Lifestyle

เปิดทางเลือกรักษามะเร็ง ผสานศาสตร์ไทย จีน เยอรมัน ที่ไม่ใช่แค่คีโม-ฉายแสง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"มะเร็ง" ครองแชมป์สาเหตุมนุษย์เสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก ปี 65 ไทยพบรายใหม่ประมาณ 400 คนต่อวัน ทางการแพทย์พยายามวิจัยหาทางรักษาตอบสนองต่อมะเร็ง เพื่อเพิ่มอัตรารอดชีวิต ล่าสุด โรงพยาบาลในไทย นำนวัตกรรมรักษามะเร็งแบบทางเลือกชื่อว่า "อองโคเธอร์เมีย" มาใช้ในประเทศไทย

การรักษามะเร็งทั่วไปมี 3 วิธีหลัก คือ 1. ผ่าตัด 2. ฉายรังสี  และ 3. การใช้ยาเคมีบำบัด (คีโม) การรักษามะเร็งในระยะท้ายๆ ส่วนมากคนไข้มักจะทนต่อการรักษาแบบปกติไม่ไหว ให้คีโมไม่ได้ ฉายรังสีไม่ไหว ขณะที่อัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ การแพทย์ไทยโดย "กระทรวงสาธารณสุข" (สธ.) พยายามศึกษาวิจัยแนวทางการรักษา ทั้งกัญชารักษาโรค จนนำมาสู่การปลดล็อกกัญชาทางการแพทย์

 

 

 

 

ภาพประกอบ

 

 

 

 

อีกทั้ง การถอดรหัสพันธุกรรมผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพในการรักษา รวมถึงการทำศึกษาวิจัยยีนก่อนรักษามะเร็ง ให้ยาตรงโรค-พันธุกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตนานขึ้น โดยร่วมกับทีมแพทย์ประเทศญี่ปุ่น หรือแม้แต่เมื่อปี 2555 "กรมการแพทย์" โดย "สถาบันมะเร็งแห่งชาติ" ได้นำนวัตกรรมรักษามะเร็งที่ชื่อว่า เครื่อง  "อองโคเธอร์เมีย" (Oncothermia) การรักษามะเร็งด้วยคลื่นความร้อน เทคโนโลยีจากประเทศเยอรมัน เข้ามาทำการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

 

 

 

 

เครื่องอองโคเธอร์เมีย

"สถาบันมะเร็งแห่งชาติ" ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลายวิธี เช่น การใช้ความร้อน ความเย็น เป็นต้น การศึกษาการรักษาด้วยความร้อน เพื่อเป็นการรักษาทางเลือก หรือร่วมรักษา 3 รูปแบบคือ การใช้ความร้อนระดับต่ำ ปานกลาง และสูง โดยใช้ความร้อนระดับปานกลาง มาใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็ง หลักการคือ จะใช้ความร้อนอุณหภูมิ 42-43 องศาเซลเซียส เฉพาะที่กับตัวมะเร็ง เพื่อให้เซลล์มะเร็งตายแบบไม่เกิดการอักเสบ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตมากขึ้น ผลการศึกษาในเบื้องต้นสามารถเป็นทางเลือกหรือร่วมรักษาที่ได้ผลดี ทั้งนี้ ปัจจุบันเครื่อง  "อองโคเธอร์เมีย" เครื่องดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้งานแล้ว

ปัจจุบัน "อองโคเธอร์เมีย" ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นเครื่องที่ 2 อยู่ภายใน "ศูนย์การแพทย์มะเร็งบูรณาการ" โรงพยาบาลพานาซี พระราม 2"  ใช้ควบคู่กับการรักษามะเร็งทั่วไป

 

 

 

 

นพ.อัศวเดช แสนบัว (ซ้าย) สาธิตการใช้เครื่องอองโคเธอร์เมีย

 

 

 

 

บรรยากาศภายในโรงพยาบาลพานาซี พระราม 2

 

 

 

 

"นพ.ภัทรพล คำมุลตรี" ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 บอกว่า การตรวจพบมะเร็งมักจะพบเมื่ออยู่ในระยะท้ายๆ ส่งผลให้ผลลัพธ์ในการรักษามะเร็งไม่ดีเท่าที่ควร "โรงพยาบาลพานาซี" ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้ตั้ง "ศูนย์การแพทย์มะเร็งบูรณาการ" ขึ้นมา ให้ความสำคัญตั้งแต่การตรวจคัดกรอง ด้วยนวัตกรรมการตรวจที่ให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและมีความแม่นยำ สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งได้ตั้งแต่เริ่มมีความเสี่ยงจะเป็น หรือตั้งแต่ระยะที่ 0 ในขณะที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง ก็สามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยหลากหลายวิธี ทั้งศาสตร์จากประเทศจีน ไทย และประเทศเยอรมัน บูรณาการทั้ง 3 ศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อคนไข้ลดความทรมาน และมีอัตราการรอดชีวิตนานขึ้น 

 

 

 

 

ห้องทำการรักษาด้วยเครื่องอองโคเธอร์เมีย

 

 

 

 

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 อธิบายต่อว่า "ศูนย์การแพทย์มะเร็งบูรณาการ" มีโปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยโรคมะเร็งแบบบูรณาการหลากหลายวิธี เช่น โอโซนบำบัด (Ozone therapy) ออกซิเจนบำบัด (Hyperbaric Oxygen Therapy) สารสกัดจากขมิ้นชัน (Curcumin IV) เรสเวอราทรอล (Resveratrol IV) วิตามินซีบำบัดและไมเยอร์ ค็อกเทล (Megadose Vit C and Myer's Cock tail IV) เป็นต้น

 

 

 


"นพ.อัศวเดช แสนบัว" แพทย์เฉพาะทางรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 เล่าเสริมด้วยว่า มนุษย์ทุกคนมีเซลล์มะเร็งในร่างกาย เมื่อไหร่เซลล์กลายพันธุ์ผิดปกติ จากกรรมพันธุ์ และพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง การได้รับสารก่อมะเร็งจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทุกคนมีโอกาสเป็นโรคมะเร็ง แต่เมื่อเผชิญกับโรคร้ายนี้แล้ว จำเป็นต้องอยู่กับมันให้ได้นานที่สุด ทรมานน้อยที่สุด  โรงพยาบาลพานาซี พระราม 2 จึงได้นำเครื่อง "อองโคเธอร์เมีย" มาเป็นทางเลือกการรักษามะเร็ง

 

 

 

 

นพ.อัศวเดช แสนบัว

 

 

 

 

"นพ.อัศวเดช" อธิบายต่ออีกว่า การรักษาควบคู่กับการให้คีโมและฉายแสงจะให้ประสิทธิภาพมากกว่าใช้เครื่อง "อองโคเธอร์เมีย" เพียงอย่างเดียว ขณะที่อัตราการรอดชีวิตยาวนานขึ้น เช่น มะเร็งตับ คนไข้มีอัตรารอดชีวิตนาน แต่คนไข้ก็สามารถเลือกวิธีรักษาด้วยเครื่อง "อองโคเธอร์เมีย" เพียงอย่างเดียวก็ได้ เป็นสิทธิคนไข้ และผลวิจัยระบุอีกว่า เครื่อง "อองโคเธอร์เมีย" สามารถรักษาให้ผลดีกับมะเร็งระยะต้น มากกว่าระยะท้ายๆ

 

 

 

 

เครื่องอองโคเธอร์เมีย

 

 

 

 

"การรักษามะเร็งทั่วไปคือการผ่าตัด เข้าคีโม ฉายแสง เราทำอยู่แล้ว แต่เราจะทำอย่างไรให้คนไข้อยู่กับมะเร็งได้นานขึ้น ทรมานน้อย มีชีวิตอยู่ยาวนาน ซึ่งถ้าใช้เครื่อง "อองโคเธอร์เมีย" คู่กับการผ่าตัด จะลดความเจ็บปวดทำให้ก้อนมะเร็งเล็กลง ลดผลข้างเคียงจากการผ่าตัดได้ หรือถ้าเราทำการผ่าตัดเสร็จแล้ว "อองโคเธอร์เมีย" สามารถที่จะไปค้นหามะเร็งที่อาจจะหลงเหลืออยู่ และก็จะมีการกินตัวเซลล์มะเร็งที่หลงเหลือเหล่านั้น แต่ถ้าคู่กับยาเคมีบำบัด จะช่วยทำให้เซลล์มะเร็งโดนกำจัดมากขึ้น ลดผลข้างเคียงของการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และถ้าใช้ "อองโคเธอร์เมีย" คู่กับการใช้รังสีรักษา จะสามารถทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น จากการที่ "อองโคเธอร์เมีย" ไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์มะเร็ง และรังสีรักษาจะไปทำลายดีเอนเอของเซลล์มะเร็ง ถ้าหากใช้สองอย่างร่วมกัน จะทำให้ก้อนมะเร็งไม่สามารถที่จะอยู่ได้" "นพ.อัศวเดช" กล่าวในที่สุด 

 

 

 

 

สถานการณ์โรคมะเร็งในปัจจุบัน "สถาบันมะเร็งแห่งชาติ" เปิดสถิติข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งในแต่ละปีไทยจะพบผู้ป่วยรายใหม่กว่า 140,000 คน หรือประมาณ 400 คนต่อวัน โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ / ทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก

 

 

 

 

ภาพประกอบ
    

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ