ผัก 7 ชนิด "กินดิบ" ส่งผลเสียต่อร่างกาย ให้โทษมากกว่าประโยชน์
ผักและผลไม้ส่วนใหญ่ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่จะมีผักบางชนิดที่ไม่ควรกินดิบๆ ในปริมาณที่มากเกินไปก็เหมือนกับผัก 7 ชนิดนี้ หากกินดิบส่งผลเสียต่อร่างกายให้โทษมากกว่าประโยชน์
ผักบางชนิดไม่ควรกินแบบดิบเพราะมีสารบางชนิดในตัวเองหรือมีการปนเปื้อนสะสมของสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายส่งผลเสียต่อสุขภาพ บางชนิดหากกินในปริมาณมากอาจเสียชีวิต
1. บล็อคโคลี่
เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกะหล่ำปลี มีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งสามารถยับยั้งไม่ให้ร่างกายใช้ไอโอดีนได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังมีฮอร์โมนบางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดโรคไทรอยด์ได้อีก และการกินบล็อคโคลี่ดิบจะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้
2. ถั่วฝักยาว
เป็นพืชที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงสูง ดังนั้นหากกินแบบดิบๆ ที่มีการปนเปื้อนของสารพิษเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้ ดังนั้นหากชอบกิบแบบดิบๆ ควรล้างน้ำให้สะอาดโดยหักเป็นท่อนๆ และนำไปแช่น้ำนานๆ หรือไม่ก็เลือกกินแบบสุกจะปลอดภัยกว่า
3.กะหล่ำปลี
ในกะหล่ำปลีจะไปจับแคลเซียมที่กรวยไต จนกลายเป็นสารแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งหากมีสารตัวนี้ที่กรวยไตมากๆ ก็เสี่ยงต่อโรคนิ่วในไตได้ และในกะหล่ำปลียังมีน้ำตาลชนิดหนึ่ง ซึ่งคนที่มีปัญหาในระบบย่อยอาหารอาจย่อยน้ำตาลชนิดนี้ไม่ได้ และอาจนะไปสู่อาการท้องอืด แน่นท้องได้ แต่หากนำกะหล่ำปลีไปปรุงสุกน้ำตาลที่ว่าจะเปลี่ยนเป็นโมเลกุลเป็นสารที่ย่อยได้ง่าย นอกจากนี้ในกะหล่ำปีดิบยังมีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) สารที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ทำให้ร่างกายดึงไอโอดีนจากเลือดไปใช้งานได้น้อยกว่าปกติ จนอาจก่อให้เกิดโรคคอหอยพอกได้ ดังนั้นผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ไม่ควรกินกะหล่ำปลีดิบ แต่สารกอยโตรเจนจะสลายได้อย่างรวดเร็วเมื่อโดนความร้อน ดังนั้นควรบริโภคกะหล่ำปลีแบบสุกจะดีกว่า
4. ดอกกะหล่ำ
เป็นพืชชนิดหัวอีกหนึ่งชนิด เช่นเดียวกับบล็อคโคลี่ ควรนำมาปรุงสุกก่อนกิน เพราะดอกกะหล่ำยังคงมีน้ำตาลเดียวกับกะหล่ำปลี และบล็อคโคลี ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง
5. ผักโขม
มีกรดออกซาลิก (Oxalic) เป็นตัวขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูกซึมธาตุเหล็กและแคลเซียมไปใช้ได้ ดังนั้นคนขาดธาตุเหล็กหรือแคลเซียมจึงไม่ควรกินผักโขมแบบดิบๆ แต่กรดออกซาลิกสามารถหมดฤทธิ์ได้เมื่อเจอความร้อน ดังนั้นควรนำผักโขมมาปรุงสุกก่อนกิน
6. ถั่วงอก
มักจะมีการปนเปื้อนของแบคทีเรียซัลโมเนลลา และอีโคไล อีกทั้งยังมีารโซเดียมซัลไฟต์ ซึ่งเป็นสารที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้าตำนำมาฟอกให้สีถั่วงอกมีสีขาวน่ากิน อักทั้งยังเป็นสารที่รักษาความสดของถั่วงอกให้เก็บไว้ได้นาน ซึ่งหากผู้บริโภคมีอาการแพ้สารเหล่านี้ หรือกินถั่วงอกดิบในปริมาณที่มาก ก็อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ หายใจขัด ความดันต่ำ และปวดท้องได้ แต่หากนำถั่วงอกไปปรุงสุกก็จะช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรีย และสารฟอกขาวได้
7. หน่อไม้
ในหน่อไม้สดมี Cyanogenic glycoside ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ ที่มีพิษต่อร่างกาย และหากร่างกายได้รับสารนี้ในปริมาณที่มาก Cyanogenic glycoside จะเข้าไปจับกับฮีโมโกลบิน ทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน ทุรนทุราย หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้นควรต้มน้ำไม้ประมาณ 10 นาที หรือนำหน่อไม้ไปดอง (ซึ่งต้องผ่านการต้ม) ก่อนกิน เพราะวิธีนี้การปรุงสุกด้วยความร้อนจะช่วยสลาย Cyanogenic glycoside ได้
ที่มาอ้างอิง bpksamutprakan