'ตักบาตรน้ำผึ้ง' สงกรานต์พระประแดงวิถีมอญ วัดบางน้ำผึ้งนอก
เปิดภาพ 'ตักบาตรน้ำผึ้ง' สงกรานต์ 2566 ณ วัดบางน้ำผึ้งนอก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ประเพณีสำคัญของ ชาวไทยเชื้อสายมอญ
ประเพณี 'ตักบาตรน้ำผึ้ง' ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญของชาวไทยเชื้อสายมอญที่สืบทอดกันมาช้านาน ยังคงมีให้เห็นที่วัดบางน้ำผึ้งนอก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงวันสงกรานต์ 2566 หรือ สงกรานต์พระประแดง
ซึ่งที่นี่ชาวไทยเชื้อสายมอญได้ปฏิบัติต่อๆ กันมาเป็นประเพณีหนึ่งของชาวบ้านที่แสดงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
น้ำผึ้งทั้งหมดทาง วัดจะรวบรวมเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคชาวมอญเชื่อว่าการตักบาตรดังกล่าวมีอานิสงส์มาก
เพราะพระสงฆ์จะเก็บน้ำผึ้งไว้เพื่อใช้เป็นยาในคราวจำเป็นเมื่อเกิดอาพาธ เพราะน้ำผึ้งเป็นส่วนผสมที่สำคัญของยา
ดังนั้นชาวมอญจึงมีความเชื่อว่าการถวายน้ำผึ้งแด่พระสงฆ์จะได้อานิสงส์มากและจะเป็นผู้ที่อุดมไปด้วยลาภยศทั้งชาตินี้และชาตหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยเชื้อสายมอญ มีขึ้นในวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี
ลักษณะของการตักบาตรน้ำผึ้ง เหมือนกับการตักบาตรโดยการใส่ข้าวหรือว่าอาหารอื่นๆ เพียงแต่ว่าเปลี่ยนจากข้าว และอาหารชนิดอื่นเป็นน้ำผึ้งนั่นเอง
ประเพณีดังกล่าวนั้นได้สืบทอดกันมาช้านานซึ่งชาวมอญได้ปฏิบัติต่อๆ กันมาเป็นประเพณีหนึ่งของชาวบ้านที่แสดงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาทางวัดจะจัดเตรียมบาตรไว้บนศาลาการเปรียญสำหรับให้ชาวบ้านนำน้ำผึ้งรินลงในบาตรที่ใต้บาตรมีผ้าขนาดผ้าเช็ดหน้าวางอยู่ด้วย
น้ำผึ้งที่ชาวบ้านตักใส่บาตรไว้นั้น วัดจะรวบรวมเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคชาวมอญเชื่อว่าการตักบาตรดังกล่าวมีอานิสงส์มากเพราะพระสงฆ์จะเก็บน้ำผึ้งไว้เพื่อใช้เป็นยาในคราวจำเป็นเมื่อเกิดอาพาธ เพราะน้ำผึ้งเป็นส่วนผสมที่สำคัญของยา
ดังนั้นชาวมอญจึงมีความเชื่อว่าการถวายน้ำผึ้งแด่พระสงฆ์จะได้อานิสงส์มากและจะเป็นผู้ที่อุดมไปด้วยลาภยศทั้งชาตินี้และชาติหน้า
ภาพโดย ศุภกฤต คุ้มกัน Nation Photo