ไลฟ์สไตล์

ไขข้อสงสัยทำไม? บางทีกินกุ้งไม่แพ้ แต่บางครั้งก็แพ้ เป็นเพราะอะไรนะ?

ไขข้อสงสัยทำไม? บางทีกินกุ้งไม่แพ้ แต่บางครั้งก็แพ้ เป็นเพราะอะไรนะ?

24 พ.ค. 2567

เคยสงสัยไหม? ว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา เมื่อก่อนทานกุ้งได้แต่ทำไมเดี๋ยวทานไม่ได้ บางทีก็เกิดอาการแพ้กุ้งขึ้นมาทั้งๆที่ผ่านมาไม่เคยแพ้ หากแพ้แล้วฝืนกินจะทำให้หายแพ้ไหม มาไขข้อสงสัยกันว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไรกันแน่นะ?

กุ้ง อีกหนึ่งวัตถุดิบที่ใครหลายคนต่างชื่นชอบ นำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู  แต่เชื่อว่าบางคนอาจจะทานไม่ได้เพราะว่าแพ้อาหารชนิดนี้ แต่บางคนก็แพ้กุ้งเป็นบางครั้ง หรือแพ้เป็นบางร้าน หรือแพ้เฉพาะบางเมนู ทำให้กังวลใจว่าเป็นภูมิแพ้อาหารอยู่หรือเปล่า? สาเหตุเกิดจากคนเรามีส่วนของกุ้งที่แพ้ไม่เหมือนกัน ในบางคนอาจจะแพ้จากส่วนเนื้อกุ้ง, หัวกุ้งหรือมันกุ้ง, เปลือกหรือสารตกค้างพิษในกุ้งเฉพาะจานนั้นๆ

 

ไขข้อสงสัยทำไม? บางทีกินกุ้งไม่แพ้ แต่บางครั้งก็แพ้ เป็นเพราะอะไรนะ?

 

ส่วนประกอบของกุ้งคือสารก่อภูมิแพ้

1. เนื้อกุ้ง จากบริเวณกล้ามเนื้อท้องของกุ้ง เกิดจากสารจำพวกโทรโปไมโอซิน (Tropomyosin) เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยเป็นหลักในการแพ้กุ้ง

2. หัวกุ้ง มีสารที่ทำให้แพ้ได้แก่ ฮีโมไซยานิน (Hemocyanin)

3. แพ้ส่วนประกอบอื่นๆ ของกุ้ง

4. ไม่ได้แพ้กุ้งแต่ แพ้สารเจือปน สารพิษ หรือพยาธิที่มาจากกุ้ง เช่น อะนิซาคิส (anisakis)

 5. นอกจากนั้น สายพันธุ์ของกุ้งยังมีผลต่อการแพ้อีกด้วย ผู้ป่วยบางคนแพ้เฉพาะบางสายพันธุ์ของกุ้ง สามารถแบ่งชนิดสายพันธุ์กุ้ง ได้ดังนี้

- สายพันธุ์น้ำจืด ได้แก่ กุ้งก้ามกราม

- สายพันธุ์น้ำเค็ม ได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย กุ้งขาว กุ้งแดง กุ้งทราย เป็นต้น

 

ไขข้อสงสัยทำไม? บางทีกินกุ้งไม่แพ้ แต่บางครั้งก็แพ้ เป็นเพราะอะไรนะ?

อีกส่วนหนึ่งคือมาจากปัจจัยส่วนตัวของคนที่รับประทานกุ้งเอง มีกิจกรรมบางอย่างที่ทำให้เราไวต่อการแพ้มากขึ้น เช่น ออกกำลังกายอย่างหนักมาก่อนหรือหลังกิน ดื่มแอลกอฮอล์ การที่ช่วงนั้นมีรอบเดือน กินยาแก้ปวดอักเสบมาก่อน เป็นต้น หากช่วงที่เรากินอาหารที่น่าแพ้และมีปัจจัยเหล่านี้อยู่พอดี อาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างมากได้

 

ไขข้อสงสัยทำไม? บางทีกินกุ้งไม่แพ้ แต่บางครั้งก็แพ้ เป็นเพราะอะไรนะ?

 

ข้อแนะนำหากสงสัยว่าแพ้

หากไปเที่ยวทะเล กินอาหารทะเล ห่างไกลตัวเมือง แนะนำพกยาแก้แพ้และสำรวจว่ามีโรงพยาบาลชุมชนใกล้ๆ โรงแรมที่พักหรือไม่ หากมีผื่นหรือคันเล็กน้อยสามารถรับประทานยาแก้แพ้ได้เลย แต่หากมีอาการหนัก เช่น หายใจไม่สะดวก อาเจียน คอบวม ควรรีบมาโรงพยาบาลเพื่อฉีดยา ไม่แนะนำให้ฝืนกินเพื่อทำให้หายแพ้ เพราะในครั้งหน้าอาจเกิดอาการหนักกว่านี้ได้และการแพ้อาหารทะเลมักไม่หายเอง และยังไม่มีข้อมูลชี้ว่าการฝืนรับประทานอาหารทะเลทำให้หายแพ้เร็วกว่าปกติได้ นอกจากนี้ แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์ ยังแนะนำด้วยว่า การรักษาแพ้กุ้ง มีวิธีการรักษาแล้ว (oral immunotherapy) ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

 

ไขข้อสงสัยทำไม? บางทีกินกุ้งไม่แพ้ แต่บางครั้งก็แพ้ เป็นเพราะอะไรนะ?