
ย้อนรอยคดี 'เชอรี่แอน ดันแคน' ตราบาปตำรวจไทย
20 ก.ค. 2557
ย้อนรอยคดี 'เชอรี่แอน ดันแคน' ตราบาปตำรวจไทย
�
� � � � � � � � � � � � เมื่อ 25 กรกฎาคม 2529 หรือ 28 ปีที่แล้ว มีผู้พบศพ น.ส.เชอรี่แอน ดันแคน สาวลูกครึ่งอังกฤษ วัย 16 ปี ในป่าแสมบางสำราญ กม.42 ถ.สุขุมวิท(สายเก่า) ต.ปางปูใหม่ จ.สมุทรปราการ ถูกฆาตกรรมอย่างเลือดเย็น จากการถูกบีบคอเสียชีวิต
�
� � � � � � � � � � � � คดีนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งประเทศ ตำรวจได้รับความกดดันจากสื่อทุกแขนง เนื่องจากหาหลักฐานไม่ได้ ทำให้ตำรวจต้องการที่จะปิดคดีนี้
�
� � � � � � � � � � � � หาแพะรับบาป
�
� � � � � � � � � � � � รวดเร็วทันใจราวกับปาฏิหาริย์ เวลาผ่านไปไม่ถึง 1 เดือน วันที่ 21 สิงหาคม 2529 ตำรวจจับผู้ต้องหาได้และแถลงข่าวการจับกุมอย่างครึกโครม โดยมีผู้ต้องหา 5 ราย คือ 1.นายวินัย ชัยพานิช 2.นายรุ่งเฉลิม กนกชวาลชัย 3.นายพิทักษ์ ค้าขาย 4.นายกระแสร์ พลอยกลุ่ม และ 5.นายธวัช กิจประยูร และมีการนำตัวผู้ต้องหาพร้อมธูปเทียนไปขอขมาญาติผู้เสียหายประกอบคำรับสารภาพ
�
� � � � � � � � � � � � ทั้ง 5 คน 5 ชีวิต ถูกตราหน้าจากสังคมว่าเป็นฆาตกร และรุมสาปแช่งพวกเขาและเรียกร้องให้เอาตัวไปประหารชีวิตให้ตายตกตามกัน�
�
� � � � � � � � � � � � ขณะเดียวกันตำรวจไทยก็ได้รับการสรรเสริญว่า....สุดยอดฝีมือ
�
� � � � � � � � � � � � สำหรับนายวินัย ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บงการ ได้รับการปล่อยตัว เพราะว่าอัยการไม่ฟ้อง เนื่องจากสำนวนที่ตำรวจส่งมาให้อ่อนเกินไป ส่วนจำเลยอีก 4 คนถูกศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิต จำเลยทั้งสี่ได้ยื่นอุทธรณ์ ต่อมา 21 มกราคม 2535 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสี่คน แต่ให้ขังไว้ระหว่างฎีกา ทว่าก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษา นายรุ่งเฉลิมก็เสียชีวิตภายในคุกเสียแล้ว เพราะความเครียดที่ถูกจองจำ�
�
� � � � � � � � � � � � ต่อมาภายหลังการต่อสู้ในศาลฎีกา วันที่ 8 มีนาคม 2536 ศาลฎีกายกฟ้องจำเลยทั้งหมด แต่ความทรมานจากการถูกจำคุกยาวนานกว่า 6 ปี ส่งผลให้นายพิทักษ์ติดเชื้อวัณโรค และเสียชีวิตลง 5 เดือนหลังจากพ้นคุกออกมา ส่วนนายธวัชเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตามหลังนายพิทักษ์ไม่นาน มีเพียงนายกระแสร์เพียงคนเดียวที่มีชีวิตรอด แต่ในระหว่างที่นายกระแสร์ถูกจำคุกก็ถูกซ้อมจนกระดูกสันหลังร้าว ทำให้เดินไม่ค่อยได้เหมือนตายทั้งเป็น และภรรยาเขาก็เครียดจนเสียชีวิต ลูกสาวถูกฆ่าข่มขืน ส่วนลูกชายหายสาบสูญ�
�
� � � � � � � � � � � � และต่อมาเวลาผ่านไป 9 ปี นับจากเกิดเหตุฆาตกรรม ในปี 2538 กองปราบฯ ได้รื้อคดีนี้ออกมาสืบหาความจริงใหม่ทั้งหมด และนำไปสู่การจับกุมกลุ่มฆาตกรตัวจริงในเวลาต่อมา
�
� � � � � � � � � � � � "คดีเชอรี่แอน" จึงมักถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงอยู่เสมอ เพื่อชี้ให้เห็นถึงกระบวนการยุติธรรมไทยที่บกพร่อง
�
� � � � � � � � � � � � แต่ทุกวันนี้ การ "จับแพะ" ก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่..มิได้หายไป !!
�
�
�
�
�
�