ไลฟ์สไตล์

13 ก.พ.  "วันรักนกเงือก" สัญลักษณ์ของรักแท้  รักแรกนิรันดร์

13 ก.พ. "วันรักนกเงือก" สัญลักษณ์ของรักแท้  รักแรกนิรันดร์

13 ก.พ. 2568

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ของทุกปีตรงกับวันรักนกเงือก (Love Hornbill Day) นกเงือก เป็นสัญลักษณ์ของรักแท้  รักแรกนิรันดร์

 

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ของทุกปีตรงกับวันรักนกเงือก (Love Hornbill Day) นกเงือก เป็นสัญลักษณ์ของรักแท้  แรกนิรันดร์  เนื่องจากพฤติกรรมของนกเงือกจะใช้ชีวิตคู่แบบ "ผัวเดียวเมียเดียว" จนแก่เฒ่าหรือกว่าจะตายจากกัน และตัวผู้ยังมีลักษณะของหัวหน้าครอบครัวที่ดี คอยหาอาหารให้และคอยดูแลปกป้องลูกนกและแม่นกให้ปลอดภัย  ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 โดยมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ดำเนินการศึกษาวิจัยนกเงือกเป็นระยะเวลาหลายสิบปี เพื่อให้สังคมและประชาชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์นกเงือกซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์

 

 

cr : ภาพจาก Pinterest

 

 

นกเงือกเป็นนกที่มีมีขนาดใหญ่ มีหน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์ คือ จะงอยปากใหญ่ หนา และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ซึ่งภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านกเงือกถือกำเนิดขึ้นมาไม่น้อยกว่า 45 ล้านปี นกเงือกเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากนกเงือกมีมีพฤติกรรมการเลือกกินผลไม้สุกและนำเมล็ดทิ้งไว้ในพื้นที่ต่าง ๆ จนได้รับฉายาว่า "นักปลูกป่ามือฉมัง" อีกทั้งยังช่วยควบคุมประชากรสัตว์ขนาดเล็กอย่างแมลงและหนูอีกด้วย

 

 

13 ก.พ.  \"วันรักนกเงือก\" สัญลักษณ์ของรักแท้  รักแรกนิรันดร์

 

นอกจากนี้นกเงือกยังถูกกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความซื่อสัตย์ เพราะตลอดชีวิตของนกเงือกนั้นจะมีคู่เพียงแค่ครั้งเดียว หากคู่ของนกเงือกตายไปจะทำให้นกเงือกอีกตัวหนึ่งต้องตรอมใจตายตามไปด้วย ซึ่งในประเทศไทยมีนกเงือกทั้งหมด 13 ชนิด และหลายชนิดอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ อาทิ นกชนหิน (Helmeted hornbill) ที่ประกาศให้เป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 ของประเทศไทย ในบัญชีสัตว์ป่าสงวนท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 หากนกเงือกมีจำนวนลดลงหรือสูญพันธุ์ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อาจสูญพันธุ์ตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องอนุรักษ์ป่าและนกเงือกไว้ เพื่อไม่ให้ระบบนิเวศของป่าเกิดความเสียหาย และรักษาเผ่าพันธุ์ของนกเงือกให้คงอยู่สืบไป

 

 

13 ก.พ.  \"วันรักนกเงือก\" สัญลักษณ์ของรักแท้  รักแรกนิรันดร์

 

ที่มา: เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช