ไลฟ์สไตล์

เปิดที่มา "ต้มยำกุ้ง" เมนูที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

เปิดที่มา "ต้มยำกุ้ง" เมนูที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

04 ธ.ค. 2567

เปิดที่มาตำนาน “ต้มยำกุ้ง” เมนูอาหารไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดย ยูเนสโก

 

 

4 ธันวาคม 2567 คนไทยเฮทั้งประเทศเมื่อเมนูอาหารไทย “ต้มยำกุ้ง” ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity : RL) ประจำปี 2567  โดย ยูเนสโก  ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทย มีรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ จากยูเนสโก แล้ว จำนวน 4 รายการ ได้แก่โขน นวดไทย โนรา และประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย โดย ต้มยำกุ้ง (Tomyum Kung) จะถือเป็นรายการที่ 5 ของไทย ที่ได้รับการรับรอง

 

เปิดที่มา \"ต้มยำกุ้ง\" เมนูที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

 

 

 

“เมนูต้มยำกุ้ง” เอกลักษณ์ตัวแทนความเป็นประเทศไทย 

หากเอ่ยถึงลิสต์อาหารที่เป็นเหมือนตัวแทนประเทศไทยที่ชาวต่างชาติรู้จัก แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นต้องมีชื่อ “ต้มยำกุ้ง” กับเอกลักษณ์ของรสชาติที่มีความสมดุลระหว่างรสเปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน มีกลิ่นหอมของสมุนไพรสดทั้งข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกขี้หนู ที่ต้องมาพร้อมรสชาติแห่งความกลมกล่อม ไม่เปรี้ยวโดดหรือเผ็ดโดด แต่ได้คุณประโยชน์ของเครื่องเทศสมุนไพรไทยแบบเต็มๆ 

 

เปิดที่มา \"ต้มยำกุ้ง\" เมนูที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

 

 

 

 

ประวัติของ 'ต้มยำกุ้ง'

เมนูต้มยำกุ้งจริงๆแล้วไม่มีหลักฐานว่ามีจุดกำเนิดมาจากที่ใด ทว่าจากคำอ้างอิงของ สุจิตต์ วงษ์เทศ นักประวัติศาสตร์และโบราณคดี ระบุว่าเป็นอาหารที่ได้อิทธิพลในการปรุงมาจากอินเดีย (กะทิ) และจีน (น้ำแกง)  ที่มาของต้มยำกุ้งนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้คิดค้น แต่หลักฐานหนึ่งที่ปรากฏชัดเจนคือมีการบันทึกถึงเมนู “ต้มยำ” มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่เป็นต้มยำปลาต่าง ๆ ส่วนในตำราแม่ครัวหัวป่าก์ (พ.ศ. 2451) โดยท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ซึ่งเป็นตำราอาหารอย่างเป็นทางการของไทยเล่มแรกได้ปรากฏชื่อเมนูต้มยำเขมร หรือแกงนอกหม้อ แต่ก็หน้าตาไม่เหมือนต้มยำกุ้งที่เรากินอยู่ในปัจจุบัน

 

เปิดที่มา \"ต้มยำกุ้ง\" เมนูที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

 

 

 

 

 

 

 

“ต้มยำกุ้ง” ในปัจจุบัน

 

ต้มยำกุ้ง เป็นอาหารไทยภาคกลางประเภทต้มยำ ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานไปทุกภาคในประเทศไทย เป็นอาหารที่รับประทานกับข้าว มีรสเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลักผสมเค็มและหวานเล็กน้อย อย่างไรก็ตามแม้จะไม่สามารถระบุที่มาที่ไปของต้มยำกุ้งได้ ทว่ากลับเป็นอาหารที่น่าสนใจทั้งในแง่พัฒนาการที่ปัจจุบันมีทั้งน้ำข้น น้ำใส หลากหลายสูตร อีกทั้งความชาญฉลาดของคนในอดีตที่ทำให้สามารถรับประทานเครื่องสมุนไพรไทยที่เป็นยาได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญต้มยำกุ้งยังสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว และสมุนไพรก็สามารถหาได้เคียงครัว  อย่างไรก็ตาม 'ต้มยำกุ้ง' ถูกบรรจุในหมวดของอาหารภาคกลาง แต่ด้วยความที่รสชาติกลมกล่อม ทำให้เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย โดยจะรับประทานร่วมกับข้าว เพราะมีรสเปรี้ยว-เผ็ดเป็นหลัก ผสมเค็มและหวานเล็กน้อย

 

เปิดที่มา \"ต้มยำกุ้ง\" เมนูที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้