ศัตรูพืชรุมกินโต๊ะ "แตงโม"!!
กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรปลูกแตงโม ระวังโรคเถาเหี่ยว โรคราน้ำค้าง และแมลงเต่าแดง เข้าทำลายผลผลิต พร้อมแนะวิธีป้องกัน
ช่วงนี้ฝนตกชุก อากาศจะชื้น เกษตรกรที่ปลูก "แตงโม" อยู่ในช่วงกำลังออกดอกให้ระวัง 1.โรคเถาเหี่ยว อันเกิดจากเชื้อรา ที่จะแสดงอาการใบเหลืองระยะแรก แตงโมจะแสดงอาการใบเหลือง โดยเริ่มที่ใบล่างขยับขึ้นจนเหลืองทั้งต้น ทำให้ต้นเหี่ยวเฉาตายในที่สุด
แนวทางป้องกัน 1) ก่อนปลูกควรตรวจสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หากพบเป็นกรดจัด ให้ปรับสภาพดินด้วยปูนขาว 100-150 กก./ไร่ 2) เมื่อจําเป็นต้องปลูกแตงโมซ้ําพื้นที่เดิมควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากหลังใส่ปูนขาว จะช่วยทำให้โรคนี้ลดน้อยลง หรือปลูกพืชตระกูลถั่วแซม แต่ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมเกินกว่า 3 ปี 3) เมื่อพบแตงเป็นโรคถอนต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก แล้วราดด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อราควินโตซีน 24% อีซีอัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตร โดยราดตรงที่พบโรคและบริเวณใกล้เคียง
2.โรคราน้ำค้าง - ด้านบนของใบจะปรากฏแผลด้านบนของใบปรากฏแผลเหลี่ยมเล็กๆ สีเหลือง ก่อนจะเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ และบริเวณใต้ใบจะพบเชื้อราเป็นขุยสีเทาดำ จะระบาดอย่างรวดเร็วและทำให้แตงโมยืนต้นตาย หรือหากอยู่ในช่วงติดผลก็จะติดผลน้อย ความหวานจะลดลง
การป้องกัน 1) เมื่อพบการระบาด ควรพ่นด้วยสารป้องกันกําจัดโรคพืช เช่น แมนโคเซบ +เมทาแลกซิล-เอ็ม 64% + 4% ดับเบิ้ลยูจี อัตราส่วน 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 2) แปลงที่พบการระบาด ควรนำไปเผาทำลายนอกแปลง และไม่ปลูกพืขตระกูลแตงซ้ำ ควรปลูกพืชอื่นหมุนเวียน 3) ปลูกครั้งต่อไปคสรใช้เมล็ด พันธุ์ที่มีคุณภาพดี 4) ไม่ปลูกหนาแน่นเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสูง
3.แมลงเต่าแดง - จะพบในแตงที่เริ่มงอก ยังมีใบน้อย โดยมันจะเข้ากัดกินแทะใบ หากระบาดรุนแรงจะทำให้ยอดชงักการเจริญเติบโต
การป้องกัน 1) ทำได้โดยจับทำลายด้วยมือในเวลาเช้าแดดไม่จัด 2) หลังเก็บเกี่ยว ควรถอนทำลายต้นแตงทิ้ง และ 3) ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกําจัด เช่น อิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ํา 20 ลิตร
ที่มา :กรมวิชาการเกษตร