ห้ามเด็ดขาด 4 อาหารที่ไม่ควรแช่ตู้เย็น เสี่ยงต่อสุขภาพอัตรายถึงชีวิต
ห้ามเด็ดขาด 4 ชนิดที่ไม่ควรแช่ตู้เย็นนาน คุณภาพอาจแย่ลง เสี่ยงต่อสุขภาพอัตรายถึงชีวิต พร้อมแนะนำวิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสม
อีกหนึ่งวิธีในการถนอมอาหารคือการนำอาหารแช่ไว้ในตู้เย็น เพื่อจะเพิ่มระยะเวลาในการเก็บให้อาหารเหล่านั้น แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าอาหารทุกชนิดจะสามารถแช่เอาไว้ในตู้เย็นได้ เนื่องจากความเย็นอาจไปลดคุณภาพอาหารให้เสื่อมลง และอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายตามมา
4 ชนิดที่ไม่ควรแช่ตู้เย็นนาน
1. แตงโม เป็นผลไม้ที่มีน้ำเยอะ เมื่อโมเลกุลของน้ำโดนความเย็น จะทำให้มีความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้เนื้อแตงโมมีความฉ่ำน้ำ ชุ่มน้ำ และมีรสชาติแย่ลง การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เรียกว่า การสะท้านหนาว (Chilling Injury) ซึ่งสามารถพบได้ในการใช้ผลไม้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำเกินไป โดยแตงโมจะเกิดอาการสะท้านหนาวอยู่ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียส
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ทดลองเก็บแตงโมในอุณหภูมิที่ต่างกัน ที่ 5, 13 และ 21 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 14 วัน พบว่าสารพฤกษเคมีกลุ่มแคโรทีนอยด์ทั้งไลโคปีน และเบต้าแคโรทีน ที่อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง จะมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งไลโคปีนที่เพิ่มขึ้นราว 11-40% ซึ่งไลโคปีนมีประโยชน์เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ ในส่วนของเบต้าแคโรทีนจะเพิ่มขึ้นราว 50-139% มีประโยชน์ในเสริมสร้างภูมิคุมกันของร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระ และดูแลหลอดเลือด ในทางตรงกันข้ามหากเก็บแตงโมไว้ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 21 องศาเซลเซียส ปริมาณสารพฤกษเคมีเหล่านี้ก็จะมีปริมาณลดลง
ข้อแนะนำในการเก็บรักษาแตงโมควรเก็บในอุณหภูมิห้อง แต่หากใครอยากกินแตงโมที่เนื้อเย็นๆ ก็สามารถนำไปแช่ตู้เย็นระยะเวลา 2 – 3 ชม.
2. กล้วยดิบ เป็นผลไม้ที่มีความไวต่อการเกิดอาการสะท้านหนาว เปลือกกล้วยจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส นอกจากนี้อุณหภูมิเย็นๆ จะไปยับยั้งการสุกของกล้วย เพราะอุณหภูมิเย็นจะไปยับยั้งการทำงานของก๊าซเอทิลีน ซึ่งทำให้การสุกของกล้วยไม่สมบูรณ์ การรับประทานกล้วยดิบจะทำให้มีสารแทนนินสูง และมีแป้งที่เอนไซม์ไม่สามารถย่อยได้ จึงอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
ข้อแนะนำในการเก็บรักษากล้วยควรอยู่ในอุณหภูมิห้องและพ้นแสงแดด ระยะเวลาระหว่างกล้วยดิบไปจนสุกจะอยู่ที่ประมาณ 7 – 10 วัน
3. การเก็บกระเทียมและหอมหัวใหญ่ในตู้เย็นจะทำให้เน่าเสียเร็วกว่าเดิม เพราะในตู้เย็นมีความชื้น จึงทำให้เกิดเชื้อราได้ และเชื้อราเหล่านี้อาจผลิตสารพิษที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ ต่อตับ และอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ด้วย นอกจากนี้ความเย็นยังทำลายเนื้อสัมผัสของหอมหัวใหญ่ ทำให้เนื้อสัมผัสเหี่ยว นิ่ม ไม่น่ารับประทาน
ข้อแนะนำในการเก็บรักษาหากเป็นกระเทียมไม่ควรแกะกลีบแยกใดๆ ส่วนหอมหัวใหญ่ควรเก็บแบบเดิม มีเปลือกในที่แห้ง มี่ความชื้น อากาศถ่ายเทสะดวก ซึ่งระยะเวลาในการเก็บรักษาจะอยู่ได้นาน 1 – 2 เดือน
4. อาหารกระป๋องความชื้น และออกซิเจนในตู้เย็น อาจทำให้กระป๋องเกิดสนิมได้ และเมื่อเรารับประทานอาหารที่ปะปนกับโลหะหนักจากสนิม จะทำให้เกิดพิษต่อเซลล์ของเราในร่างกาย เป็นพิษต่อตับ และอาจเป็นสารก่อมะเร็งในภายหลังได้ ผลกระทบต่อสุขภาพ การนำผลไม้ นม หอม กระเทียม น้ำ แม้กระทั่งผลไม้กระป๋องเอาไปแช่ในตู้เย็นตลอด อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดสนิมและเชื้อรา หรืออาจทำให้อาหารปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสี กลิ่น รสและคุณค่าของอาหาร
โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดโบทูลินั่ม ซึ่งจะสร้างสารพิษโบทูลินั่มที่ส่งผลต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง หากรับประทานเข้าสู่ร่างกายจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการอัมพาตของกล้ามเนื้อต่างๆ สายตาพร่ามองเห็นเป็นภาพซ้อน ซึม ง่วง กลืนอาหารไม่สะดวก ลิ้นและคออักเสบ กล้ามเนื้อต้นคออ่อนแรงจนยกหัวไหล่ไม่ขึ้น โดยจะแสดงอาการให้เห็นภายใน 2-4 ชั่วโมง ในบางรายอาจใช้เวลานานถึง 12-36 ชั่วโมง หากไม่ได้รับการรักษาโดยทันทีอาจเสียชีวิตด้วยระบบหายใจล้มเหลว ดังนั้นหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นให้รีบไปพบแพทย์
ข้อแนะนำในการเก็บรักษาอาหารกระป๋อง เนื่องจากอาหารกระป๋องถูกออกแบบมาเพื่อเก็บในอุณหภูมิห้องได้ ดังนั้นหากต้องการกินควรเทใส่ภาชนะแยกแล้วจึงแช่ในตู้เย็น หรือกรณีที่อยากกินผลไม้กระป๋องแบบเย็นๆ สามารถนำตัวกระป๋องแบบยังไม่เปิดแช่ไว้ได้เป็นระยะเวลา 2 – 3 ชม.
การเลือกซื้ออาหารให้ดี โดยเฉพาะอาหารจำผัก ผลไม้ พวกเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล ควรเลือกซื้อจากร้านค้าหรือสถานที่ที่มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ เก็บรักษาอาหารดิบอย่างเนื้อสัตว์ เนื้อไก่ ปลา และหอย ให้ห่างจากอาหารที่พร้อมรับประทาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้าม ปรุงอาหารด้วยความร้อนที่เหมาะสม แช่เย็นหรือแช่แข็งอาหารที่อาจเน่าเสียได้ง่ายภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากเลือกซื้อหรือเตรียมอาหาร และแช่อาหารที่เน่าเสียง่ายไว้ในตู้เย็นภายใน 1 ชั่วโมง หากมีอุณหภูมิห้องสูงกว่า 32 องศาเซลเซียส และที่สำคัญควรล้างผัก ผลไม้ให้สะอาด ปลอดภัยก่อนนำมารับประทานด้วยวิธีที่ถูกต้องเสมอ