้าหมาย SDGs" เพื่อให้ทุกภาคส่วนตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดการส้วมและสุขาภิบาลที่ปลอดภัย มีการพัฒนาส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐานสะอาด เพียงพอ และปลอดภัย ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มวัย ทั้งเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และที่สำคัญ ต้องมีการจัดการสิ่งปฏิกูลจากส้วมอย่างถูกต้อง
5 จุดเสี่ยง หากละเลยเป็นพาหะ
ก๊อกน้ำอ่างล้างมือ
มักพบเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) เชื้อโรคในห้องน้ำซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก หูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนัก
สายฉีดชำระ
มักสะสมเชื้ออีโคไล (Escherichia coli) เข้าสู่ระบบต่างๆ ของร่างกายก็จะทําให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรง เช่น โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด บางสายพันธุ์ทําให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้ และอาจนำไปสู่กลุ่มอาการไตวายเฉียบพลัน
ที่รองนั่งโถส้วม
เป็นที่สะสมของเชื้อซาลโมเนลล่า (Salmonella) เป็นเชื้อก่อโรคที่พบการแพร่ระบาดสูง ทำให้เกิดความเจ็บป่วยด้านโรคระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาเจียน ท้องร่วง ตะคริว และมีไข้ สำหรับผู้ที่มีความภูมิต้านทานต่ำ อาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ และทำให้เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้นได้
กลอนประตู หรือ ลูกบิด
มีเชื้อ MRSA ย่อมาจาก Methicilin Resistant Staphylococcus Aureus เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พัฒนาจนก่อให้เกิดอาการดื้อยา โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ ทำให้รักษาได้ยากและทำให้ติดเชื้อทางผิวหนัง มีตุ่ม อาจแดง บวม ปวด และอาจมีหนองหรือของเหลวไหลออกมา นอกจากนี้เชื้อสามารถทำ ให้เกิดปอดบวมหรือการติดเชื้อทั่วร่างกาย
ที่กดน้ำของโถส้วม
มักพบเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) เป็นเชื้อโรคในห้องน้ำกลุ่มที่ทำให้เกิดโรคทางผิวหนังและสร้างสารพิษที่เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสียหรืออาเจียนตามมา