ข่าว

สุขภาพดีอยู่ที่ลำไส้

ไลฟ์สไตล์ : สุขภาพดีอยู่ที่ลำไส้

 

                         ยุคสมัยของการเร่งรีบ การแข่งขันทำงานในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และหลายคนเกิดความเครียดลึกๆ โดยไม่รู้ตัว นำมาซึ่งอาการป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดอาการไม่สดชื่น ปวดท้อง ท้องอืด ขับถ่ายไม่ปกติ เมื่อไปพบแพทย์ก็ไม่สามารถระบุได้ว่ามาจากสาเหตุอะไร

                         ร.ต.ต.นพ.อัญวุฒิ ช่วยวงษ์ญาติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ บาลานซ์ บาย ไฮโดรเฮลท์ คลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัยแบบองค์รวม กล่าวว่า คนเราจะสุขภาพดีหรือไม่ดี ดูได้จากลำไส้ สังเกตได้จากว่า ท้องอืดไหม ถ่ายสะดวกไหม เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของระบบย่อยอาหารทั้งหมด ถ้าลำไส้ดี สุขภาพด็จะดีตามไปด้วย โดยลำไส้เล็กมีความสำคัญมากที่สุดแต่คนส่วนใหญ่กลับละเลยใส่ใจในการดูแล ลำไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์เข้าสู่ร่างกายโดยตรง หากรับประทานอาหารที่มีสารปนเปื้อนหรือมีสารพิษตกค้าง ทำให้ลำไส้เกิดการอักเสบ สารพิษซึมผ่านผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย

                         "วิธีการดูแลลำไส้เล็กให้มีสุขภาพดี ควรรับประทานอาหารที่ไม่มีสารพิษปนเปื้อน ถูกสุขลักษณะ ไม่รับประทานอาหารซ้ำซาก และรับประทานแบคทีเรียชนิดดีที่มีประโยชน์ ซึ่งอยู่ในโยเกิร์ตและนมเปรี้ยว เพื่อเสริมการช่วยย่อยให้มีประสิทธิภาพให้ดีขึ้น หลังจากอาหารผ่านลำไส้เล็กมาแล้วจะเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ หากลำไส้ใหญ่ทำงานดีจะส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีตามไปด้วย แต่การขับถ่ายในชีวิตประจำวันไม่สามารถกำจัดของเสียและสารพิษออกมาได้ทั้งหมด ยังคงมีตกค้างในลำไส้ส่วนลึก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก  ริดสีดวงทวาร และมะเร็งในลำไส้ได้" คุณหมอให้ความรู้

                         พร้อมกันนี้ยังกล่าวต่อด้วยว่า ในส่วนของการดูแลลำไส้ใหญ่ให้มีสุขภาพดี การสวนล้างลำไส้เป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม ซึ่งจะช่วยล้างของเสียและสารพิษที่สะสมมาเป็นเวลานาน การไม่ล้างลำไส้ก็เปรียบเสมือนการกินข้าว แล้วไม่ล้างจานมื้อ ต่อไปก็ใช้จานใบเก่ามาใส่ข้าวกินใหม่นั่นเอง และเมื่อลำไส้อยู่ในสภาวะที่สะอาดสมดุล แบคทีเรีย การดื่มน้ำสะอาดให้เพียงต่อในแต่ละวันเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ควรดื่มน้ำตามน้ำหนักตัว โดย 20 กก.แรกควรดื่มให้ได้ 1,500 ซีซี และอีกแต่ละ 1 กก. ควรดื่มเพิ่มอีก 20 ซีซี เพราะฉะนั้นผู้ที่มีน้ำหนัก 60 กก. ควรดื่มน้ำสะอาดต่อวันเท่ากับ 2,300 ซีซี หรือ 2.3 ลิตร เพราะหากดื่มน้ำน้อยจะส่งผลทำให้การดูดซึมน้ำในลำไส้ใหญ่มีปัญหา เกิดภาวะอุจจาระแข็งตัว ขับถ่ายไม่สะดวก และเกิดอาการท้องงผูกได้

 

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ