ไลฟ์สไตล์

ช็อกโกแลต อาจหมดโลกในปี 2050 เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ช็อกโกแลต อาจหมดโลกในปี 2050 เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

29 ก.ย. 2567

เป็นเรื่องที่น่าติดตามว่า ช็อกโกแลตที่เราคุ้นเคย อาจจะไม่ได้มีให้เรากินอีกต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ ช็อกโกแลต อาจหมดโลกในปี 2050 เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สิ่งนี้บอกอะไรถึงเรา!

ภายในปี 2050 ช็อกโกแลตอาจสูญพันธุ์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า และภาวะโลกร้อน เมื่อโลกร้อนหนักข้อขึ้นต่อเนื่อง เรื่องสภาวะแวดล้อมที่เข้าขั้นวิกฤต จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดปริมาณลงอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนถึงห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ที่กำลังส่งสัญญาณเตือนถึงวิกฤตทั่วโลก

 

ช็อกโกแลต อาจหมดโลกในปี 2050 เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ต้นโกโก้ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของช็อกโกแลต มีแนวโน้มที่จะหายไป เนื่องจากอุณหภูมิที่อบอุ่นขึ้นและสภาพอากาศที่แห้งแล้งผู้ผลิตช็อกโกแลตชั้นนำของโลกอย่างโกตดิวัวร์และกานา อาจประสบกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น 3.8 องศาฟาเรนไฮต์ภายในปี 2593 และอาจไม่สามารถปลูกโกโก้ได้อีกต่อไป

 

ช็อกโกแลต อาจหมดโลกในปี 2050 เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

 

ประเทศผู้ผลิตโกโก้รายใหญ่ของโลก

แอฟริกาตะวันตกเป็นที่ตั้งของประเทศผู้ผลิตโกโก้รายใหญ่ที่สุดในโลกด้วยผลผลิต 4 ล้านตันต่อปี แต่โดยรวมการผลิตโกโก้ทั่วโลกจะอยู่ที่ 6.5 ล้านตันต่อปี  ปริมาณโกโก้ 2.2 ล้านตันนั้น โกตดิวัวร์เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก คิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณโกโก้ทั้งหมดทั่วโลก โกโก้จากโกตดิวัวร์ถูกส่งไปให้กับ เช่น เนสท์เล่ มาร์ส และเฮอร์ชีย์

  • โกตดิวัวร์ 2.2 ล้านตัน
  • กาน่า 1.1 ล้านตัน
  • อินโดนีเซีย 6 แสนตัน
  • เอกวาดอร์ 3 แสนตัน (คาดจะแซงหน้ากาน่าในอีก 3-5 ปี)

 

 

ช็อกโกแลต อาจหมดโลกในปี 2050 เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ทำลายพืชผลในแอฟริกาตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งปลูกโกโก้ประมาณ 80% ของโลก ผู้ส่งออกโกโก้จากโกตดิวัวร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตโกโก้รายใหญ่ที่สุดของโลก เกือบผิดสัญญาส่งสินค้าเนื่องจากเมล็ดโกโก้ไม่เพียงพอ แอฟริกาตะวันตกประสบกับคลื่นความร้อนรุนแรงในเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิพุ่งสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นในรอบทุก 100 ปี แต่ปัจจุบันกลับเกิดขึ้นทุก 10 ปี และด้วยสภาพอากาศที่ย่ำแย่ โกโก้อาจต้องใช้เวลาถึงหนึ่งปีกว่าที่ต้นจะสามารถให้ผลผลิตได้ในปริมาณเพียงครึ่งปอนด์ ปัจจุบันต้นโกโก้โตเต็มวัยให้ผลผลิตโกโก้น้อยลง 

 

ช็อกโกแลต อาจหมดโลกในปี 2050 เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

 

โกโก้เป็นพืชที่ใช้ทำช็อกโกแลต ราคาโกโก้เพิ่มขึ้นสามเท่าภายในหนึ่งปีเนื่องจากผลผลิตที่ลดลง โดยแตะระดับ 10,000 ดอลลาร์ต่อตันเป็นครั้งแรก วิกฤตนี้จึงส่งผลให้แบรนด์ช็อกโกแลตดังอย่าง Hershey’s, Cadbury รวมถึง Milka ต้องลดปริมาณช็อกโกแลตลง เพราะต้นทุนที่แพงขึ้น อ้างอิงตัวเลขเมื่อปี 2022 ตลาดโกโก้ทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 14,155.88 ล้านดอลลาร์ หรือ 5 แสนล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นถึง 18,843.34 ล้านดอลลาร์ หรือ 7 แสนล้านบาทในปี 2028 เพียงแค่เทศกาลอีสเตอร์ ช็อกโกแลตเป็นสินค้าที่สร้างเม็ดเงินสะพัดในอังกฤษประมาณ 14,000 ล้านบาท และในสหรัฐอเมริกาประมาณ 756,000 ล้านบาท แต่ช่วงหลังยอดขายช็อกโกแลตลดลง เนื่องจากการปรับราคาสินค้า

 

 

ช็อกโกแลต อาจหมดโลกในปี 2050 เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ