ข่าว

ย้อนรอยถล่มปารีส..เทียบโศกนาฏกรรม”นีซ”

ย้อนรอยถล่มปารีส..เทียบโศกนาฏกรรม”นีซ”

15 ก.ค. 2559

แทบไม่น่าเชื่อว่า ผ่านไปเพียงไม่ถึงปี ได้เกิดเหตุก่อการร้ายขึ้นในประเทศฝรั่งเศสซ้ำอีก โดยเมื่อคืนวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2558

ได้เกิดเหตุคนร้ายใช้ระเบิดฆ่าตัวตาย และกราดยิงเข้าใส่ฝูงชน กลางกรุงปารีส คร่าชีวิตผู้คนไปมาถึง 128 คน หลังเหตุการณ์ได้มีผู้เชี่ยวช่ญวิเคราะห์ต้นสายปลายเหตุเอาไว้อย่างหลากหลาย ลองย้อนกลับไปดูกันอีกครั้งว่าจะสามารถเทียบเคียงกับเหตุร้ายครั้งล่าสุดนี้ได้หรือไม่

ดร.ศราวุฒิ อารีย์ รองผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองแนวโน้มความเป็นไปได้ที่อาจเป็นชนวนเหตุของการโจมตีกลางกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ว่ามีได้ 3 แนวทางด้วยกันว่า กลุ่มติดอาวุธมุสลิมเป็นผู้กระทำ ซึ่งมีความ เพราะที่ผ่านมาหลังเหตุการณ์ 911 มีการโจมตีในยุโรปบ่อยครั้ง เช่น การโจมตีรถไฟในประเทศสเปน (ปี 2547) รถไฟใต้ดินในอังกฤษ (ปี 2548) หรือเมื่อต้นปี 2558 ก็เพิ่งเกิดเหตุการณ์กราดยิงที่สำนักงานนิตยสาร ชาร์ลี เอบโด เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นกลุ่มติดอาวุธมุสลิม และเป็น “โฮมโกรว์น” คือ อาหรับมุสลิมที่เติบโตในยุโรป แต่ปฏิเสธรัฐบาลหรือนโยบายของประเทศตน

ย้อนรอยถล่มปารีส..เทียบโศกนาฏกรรม”นีซ”

ขณะที่ความเกี่ยวโยงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสงครามในซีเรียและอิรักที่กำเนิดกลุ่มไอเอส หรือกลุ่มรัฐอิสลาม ขึ้นมา สมาชิกของไอเอส ที่เป็นชาวต่างชาติส่วนใหญ่ก็มาจากยุโรป

สิ่งที่เกิดขึ้นกับไอเอส ก็เหมือนสงครามในอัฟกานิสถานก่อนเขาสู่ยุคสงครามเย็น โดยคนที่ร่วมรบในอัฟกานิสถานมาจากประเทศต่างๆ เมื่อพวกเขากลับไป ก็ไปต่อต้านรัฐบาลหรือก่อเหตุรุนแรงในประเทศของตัวเอง ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับซีเรียในปัจจุบัน มีคนต่างชาติไปร่วมรบกับไอเอส คนกลุ่มนี้เมื่อกลับบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง ก็ถือว่ามีอันตราย และมีแนวโน้มก่อเหตุใช้ความรุนแรงในประเทศของตนเพื่อต่อต้านรัฐบาลของตน

ย้อนรอยถล่มปารีส..เทียบโศกนาฏกรรม”นีซ”

ระยะหลังฝรั่งเศสเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองในตะวันออกกลางสูงมาก หลังอาหรับสปริง ฝรั่งเศสเป็นแกนนำในการถล่มลิเบีย เปลี่ยนแปลงการปกครองในลิเบีย

และล่าสุดยังเป็นพันธมิตรกับสหรัฐในปฏิบัติการถล่มไอเอส เหล่านี้อาจเป็นแรงจูงใจที่นำไปสู่เหตุการณ์โจมตีกลางกรุงปารีสได้ทั้งสิ้น

สาม กระแสเติบโตของพวกชาตินิยมขวาจัดในยุโรปเอง ต้องไม่ลืมว่าหลายเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น เช่น กราดยิง เป็นการกระทำของพวกขวาจัดเพื่อต่อต้านรัฐบาลของตัวเอง ฝ่ายขวาจัดเหล่านี้มีแนวคิดต่อต้านมุสลิมด้วย

สถานการณ์การอพยพจากของคนมุสลิมจากตะวันออกลางและแอฟริกาเข้าไปยุโรป ตลอดจนกระแสการเติบโตของคนอิสลามในยุโรปเอง ล้วนสร้างความไม่พอใจให้กับพวกขวาจัด จึงไม่สามารถตัดประเด็นพวกนี้ทิ้งไปได้

อย่างไรก็ดี กรณีที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ไม่เหมือนกับไทย เพราะฝรั่งเศสมีผู้อพยพมุสลิมจำนวนมากตั้งแต่ในอดีต และฝรั่งเศสก็เป็นเจ้าอาณานิคมในตะวันออกกลาง มีการนำคนมุสลิมไปเป็นแรงงานมานานแล้ว เมื่อคนในเจนเนอรชั่นหลังๆ ที่เป็นมุสลิมเชื้อสายตะวันออกลางหรือแอฟริกาเติบโตขึ้นมา (โฮมโกรว์น) แล้วพวกเขาถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ได้เสรีภาพอย่างเต็มที่ สภาพเศรษฐกิจสังคมก็ไม่ดี ก็เป็นแรงจูงใจให้ก่อเหตุรุนแรงขึ้นมาได้

“คนเหล่านี้มีลักษณะต่อต้านรัฐค่อนข้างสูง ซึ่งสภาพที่เกิดในฝรั่งเศสไม่เหมือนไทย เพราะไม่มีปัญหาแบบนี้” ดร.ศราวุฒิ ระบุ

ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไปว่า เหตุการณ์ล่าสุดนี้ จะมีความเหมือนหรือต่างจากเมื่อคืนสยองโลก ศุกร์ 13 พฤศจิกายน ปีก่อนอย่างไร

โดยเฉพาะเมื่อรูปแบบการการก่อการร้ายได้เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพื่อให้ยากกับการรับมือ อย่างเช่นการโจม ตีด้วยรถบรรทุกพุ่งใส่ฝูงชน ซึ่งหน่วยงานด้านความปลอดภัย ไม่อาจจะวิเคราะห์คาดการณ์ได้ล่วงหน้า