ไลฟ์สไตล์

ย้อนรอย "สกาลา" โรงหนังที่ถูกถอนทิ้ง เหลือเพียงภาพความทรงจำ และชื่อให้จดจำ

ย้อนรอย "สกาลา" โรงหนังที่ถูกถอนทิ้ง เหลือเพียงภาพความทรงจำ และชื่อให้จดจำ

19 ธ.ค. 2565

51 ปี กับ "สกาลา" หนึ่งใน โรงภาพยนตร์ สแตนด์อโลน ที่เจอพิษ ความเปลี่ยนแปลง และ ยุคสมัย พรากสถานที่จนถูกรื้อถอน เหลือเพียงชื่อให้ได้กล่าวขานเล่าสู่กันฟัง

วินาทีจารึกความทรงจำ กับ ภาพยนตร์สารคดี เรื่อง "SCALA ที่ระลึกรอบสุดท้าย" กำกับโดย "แก๊ป อนันตา ฐิตานัตต์" และ "โต้ง อภิชน รัตนาภายน" เป็นโปรดิวเซอร์ ที่มาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวในฐานะลูกสาวของอดีตพนักงาน โรงภาพยนตร์ สกาลา เมื่อวันหนึ่งโรงภาพยนตร์ในตำนานต้องถูกรื้อถอนอย่างต่อหน้าตาหน้าภายใต้ความในใจที่ย้ำเตือนว่า ที่แห่งนี้เคยมี "โรงภาพยนตร์ สกาลา"

 

 

ย้อนรอย ไทม์ไลน์ จุดเริ่มต้น เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2509 "โรงภาพยนตร์ สกาลา" ได้เริ่มก่อสร้างขึ้น และถือว่า เป็นหนึ่งใน โรงภาพยนตร์โรงเดี่ยว หรือ สแตนด์อโลน ที่กำลังนิยมในยุคนั้น และก่อตั้งอยู่ในย่าน "สยามสแควร์" 

 

วันที่ 31 ธันวาคม 2512 "โรงภาพยนตร์ สกาลา" เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในฐานะโรงหนังเครือเอเพ็กซ์ ที่ก่อตั้งโดย "พิสิฐ ตันสัจจา" นักธุรกิจเจ้าของกิจการโรงภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง และเสนอภาพยนตร์เรื่อง "สองสิงห์ตะลุยศึก (The Undefeated)" เป็นเรื่องแรก

ขอบคุณภาพ SCALA จาก Pinterest

เวลาเปลี่ยน สังคัมเปลี่ยน พฤติกรรมของคนดูย่อมเปลี่ยนไปตาม ยุคสมัย และ การเกื้อหนุนของ นายทุน จนส่งผลต่อการบริโภค "โรงภาพยนตร์ สกาล่า"

 

ปี 2520 วงการภาพยนตร์ระดับโลก ขึ้นราคาการเก็บภาษี จากเมตรละ 2.20 บาท เป็น เมตรละ 30 บาท ทำให้บริษัทตัวแทนจัดจำหน่ายหนังจากฮอลลีวูดประท้วงโดยการงดส่งหนังเข้ามาฉายในประเทศไทย ธุรกิจโรงหนังจึงเริ่มซบเซาลง และมีธุรกิจวิดีโอเข้าแทนที่

 

ปี 2532 ผู้คนนิยมซื้อสินค้า และหาความบันเทิงในสถานที่เดียว ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า กลายเป็นสถานที่ยอดฮิต และจุดศูนย์กลาง ธุรกิจโรงหนังหันมาเปิดในที่ดังกล่าวแทน ช่วงเวลาเดียวกับที่ธุรกิจวิดีโอเริ่มหมดความนิยม โรงสแตนด์อะโลน อาทิ สกาลา เริ่มมีการปรับปรุงแบ่งโรงภาพยนตร์ออกเป็นโรงมินิเธียเตอร์เช่นกัน

ขอบคุณภาพ SCALA จาก Pinterest

 

ปี 2536 จุดเปลี่ยนของโรงหนังในเครือเอเพ็กซ์ รวมถึงจุดเปลี่ยนของ สกาลา ที่ได้รับผลกระทบหลังจากที่โรงหนังลิโดเกิดเหตุไฟไหม้ ได้ปิดปรับปรุงนานนับปี ก่อนจะเปิดทำการในช่วงปลายปี 2537 พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนพื้นที่ร้านค้าต่างๆ ให้มีมากขึ้นทั้งชั้นบนและล่าง

 

ปี 2540 ไทยเผชิญวิกฤตต้มยำกุ้ง ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึงสยามสแควร์ เริ่มจากทางสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการปรับราคาค่าเช่าขึ้น 1,200% จากค่าเช่าเซ้งเดิม 10 ปี ราคา 500,000 บาท ปรับขึ้นเป็น ราคา 6–7 ล้านบาท โรงหนังในย่านนั้น สกาล่า ลิโด และสยาม ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์  เปิดให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาเช่าพื้นที่จัดกิจกรรมทั้งอีเวนต์ คอนเสิร์ต ไปจนถึงละครเวที 

 

ปี 2545 - 2547 "โรงภาพยนตร์ สกาลา" เคยเป็นสถานที่จัดงานประกาศรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 12-14  รางวัลใหญ่ที่สุดแห่งวงการภาพยนตร์ไทยถึง 3 ปีซ้อน 

 

ปี 2555 "โรงภาพยนตร์ สกาลา" รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี 2555 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งตัวโรงภาพยนตร์ ออกแบบโดย พันเอก จิระ ศิลปะกนก การออกแบบ กลายเป็นชื่อ Scala ในภาษาอิตาลี แปลว่า บันได โดยตั้งตามชื่อโรงละคร Teatro alla Scala ที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลีนั่นเอง ความตั้งใจของผู้ให้กำเนิดโรงหนังสกาลานั้น คือ อยากให้เป็นโรงหนังที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก จุดสำคัญ คือ มีโคมไฟแชงกาเรียจากอิตาลี สร้างความอลังการ และเอกลักษณ์

ขอบคุณภาพ SCALA จาก Pinterest

วันที่ 3 - 5 กรกฎาคม 2563 จัดงาน LA SCALA  เปิดไฟห้องโถงทางเดินให้ครบทุกดวง เพื่อให้ผู้ที่สนใจไปเก็บบรรยากาศสกาล่าเป็นครั้งสุดท้าย

 

วันที่ 5 กรกฎาคม 2563 ครบกำหนด หมดสัญญาเช่ากับ สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ ใน และมีการจัดงาน Final Touch of Memory และเตรียมฉายหนัง ปิดม่าน นำภาพยนตร์อิตาเลียน เรื่อง Cinema Paradiso ผลงานของ จูเซปเป ทอร์นาทอเร เป็นรอบสุดท้ายในเวลา 18.00 น.  

ขอบคุณข้อมูล และภาพ จาก เพจ SCALA Documentary

ขอบคุณข้อมูล และภาพ จาก เพจ SCALA Documentary