'ขนมไหว้พระจันทร์' มีที่มาอย่างไร ทำไมกลายเป็นสัญลักษณ์ วันไหว้พระจันทร์
เปิดตำนาน 'ขนมไหว้พระจันทร์' สัญลักษณ์สำคัญวัน ไหว้พระจันทร์ ในคืนวันเพ็ญในเดือน 8 ตามปฏิทินจีนซึ่งปี 2566 นี้จะตรงกับวันที่ 29 ก.ย.
อีกไม่กี่วัน เทศกาล ไหว้พระจันทร์ ใกล้จะเวียนมาถึงอีกครั้ง ในคืนวันเพ็ญในเดือน 8 ตามปฏิทินจีน ซึ่ง วันไหว้พระจันทร์ 2566 นี้จะตรงกับวันที่ 29 กันยายน และทุกครั้งเมื่อใกล้ถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ ทุกคนก็คงจะนึกถึง “ขนมไหว้พระจันทร์” ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเทศกาลสำคัญนี้ไปแล้ว
“ขนมไหว้พระจันทร์” เป็นของที่ใช้สำหรับเซ่นไหว้ดวงจันทร์ ลักษณะของขนมมีทรงกลมคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้งนวด แล้วกดใส่แป้นพิมพ์ที่มีลวดลายต่างๆ จากนั้นนำไปอบ และเคลือบผิวหน้าด้วยน้ำเชื่อม ด้านในใส่เป็นไส้ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธัญพืช อาทิ ทุเรียน เมล็ดบัว แมคคาเดเมีย พุทราจีน เกาลัด เป็นต้น
“ขนมไหว้พระจันทร์” มีที่มาอย่างไร
ในยุคปลายราชวงศ์หยวน ที่ชาวฮั่นถูกปกครองอย่างกดขี่โดยชาวมองโกล ชาวฮั่นเมื่อต้องการจะก่อกบฏต่อต้าน ด้วยการแอบสอดสาส์นไว้ในขนมชิ้นนี้ แล้วนำไปแจกจ่ายให้กับทุกบ้าน ในสาส์นมีข้อความว่า คืนนี้ในเวลายาม 3 จงสังหารทหารมองโกลพร้อมกัน อันนำมาซึ่งเอกราชของชาวฮั่น จนกลายเป็นประเพณีการรับประทานและไหว้ "ขนมไหว้พระจันทร์" ในปัจจุบัน
แม้ เทศกาลไหว้พระจันทร์ จะมีที่มาจากประเทศจีน แต่ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ของจีนนั้น "ขนมไหว้พระจันทร์" ไม่ได้ใช้เพื่อ ไหว้พระจันทร์ หรือเป็นของกินเล่นเพียงอย่างเดียว แต่ขนมไหว้พระจันทร์ยังเป็น ขนมมงคล ที่ชาวจีนนิยมมอบให้กับคนที่รู้จัก ญาติ มิตรสหาย เพื่อแสดงถึงมิตรไมตรี และเป็นการอวยพรซึ่งกันและกัน จึงทำให้ "ขนมไหว้พระจันทร์" ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
"ขนมไหว้พระจันทร์" ในประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ผลิตและจำหน่าย "ขนมไหว้พระจันทร์" หลายแห่งด้วยกัน ซึ่งทุกแห่งนอกจากจะเน้นที่รสชาติความอร่อยของตัว "ขนมไหว้พระจันทร์" แล้ว บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามแปลกตาและสามารถนำไปใช่ต่อได้ก็สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้เช่นกัน อาทิ เอส แอนด์ พี ที่ปัจจุบันมีให้เลือกอร่อยถึง 16 รสชาติ 21 ไส้ และปีนี้ยังเปิดตัวอีก 2 รสชาติใหม่ ได้แก่ และขนมไหว้พระจันทร์ไส้บัวมันม่วง และขนมไหว้พระจันทร์ไส้เกาลัดและชาอู่หลง
ในส่วนของการออกแบบบรรจุภัณฑ์กล่อง ปีนี้เป็นปีนักษัตร “เถาะ” หรือปีกระต่ายทอง ในวัฒนธรรมจีนกระต่ายเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความมีอายุยืนยาว สันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้การออกแบบบรรจุภัณฑ์กล่องขนมไหว้พระจันทร์ปี นี้ เอส แอนด์ พี ได้หยิบยกเรื่องราวความเป็นมงคลของกระต่ายในความหมายของจีน มาประดับลงบนกล่องขนมไหว้พระจันทร์เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยสื่อสารผ่านเรื่องราวของคืนวันพระจันทร์เต็มดวงของกระต่ายสีทองและกระต่ายเพชร รวมไปถึงหญิงสาวชาวจีนที่เป็นตัวแทนแห่งเทพธิดาพระจันทร์ ที่จะคอยปกป้องให้อยู่เย็นเป็นสุข พร้อมลวดลายของดอกไม้ที่สวยงาม
โรงแรม เซี่ยงไฮ้ แมนชั่น กรุงเทพฯ เจ้าของสูตรขนมไหว้พระจันทร์แป้งสดเจ้าแรกในประเทศไทย ตามแบบฉบับความ เหนียวนุ่ม ไส้ชุ่มฉ่ำ รสชาติกลมกล่อม ที่นำมาเสิร์ฟถึง 4 ไส้ ทั้งทุเรียนสด คัสตาร์ดไข่เค็ม ชาเขียวองุ่นไซมัสแคท และคัสตาร์ดสตอเบอร์รี่ พร้อมวางจำหน่ายแล้ววันนี้ - 30 กันยายน 2566 สำหรับผู้ที่สนใจสามารถส่งซื้อได้ที่ 0-2221-2121
ขนมไหว้พระจันทร์ ของ โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ ปี 2566 นี้ ถูกรังสรรค์โดยการผสมผสานความเป็นไทยได้เป็นขนมไหว้พระจันทร์รสชาติใหม่ที่อร่อยอย่างลงตัว บรรจุในกล่องที่ถูกออกแบบโดยได้รับแรงบันดาลใจจากรูปทรงและความงดงามของพวงมาลัย สัญลักษณ์ของความโชคดี ความนอบน้อม และการให้เกียรติ รูปทรงกลมของกล่องขนมไหว้พระจันทร์ยังสื่อถึงความสมบูรณ์และการได้พบกันอีกครั้ง เรียบหรูในโทนสีฟ้าที่มีลวดลายสีทองสวยงามดุจดั่งเส้นขอบฟ้าระยิบระยับของกรุงเทพฯ ประดับด้วยอุบะดอกรักและดอกจำปีที่ปั้นจากดินอย่างประณีต แสดงถึงความหรูหรา ทันสมัยเข้ากับยุคสมัย นอกจากนี้ สูตรขนมไหว้พระจันทร์ยังถูกรังสรรค์โดยเลือกใช้เฉพาะวัตถุดิบสดใหม่คุณภาพเยี่ยม มี 4 รสชาติ ได้แก่ คัสตาร์ดทุเรียน คัสตาร์ดกาแฟ ถั่วแดงไข่เค็ม และ เม็ดบัวไข่เค็ม สั่งซื้อได้แล้ววันนี้ - 29 ก.ย.2566
ซีพีเอส คอฟฟี่ (C.P.S. COFFEE) ต้อนรับ เทศกาลไหว้พระจันทร์ ด้วยขนมไหว้พระจันทร์แป้งโมจิเนื้อเนียนนุ่มที่รังสรรค์ขึ้นมาพิเศษ 3 รสชาติ 3 สี ตามคอนเซ็ปต์ของร้าน คือ สีครีม สีส้ม และสีน้ำตาลเข้ม พร้อมสื่อความหมายอันเป็นมงคล ได้แก่ 1. ขนมไหว้พระจันทร์สีทอง ไส้ทุเรียนไข่เค็ม เป็นสัญลักษณ์ของความรักและความอุดมสมบูรณ์ 2. ขนมไหว้พระจันทร์สีส้ม ไส้เม็ดบัวไข่เค็ม แสดงถึงความบริสุทธิ์และความเจริญรุ่งเรือง และ 3. ขนมไหว้พระจันทร์สีน้ำตาล ไส้ถั่วไข่เค็ม สื่อถึงความสามัคคีและความกลมเกลียว โดยขนมไหว้พระจันทร์ทั้ง 3 รสชาติบรรจุในกล่องดีไซน์พรีเมียมโทนสีมงคลตามวัฒนธรรมจีน ใช้สีแดงที่เป็นตัวแทนของมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรือง และสีน้ำเงินเป็นตัวแทนของความมีสุขภาพที่แข็งแรง เหมาะแก่การมอบเป็นของขวัญในเทศกาลมงคล ตั้งแต่วันนี้ – 30 ก.ย. 2566 ที่แฟล็กชิปสโตร์ สุขุมวิท 53, ไอคอนสยาม, เทอร์มินอล 21 อโศก, เซ็นทรัล อีสต์วิลล์ ป็อปอัพ สยามพารากอน และ เซ็นทรัลภูเก็ต
โรงแรมบันยันทรี กรุงเทพฯ โดยปีนี้เชฟได้รังสรรค์ ขนมไหว้พระจันทร์ไส้ใหม่ที่แตกต่างคือ ช็อกโกแลตพีนัทบัตเตอร์ บรรจุในกล่องรูปกระต่ายสวยงาม รวมถึงมีไส้ยอดฮิตอย่าง ทุเรียน เม็ดบัว โหง่วยิ้ง พุทราผสมวอลนัท คัสตาร์ด และมอคค่าคาราเมล
โรงแรมดุสิตธานี ขนมไหว้พระจันทร์ที่รังสรรค์อย่างประณีต มาในคอลเลคชั่นสุดพิเศษ 6 รสชาติ ได้แก่ รสทุเรียนหอมหวาน ไส้ถั่วรวมเนื้อละเอียด พุทราจีนเปรี้ยวอมหวาน คัสตาร์ดเนื้อเนียนละมุน เม็ดบัวรสดั้งเดิม และรสวานิลลามผสานถั่วพิตาชิโอ้
โรงแรมพาร์ค ไฮแอท กรุงเทพฯ - สร้างสรรค์กล่องบรรจุภัณฑ์จากไม้คุณภาพสูง สั่งทำพิเศษ ด้านในฉลุด้วยตราสัญลักษณ์ของโรงแรม ควรค่าแก่การสะสมเป็นอย่างยิ่ง พร้อมเสิร์ฟขนมไหว้พระจันทร์ 6 ไส้ โดยทุกชิ้นถูกประทับด้วยลายดอกบัว อันหมายถึงความสมบูรณ์ บริสุทธิ์และสง่างาม
ภัตตาคารเชียงการีลา ตำนาน ขนมไหว้พระจันทร์ เจ้าดัง ที่มีจุดเด่นที่เนื้อขนมนุ่ม เปลือกบาง เนื้อแน่น และไส้เยอะ พร้อมส่งมอบความอร่อยของไส้ขนมที่หลากหลาย