ทำไม ‘พิธา’ ถึงอยากให้ ‘กรุงเทพฯ’ เป็นเมือง Workation
‘กรุงเทพฯ’ เป็นเมือง Workation ในมุมของ ‘พิธา’ ว่าที่นายกรัฐมนตรี ยังมีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้เป็นอุปสรรค แม้ได้รับการจัดอันดับในเวทีโลก
ว่าทีรัฐบาลก้าวไกล ปักธงชัดเจนด้านการท่องเที่ยว ดูอย่างเมื่อครั้ง ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ห้วหน้าพรรคก้าวไกล ว่าที่นายกรัฐมนตรี ลงใต้ขอบคุณชาวภูเก็ตที่ไว้วาวงใจเลือก ว่าที่สส.ก้าวไกลยกทั้งจังหวัด 3 เขต
"นโยบายด้านการท่องเที่ยว ต้องเป็นการท่องเที่ยวที่กระจายไม่ใช่กระจุก ต้องไม่เน้นแค่ธรรมชาติอย่างเดียว เพราะคนที่ได้ประโยชน์ไม่กี่กลุ่ม แต่ถ้าขยายออกมาในหลายรูปแบบ เช่น เมดิคอลทัวริซึม สปอร์ตทัวริซึม หรือเกี่ยวกับอาหารจะกระจายออกไปทั่วทั้งเกาะภูเก็ต และในระยะสั้นจะต้องดึงนักท่องเที่ยวให้กลับมาเหมือนก่อนโควิดให้ได้"
‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ ว่าที่นายกรัฐมนตรี กล่าวในระหว่างการประชุมรับฟังข้อเสนอแนะและนโยบายจากภาคธุรกิจจังหวัดภูเก็ต กับภาคเอกชนในภูเก็ต ซึ่งประกอบด้วย หอการค้า สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว สภาอุตสาหกรรม บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และว่าที่ สส.ภูเก็ต ทั้ง 3 เขต ณ โรงแรมดิวาน่า พลาซ่า หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2566
ไม่เพียงเท่านั้น พิธา ยังเปิดมุมมองอุปสรรคปัญหาด้านการท่องเที่ยว อีกว่า "ตอนนี้การบริหาร Expat วีซ่าท่องเที่ยวอยู่ได้ 3 เดือนพอครบ 3 เดือนต้องออกนอกประเทศ แล้วกลับเข้ามาทำวีซ่าใหม่ กับอีกแบบหนึ่งสมัยพล.อ.ประยุทธ์ มีวีซ่าพำนัก หรือ LTR นักท่องเที่ยวอยู่ได้10 ปี แต่ยุคนี้นักท่องเที่ยวต้องการอยู่เพียง 2 ปี แล้วเดินทางไปท่องเที่ยวที่อื่น แต่ตอนนี้ไทยไม่มีกฏหมาย Workation Visa มารองรับนักท่องเที่ยวกลุ่ม Workation หรือ Digital Namad"
‘พิธา’ ยังวาดหวังจะให้ ‘กรุงเทพมหานคร’ เป็นเมือง Workation? อีกด้วย ส่วนจะเป็นไปได้หรือไม่ ต้องย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่การท่องเที่ยวประเทศไทย ก่อนโควิด-19 ยังสดใส
ธุรกิจท่องเที่ยวไทยก่อนโควิด-19
ปี 2562 รายได้จากภาคท่องเที่ยวของประเทศไทยสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 16 ของ GDP ของประเทศ มีมูลค่าคิดเป็นเม็ดเงิน 3 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้พบว่า เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างชาติมากถึง 2 ล้านล้านบาท สูงมากๆ แต่เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงเหลือไม่ถึง 6 แสนล้านบาทในปี 2564 ยังทิ้งห่างจากก่อนโควิดมากๆ
ไทยยังต้องพึ่งพาภาคท่องเที่ยว
ปี 2566 ถาม ว่าประเทศไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพารายได้จากภาคการท่องเที่ยวอีกต่อไปหรือไม่ คำตอบ แน่นอนจำเป็น แต่การจะหารายได้จากการท่องเที่ยวในรูปแบบเดิมๆ อาจจะไม่ตอบโจทย์วิถีชีวิตใหม่หลังโควิดมากนัก
ไทยยังต้องพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวสูง แต่จำเป็นต้องหาวิธีเพิ่ม หนึ่งในกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวไป ทำงานไปไปด้วย เป็นกลุ่มที่น่าสนใจ กลุ่มนี้เรียกว่า Workation
Workation คืออะไร
Workation หรือ Workcation คือรูปแบบการทำงานไปด้วย เที่ยวไปด้วย เป็นรูปแบบการทำงานที่เลือกได้ว่าจะทำงานจากที่ไหนก็ได้ ทำงานเมื่อไหร่ก็ได้ โดยมาจากคำว่า WORK (ทำงาน) + VACATION (ท่องเที่ยว)
แนวคิดการทำงานของกลุ่มนักท่องเที่ยวแบบ Workation หรือ Digital Namad ทำงานที่ไหนก็ได้ ตลอดการเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลก กำลังเป็นเทรนด์การท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้การท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลในอนาคต
กรุงเทพฯ เมือง Workation
เมื่อปี 2564 กรุงเทพมหานคร(กทม.)ถูกจัดเป็นเมือง Workation ของโลก แต่ปัญหาการจะเป็น Workation ได้ต้องดูความพร้อมว่าประเทศไทยมีกฏหมายอย่างวีซ่า(VISA) มารองรับหรือไม่
ปัจจุบัน มีวีซ่านักท่องเที่ยวอยู่ได้ 3 เดือน เมื่อหมดอายุครบ 3 เดือน นักท่องเที่ยวที่ยังต้องการท่องเที่ยวในประเทศไทย ต้องเดินทางออกนอกประเทศแล้วกลับเข้ามาทำววีซ่านักท่องเที่ยวใหม่ แต่ก็อยู่ได้เพียง 3 เดือน สร้างความยุ่งยากให้กับนักท่องเที่ยวไม่น้อย
และอีกตัววีซ่าพำนัก หรือ VISA LTR นักท่องเที่ยวอยู่ได้ 10 ปี แต่ยุคหลังโควิด19 นักท่องเที่ยวต้องการอยู่เพียง 2 ปี แล้วเดินทางไปท่องเที่ยวที่อื่น แต่ตอนนี้ประเทศไทย ไม่มีกฏหมาย Workation Visa มารองรับนักท่องเที่ยวกลุ่ม Workation หรือ Digital Namad
การเดินทางมาของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เรียกว่า Workation หรือ Digital Namad แน่นอนจะสร้างเม็ดเงินให้ภาคการท่องเที่ยวครอบคลุมธุรกิจการท่องเที่ยวทั้งหมด เป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล นั่นหมายถึง ลมหายใจของภาคการท่องเที่ยวจะกลับคืนมา
แต่จะเริ่มที่ ‘กรุงเทพฯ’ เป็นเมือง Workation? หรือ ภูเก็ต หรือ เชียงใหม่ คงต้องฝากความหวังเอาไว้กับ ‘พิธา’ ว่าที่นายกฯคนที่ 30 และเป็นคนปลุกฝันดึงนักท่องเที่ยว กลุ่ม Workation หรือ Digital Namad เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย นั่นเอง
ขอบคุณภาพประกอบ wikipedia