ข่าว

 เลี้ยง"หมูป่า"ในสวนปาล์ม 
ทางสู้วิกฤติ บัวไล แสนอุบล"

เลี้ยง"หมูป่า"ในสวนปาล์ม ทางสู้วิกฤติ บัวไล แสนอุบล"

14 พ.ค. 2552

จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้เกษตรกรพยายามดิ้นรนหาทางออกให้ชีวิต และการเพิ่มผลผลิตของพืชทางการเกษตร ด้วยการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติจริง จนเกิดผลเป็นรูปธรรม ดังเช่น บัวไล แสนอุบล อายุ 52 ปี พื้นเพเดิมเป็นคน จ.สกลนคร จ

  บัวไล แสนอุบล อายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 6/3 บ้านหมู่ 1 ต.คลองยา กล่าวว่า เมื่อปี 2527 มีพื้นที่ทำการเกษตรปลูกปาล์มน้ำมัน 60 ไร่ แบบหวานอมขมกลืน กับการเก็บเกี่ยวผลผลิตและราคาผลปาล์มที่ขึ้นๆ ลงๆ แต่ก็ไม่เคยทำให้หมดหวังหรือท้อแท้แต่อย่างใด กลับยิ่งทำให้มีกำลังใจเพิ่มมากขึ้น เพราะไม่ได้เป็นลูกจ้างใคร แต่เราทำของเราเอง

 "จากนั้นในปี 2537 ความคิดบางสิ่งบางอย่างก็เกิดขึ้น แต่กลับแปลกกว่าคนอื่นๆ ในหมู่บ้าน โดยการเข้าไปจับหมูป่ามาเลี้ยงในสวนปาล์ม และขยายพันธุ์ ให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้อยู่ในสวนปาล์ม เหมือนอยู่ในป่า ซึ่งหมูป่าชอบอยู่กันเป็นฝูงและชอบอยู่ในที่โล่ง ให้หาอาหารตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นผลปาล์มร่วง หญ้าต่างๆ ในสวนปาล์ม รวมทั้งการให้อาหารหมูตามปกติ"

 บัวไลยอมรับว่าหมูป่ายังช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติอยู่เสมอ ดินมีความสมบูรณ์ ทำให้ต้นปาล์มไม่ต้องใส่ปุ๋ย ประหยัดค่าใช้จ่ายจากปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น ซึ่งจากหมูป่ามาเลี้ยงไว้เพียงไม่กี่ตัว จนปัจจุบันเพิ่มจำนวนมากกว่า 60 ตัว และยังเป็นรายได้เสริมเป็นอย่างดีจากปาล์มน้ำมัน เนื่องจากการขายหมูป่าทั้งตัวกิโลกรัมละ 70 บาท เนื้อย่อยกิโลกรัมละ 200 บาท ทำรายได้เกือบ 1 แสนบาทต่อปี
ไม่เพียงเท่านั้น บัวไลยังนำน้ำเสียงจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ผ่านการบำบัดแล้ว เข้ามาใช้ในสวนปาล์มโดยการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ในสวนปาล์ม ซึ่งทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี พ.ศ.2549 มีการสร้างโรงงานสกัดผลปาล์มมาตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง หลังจากมีการถ่ายเทน้ำเสียออกมาเป็นจำนวนมากจากโรงงาน จึงเก็บส่งตัวอย่างน้ำให้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่ไปตรวจสอบ ปรากฏว่าผลของน้ำที่ออกมาไม่มีความเสี่ยงต่อต้นปาล์ม เนื่องจากเป็นน้ำเสียที่โรงงานผ่านการบำบัดแล้ว หลังสูบน้ำเสียเข้าไปยังสวนปาล์มทำให้เกิดการผสมผสานกับมูลหมูป่า ที่เลี้ยงตามธรรมชาติบวกปุ๋ยเคมีเล็กน้อย ทำผลผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี 10 ตันต่อไร่

 ปัจจุบันบนเนื้อที่ 60 ไร่ ของสวนปาล์มบัวไล เป็นต้นแบบให้ครอบครัวและชุมชนในตำบลคลองยาและในพื้นที่ จ.กระบี่ และใกล้เคียง ในการศึกษาข้อมูลแบบเศรษฐกิจพอเพียง จนปี 2551 ตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต.คลองยา ด้านการเลี้ยงหมูป่าและการใช้น้ำเสียจากโรงงาน แทนการใช้ปุ๋ยในสวนปาล์มน้ำมัน จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.อ่าวลึก จ.กระบี่


"สิทธิชัย สิขวัตร"