ไลฟ์สไตล์

ชม 'ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ' จ.เชียงใหม่ อุดหนุนสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจ

ชม 'ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ' จ.เชียงใหม่ อุดหนุนสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจ

05 พ.ย. 2566

วธ.จับมือ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดตัว 'ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ' สืบสานวัฒนธรรมไทย สัมผัสวิถี "กาดหมั้ว คัวเงิน คัวเขิน ชุมชนวัดศรีสุพรรณ ชุมชนวัดหมื่นสาร และชุมชนวัดนันทาราม" เผยแพร่ภูมิปัญญา soft power ส่งเสริมการท่องเที่ยว อุดหนุนของดีชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น

ในช่วงปลายปีนักท่องเที่ยวมักเลือกเดินทางท่องเที่ยวในแถบภาคเหนือของประเทศ เนื่องจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นกว่าภาคอื่นๆ และจังหวัดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจกันมาก คงต้องยกให้ "เชียงใหม่" โดยล่าสุด กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดพิธีเปิดตัวตลาดบก “ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ” หนึ่งในกิจกรรม 10 ตลาดบก 6 ตลาดน้ำ สืบสานวัฒนธรรมไทย ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมี โชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน ลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวรายงาน, วีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ดิเรก สิทธิการ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ผู้รังสรรค์อุโบสถเงิน วัดศรีสุพรรณ  ผู้บริหารวธ., ธวัชชัย อุบลพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมวัฒนธรรม 16 จังหวัดภาคเหนือ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ผู้นำชุมชนวัดศรีสุพรรณ ชุมชนวัดหมื่นสาร และชุมชนวัดนันทาราม (ย่านวัวลาย) ผู้ขับเคลื่อนตลาด นักท่องเที่ยวและประชาชน เข้าร่วมงานที่ผ่านมา ณ ตลาดวัฒนธรรมชุมชนวัดศรีสุพรรณ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

 

ชม \'ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ\' จ.เชียงใหม่ อุดหนุนสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจ

 

ชม \'ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ\' จ.เชียงใหม่ อุดหนุนสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจ

 

โชติกา อัครกิจโสภากุล

 

 

รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ประธานกล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม มีเป้าหมายและพันธกิจสำคัญในการเทิดทูน สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้มีการรักษาสืบทอด พัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งขับเคลื่อนงานศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม โดยปรับบทบาทสู่กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน จึงได้ดำเนินโครงการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ด้วยทุนทางวัฒนธรรม การส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชน สู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : การดำเนินงานพัฒนาตลาดบกสืบสานวัฒนธรรมไทย ด้วยการพัฒนาศักยภาพเส้นทางท่องเที่ยวตลาดบก สืบสานวัฒนธรรมไทย และจัดพิธีเปิดตัว 10 ตลาดบก 6 ตลาดน้ำ สืบสานวัฒนธรรมไทย ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม พร้อมสนับสนุนขยายช่องทางการตลาด ประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรับรู้ ในวงกว้าง ให้ตลาดชุมชนเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนสืบไป

 

ชม \'ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ\' จ.เชียงใหม่ อุดหนุนสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจ

 

ชม \'ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ\' จ.เชียงใหม่ อุดหนุนสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจ

 

 

วีรพงศ์ ฤทธิ์รอด

ด้าน วีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการฯ เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ “กาดหมั้ว คัวเงิน คัวเขิน ชุมชนวัดศรีสุพรรณ ชุมชนวัดหมื่นสาร และชุมชนวัดนันทาราม” (ย่านวัวลาย) หรือที่เรียกกันว่า “ถนนคนเดินวัวลาย” อยู่ในเขต ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2545 เป็นถนนทางเดิน ที่มีลักษณะเป็นตลาดนัดกลางคืน ทั้งสองข้างทางมีทั้งร้านขายเครื่องเงิน เครื่องเขิน อาหาร สินค้าพื้นเมือง และของฝากของที่ระลึก ตลอดแนวทางเดิน ตั้งแต่แยกประตูเชียงใหม่ จนถึงแยกประตูหายยา ถนนทิพย์เนตร เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ แขวงเม็งราย ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร และพื้นที่ปากทางจากถนนวัวลาย เข้าสู่วัดศรีสุพรรณ อุโบสถเงิน อีกประมาณ 500 เมตร โดยมีวัดศรีสุพรรณเป็นศูนย์กลางจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ บูรณาการทางศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นกับการท่องเที่ยววิถีชุมชนเครื่องเงิน เครื่องเขิน ย่านวัวลาย 

 

ชม \'ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ\' จ.เชียงใหม่ อุดหนุนสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจ

 

ชม \'ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ\' จ.เชียงใหม่ อุดหนุนสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจ

 

ชม \'ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ\' จ.เชียงใหม่ อุดหนุนสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจ

 

ตลาดชุมชนวัดศรีสุพรรณ เปิดให้บริการทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น. มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นความโชคดีของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ ตลาดวัฒนธรรมชุมชนวัดศรีสุพรรณ (ย่านวัวลาย) ได้รับเลือก เป็น 1 ใน 10 ตลาดบก สืบสานวัฒนธรรมไทย ประจำปีงบประมาณ 2566 ของกระทรวงวัฒนธรรม อันจะเป็นการต่อยอดด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ให้เกิดความคึกคัก ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก ทั้งยังเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย ปลูกฝังให้แก่เยาวชน ประชาชนได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมนำไปสู่การอนุรักษ์สืบสาน โดยการนำทุนทางวัฒนธรรมมาพัฒนาสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจท้องถิ่นเกิดความมั่นคง ยั่งยืนได้”