ไลฟ์สไตล์

เมนู "หมึก" แหล่งโปรตีนคอเลสเตอรอลสูง ถ้ากินเยอะเสี่ยงโรคจริงหรือ?  

"หมึก" มีคอเลสเตอรอลสูงถ้ากินเยอะๆเสี่ยงโรคจริงหรือ?  แล้วกินหมึกช่วย ลดน้ำหนัก และลดไขมัน ได้ไหม กินไปแล้วจะอ้วนหรือเปล่า? จริงๆแล้วหมึกมีกี่แคลอรี่ เราควรกินวันละเท่าไหร่?

 

หมึกหรือปลาหมึก อีกหนึ่งเมนูในอาหารทะเลยอดนิยมที่อุดมไปด้วยไขมันคอเลสเตอรอล โอเมก้า 3 วิตามินอี โปรตีน และแร่ธาตุต่าง ๆ จึงเชื่อว่าการบริโภคปลาหมึกอาจส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น เพิ่มไขมันดี ลดความดัน สมานแผล แต่ปลาหมึกมีไขมันหลากชนิด หลายคนจึงตั้งข้อสงสัยว่า ปลาหมึกดีต่อสุขภาพจริงหรือ และการรับประทานปลาหมึกปริมาณมากอาจทำให้เสี่ยงมีไขมันในเลือดสูงไปด้วยหรือไม่

 

เมนู \"หมึก\" แหล่งโปรตีนคอเลสเตอรอลสูง ถ้ากินเยอะเสี่ยงโรคจริงหรือ?  

 

หมึก เพิ่มไขมันดี ลดไขมันเลว

ภาวะไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูงอาจเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และนำไปสู่การเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมาได้ ปลาหมึกเป็นอาหารที่มีไขมันหลายชนิดโดยเฉพาะไขมันคอเลสเตอรอล หลายคนจึงเกรงว่าการบริโภคหมึกอาจเสี่ยงทำให้มีภาวะไขมันในเลือดสูงได้

 

เมนู \"หมึก\" แหล่งโปรตีนคอเลสเตอรอลสูง ถ้ากินเยอะเสี่ยงโรคจริงหรือ?  

 

แต่จากการวิจัยในอดีตที่ให้ผู้ชายซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ 18 คน บริโภคอาหารทะเลที่แตกต่างกัน 6 ชนิด คือ หมึกกล้วย ปู กุ้ง หอยนางรม หอยแมลงภู่ และหอยกาบ พบว่าปลาหมึกกล้วยและกุ้งมีไขมันคอเลสเตอรอลสูงกว่าอาหารชนิดอื่น ในขณะที่มีไขมันโอเมก้า 3 ต่ำกว่า และไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือดของผู้บริโภค ยิ่งไปกว่านั้น ปลาหมึกกล้วย หอยแมลงภู่ และหอยนางรมช่วยเพิ่มไขมันคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL) ให้แก่ร่างกาย ซึ่งไขมันชนิดนี้จะช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลส่วนเกินออกไปด้วย

 

เมนู \"หมึก\" แหล่งโปรตีนคอเลสเตอรอลสูง ถ้ากินเยอะเสี่ยงโรคจริงหรือ?  

 

กินหมึกแล้วจะทำให้อ้วนไหม?

หมึก เป็นหนึ่งในอาหารทะเลที่มีแคลอรี่ต่ำมาก เพราะในปริมาณ 100 กรัม จะให้พลังงานแคลอรี่แค่ 92 แคลอรี่เท่านั้นดังนั้น ถ้าเราทำเมนูลาบปลาหมึก ยำปลาหมึก หรือปลาหมึกย่าง เราอาจจะกินปลาหมึกได้มากถึง มื้อละ 300-400 กรัมเลยทีเดียว

แต่ปัญหาหลัก คือ ถ้าเราเอาไปทำเป็นเมนูผัดหรือทอด เช่น ผัดกระเพราปลาหมึก มันก็จะมีแคลอรี่จากน้ำมันเพิ่มเข้ามาด้วยปลาหมึกยังมีไขมันต่ำ แถมยังอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะ ซีเรเนียม (Selenium) ที่มีส่วนช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น (2)

การที่ต่อมไทรอยด์สามารถหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ได้ดี จะช่วยทำให้ระบบ Metabolism เผาผลาญไขมันได้ดีอย่างต่อเนื่องนั่นเองครับ (3)

 

เมนู \"หมึก\" แหล่งโปรตีนคอเลสเตอรอลสูง ถ้ากินเยอะเสี่ยงโรคจริงหรือ?  

 

 

เมนู \"หมึก\" แหล่งโปรตีนคอเลสเตอรอลสูง ถ้ากินเยอะเสี่ยงโรคจริงหรือ?