เปิด 3 สมุนไพร กินแล้วช่วยลดกรดไหลย้อน
สมุนไพรหลายชนิด เชื่อกันว่ามีสรรพคุณช่วยรักษาอาการของกรดไหลย้อน ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษา เปิด 3 สมุนไพร กินแล้วช่วยลดกรดไหลย้อน
แสบร้อนกลางอก อาจมีอาการขึ้นมาถึงลำคอทำให้รู้สึกได้ถึงรสเปรี้ยวในปาก เจ็บหน้าอก กลืนลำบาก ไอแห้ง เสียงแหบ เจ็บคออาการของเป็น กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) โรคระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างไม่แข็งแรงหรือคลายตัวผิดปกติ ทำให้กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร และเกิดการระคายเคืองหรืออักเสบที่เยื่อบุของหลอดอาหาร
ซึ่งหนึ่งในวิธีการบรรเทารักษาโดยการใช้สมุนไพรเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษา ซึ่งได้รับความสนใจและมีการรับประทานกันอย่างแพร่หลายสมุนไพรหลายชนิดเชื่อกันว่ามีสรรพคุณช่วยรักษาอาการของกรดไหลย้อน
เปิด 3 สมุนไพร กินแล้วช่วยลดกรดไหลย้อน
ขมิ้นชัน
สมุนไพรที่หลายคนเชื่อว่ามีสารต้านการอักเสบและสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย โดยมีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) เป็นสารออกฤทธิ์ ขมิ้นชันถูกใช้เป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรค และได้รับการกล่าวอ้างว่าช่วยบรรเทาอาการจากกรดไหลย้อนได้
ว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้เป็นสมุนไพรที่เชื่อกันว่ามีสารต้านการอักเสบ สามารถใช้ได้ทั้งรับประทานหรือทาที่ผิวหนัง มักใช้รักษาอาการผิวไหม้จากแดดหรือการระคายเคืองทางผิวหนังที่มีอาการไม่รุนแรง นิยมใช้สารสกัดจากว่านหางจระเข้เป็นส่วนผสมในน้ำหอมหรือเครื่องสำอาง และหลายคนเชื่อว่าน้ำว่านหางจระเข้อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และกรดอะมิโน มักถูกกล่าวอ้างว่าช่วยล้างพิษในร่างกายและอาจมีคุณสมบัติบรรเทาอาการของกรดไหลย้อนได้
ขิง
สมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนประกอบหลักในวงการแพทย์แผนจีน ซึ่งมีความเชื่อกันว่าขิงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านสารอนุมูลอิสระหากใช้ในปริมาณน้อย โดยมีสารประกอบฟีนอล (Phenolic Compounds) ซึ่งเป็นสารที่มีการกล่าวอ้างว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหารและลดการหดตัวของกระเพาะอาหาร นั่นหมายความว่าการรับประทานขิงอาจช่วยลดกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไม่ให้ไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร แต่หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจทำให้อาการแย่ลงได้เช่นกัน
ในปัจจุบันการใช้สมุนไพรรักษากรดไหลย้อนอาจยังไม่มีงานวิจัยหรือหลักฐานทางการแพทย์สนับสนุนเพียงพอถึงประสิทธิภาพในการรักษาและความปลอดภัยต่อร่างกายมนุษย์ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนการใช้สมุนไพร เพราะอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ หรือทำให้อาการต่าง ๆ แย่ลงได้