เหลือจะเชื่อ! เปิดตำนาน "ขนมไหว้พระจันทร์" ความอร่อยกู้ชาติของชาวจีน
วันไหว้พระจันทร์ในปีนี้ ตรงกับวันอังคารที่ 17 กันยายน แต่รู้ไหมว่าความอร่อยที่เราได้ลิ้มลองกันนั้น มีประวัติและความเชื่อที่มาหลากหลาย มาเปิดอีกหนึ่งตำนานที่เหลือจะเชื่อว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" เคยใช้ความอร่อยกู้ชาติของชาวจีนมาแล้ว
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด ตามปฏิทินทางจันทรคติของทุกปี ผู้คนทั่วโลกหลายร้อยล้านคนต่างร่วมฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ ตามประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายร้อยปี เพื่อแสดงความขอบคุณต่อ ทวยเทพและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความสามัคคีปรองดอง ความสุข ความเจริญงอกงาม และความอุดมสมบูรณ์ของพืชผลที่เพาะปลูก สำหรับปี พ.ศ. 2567 นี้ วันไหว้พระจันทร์ตามคติความเชื่อของชาวจีนนั้น ตรงกับวันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567 ร่วมฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์ด้วยการมอบขนมไหว้พระจันทร์ ให้เป็นของขวัญตามประเพณีสร้างความประทับใจให้แก่ทุกคนในครอบครัว กลุ่มเพื่อน และ คู่ค้าทางธุรกิจ
ประวัติและความเชื่อของ 'ขนมไหว้พระจันทร์'
ขนมไหว้พระจันทร์ ( Moon Cake ) เกิดขึ้นมาแล้วประมาณ 600 ปีก่อน ในสมัยปลายราชวงศ์หยวน ( Yuan dynasty ) ที่เจกิสข่าน จักรพรรดิแห่มองโกล ได้เข้ายึดครองแผ่นดินจีนและปกครอง ชาวจีนอย่างเข้มงวด กดขี่ และเผด็จการ ชาวจีนกลุ่มหนึ่ง จึงต้องการก่อกบฎต่อต้าน โดยเริ่มวางแผนสร้างกลอุบาย จัดงาน ไหว้พระจันทร์ขึ้นมา และคิดค้นขนมชนิดหนึ่ง คือ ขนมไหว้พระจันทร์ แล้วแอบสอดจดหมาย หรือสาส์นไว้ภายในไส้ของขนมไว้ และในไปแจกจ่ายให้กับชาวจีนทุกบ้าน ข้อความในสาส์นที่อยู่ในขนมระบุว่า คืนนี้ในเวลายาม 3 จงสังหารทหารมองโกลพร้อมกัน เมื่อถึงเวลาตามที่นัด เหล่าชาวจีน รวมไพร่พล เพื่อจัดการกับทหารมองโกล จนนำมาสู่การกู้เอกราชของจีนกลับคืนมาได้ในที่สุด และจัดตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์หมิง นั่นเอง
ความเชื่อ 'ขนมไหว้พระจันทร์' ต้องเป็นทรงกลม
ชาวจีนเชื่อว่า 'พระจันทร์' ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์และมั่งคั่ง และหากไหว้พระจันทร์แล้วความสมบูรณ์และมั่งคั่งจะหลังไหลเข้ามา ดังนั้น 'ขนมไหว้พระจันทร์' จึงต้องทำออกมาในลักษณะทรงกลมคล้ายดวงจันทร์ ส่วนผสมของขนมจะทำจากแป้งและใส่ไส้เอาไว้ภายใน สิ่งสำคัญของขนมไหว้พระจันทร์คือไส้ที่มีจุดเด่นต่างกันออกไป หากเป็นแบบต้นตำหรับ ส่วนผสมของไส้ขนมไหว้พระจันทร์จะเป็นธัญพืชต่างๆ เช่น ทุเรียน, เมล็ดบัว, แมคคาเดเมีย, พุทราจีน เป็นต้น
ซึ่งในปัจจุบันขนมไหว้พระจันทร์มีการบรรจุหีบห่อออกแบบอย่างสวยงาม ส่วนมากเป็นสีแดง ที่เป็นสีหลักที่โดดเด่น เพราะตามความเชื่อของชาวจีน สีแดง เป็นสีสัญลักษณ์แห่งความสุข พลังแห่งชีวิต ความโชคดี และความสำเร็จตามขนบธรรมเนียมประเพณีจีนตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยมีลวดลายของมังกรซึ่งเป็นปีนักษัตรประจำปีนี้มาเพิ่มความเป็นสิริมงคล เหมาะอย่างยิ่งที่จะเลือกขนมไหว้พระจันทร์ เป็นของขวัญมอบให้แก่สมาชิกในครอบครัว กลุ่มเพื่อน คู่ค้าทางธุรกิจ และที่สำคัญมอบให้แก่ตัวท่านเอง
ข้อมูลที่มา - โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ