ข่าว

ไปสกลฯชมโรงงานหลวงฯเต่างอย ธุรกิจเพื่อสังคมของ"ดอยคำ"

ไปสกลฯชมโรงงานหลวงฯเต่างอย ธุรกิจเพื่อสังคมของ"ดอยคำ"

21 ส.ค. 2559

โดย - ดลมนัส กาเจ

 

ไปสกลฯชมโรงงานหลวงฯเต่างอย ธุรกิจเพื่อสังคมของ\"ดอยคำ\"

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย)

          โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) ของบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ที่ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมที่บ้านนางอย ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ถือเป็นหนึ่งในโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ พาไปเยี่ยมชมช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา เนื่องจากโรงงานหลวงแห่งนี้เสมือนหนึ่งชุบชีวิตเกษตรกรให้มีรายได้เสริมหลังจากการทำนา ซึ่งนอกจากจะรับซื้อผลิตผลทางการเกษตรจากเกษตรในพื้นที่ จ.สกลนคร และจังหวัดใกล้เคียงในรัศมี 150 กิโลเมตรแล้ว ยังส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชทนแล้งหลังทำนาอีกด้วย

          จำลอง ยอดสุรินทร์ ผู้จัดการโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) เล่าในช่วงบรรยายสรุปว่า โรงงานแห่งงนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 21 ไร่ เป็นพื้นที่สร้างโรงงาน 15 ไร่ ที่เหลือเป็นสำนักงาน ตึกอำนวนหารและแปลงเพาะพันธุ์พืชที่ส่งเสริม ที่ตั้งของโรงงานห่างจากตัวจังหวัดสกลนครประมาณ 25 กิโลเมตร) เริ่มก่อตั้งเมื่อ 2525 ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพัฒนาอาชีพ และเสริมรายได้ของราษฎรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนให้ยั่งยืนด้วยการปลูกมะเขือเทศ และส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตมะเขือเทศ ในเขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูล และพืชอื่นๆที่ส่งเสริมกว่า 2.3 หมื่นไร่

 

ไปสกลฯชมโรงงานหลวงฯเต่างอย ธุรกิจเพื่อสังคมของ\"ดอยคำ\"

 

          เดิมที จำลอง บอกว่า เดิมจะแปรรูปเขือเทศทำเป็นน้ำเข้มข้น และแปรรูปผลไม้ทางการเกษตรชนิดอื่นๆ พอถึงปี 2555 ได้มีการปรับปรุงให้มีความทันสมัยอย่างตัวตึกอำนวยการเน้นสถาปัตยกรรมแบบอีสาน ในส่วนของโรงงานนำระบบการดำเนินการให้มีความทันสมัย เครื่องจักรนำเข้าจากประเทศอิตาลี มีกำลังผลิต 205 ตันต่อเดือน พร้อมกันนั้นได้ส่งเสริมพืชพันธุ์ทางการเกษตรแก่เกษตร 4 ชนิด คือ มะเขือเทศ ,กระเจี๊ยบแดง ,มัลเบอร์รี่ หรือ หม่อนรับประทานผลสด และเสารส ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานไว้เพื่อให้ราษฎรพลิกฟื้นชีวิตความเป็นอยู่อันแร้นแค้น ให้กลับมาพออยู่พอกิน โดยทางโรงงานจะรับซื้อผลผลิตเหล่านี้จากเกษตรกรเพื่อมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มและผลไม้อบแห้งในราคาที่ประกัน รวมถึงรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากเกษตรกรสมาชิกของโครงการฯ เช่น มะม่วง ,กระท้อน และผลไม้ชนิดอื่นๆ เพื่อนำมาแปรรูปอีกด้วย

         “สมัยก่อน ในตำบลโนนดินแดงเป็นสถานที่ ที่คนไทยอาศัยอยู่บริเวณชายแดน ไทย-กัมพูชา อพยพไปอยู่กันมากเนื่องจากผลของสงคราม มีสภาพเป็นอยู่ที่แร้นแค้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือราษฎร ด้วยส่งเสริมปลูกพืช และให้มีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปเพื่อรับซื้อผลผลิตในปี 2525 ได้แก่ มะเขือเทศ ข้าวโพดฝักอ่อนในราคาประกัน ในพื้นที่หลายจังหวัด อาทิ สกลนคร ,นครพนม ,กาฬสินธุ์ ,มุกดาหาร ,บึงกาฬ โดยมีเกษตรกรสมาชิกผู้ปลูกมะเขือเทศที่เข้าร่วมโครงกว่า 2,000ราย เรากำหนดเป้าหมายผลิตวัตถุดิบ 2 หมื่นต่อปี เพื่อสร้างอาชีพเกษตรกรให้มีรายได้อย่างมั่นคงหลังจากทำนา ทำให้เกิดแหล่งสร้างงานให้แก่คนในชุมชนอย่างยั่งยืน” จำลอง กล่าว

 

ไปสกลฯชมโรงงานหลวงฯเต่างอย ธุรกิจเพื่อสังคมของ\"ดอยคำ\"

 

         หลังจากที่ฟังบรรยายสรุปแล้ว โชติรส สุภิญโญ หัวหน้าแผนกการผลิต พาไปชมขบวนการผลิตในส่วนต่างๆเริ่มแผนกคัดเลือกผลผลิต และจุดที่ล้างทำความสะอาด จุดแช่น้ำเชื่อม การผลิตนำมะเขือเทศเทศเป็นต้น

        “หลักๆที่นี่จะเน้นการปรรูปทำน้ำมะเขือเทศเป็นอันดับแรก โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมะเขือเทศครอบครัวละไม่เกิน 3 ไร่ เป็นมะเขือเทศสายพันธุ์โปตอง และจัสเตอร์ เกษตรกรจะปลูกช่วงเดือนธันวาคม จนถึงเดือนเมษายน ของทุกปี ปลูก 45 วันสามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว มะเขื่อสายพันธุ์นี้จะให้ผลผลิตไร่ละ 7-15 ตัน ขึ้นกับการดูแล ปัจจุบันเราประกันราคาที่ กก.ละ 2.70 บาท แต่ราคาซื้อจริงที่ซื้อในปัจจุบันกว่า 3 บาท ขึ้นกลไกรของตลาดด้วย แต่จะไม่ต่ำกว่า กก.ละ 2.70 บาท หากเกษตรกรปลูกไร่ไร่ละ 12 ตัน ก็จะมีรายได้ไร่ละกว่า 3 หมื่นบาท” โชติรส กล่าว

 

ไปสกลฯชมโรงงานหลวงฯเต่างอย ธุรกิจเพื่อสังคมของ\"ดอยคำ\"

 

          สำหรับที่มาโรงของแห่งนี้ มาจากเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรของพระองค์ และทอดพระเนตรเห็นความแร้นแค้น การขาดแคลนอาหารและน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค โดยพื้นที่ดังกล่าวรัฐบาลในสมัยนั้นประกาศให้เป็นพื้นที่สีแดง ที่เป็นเขตอิธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จึงมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือราษฎร โดยจัดตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปแห่งที่ 3 ขึ้นที่ตำบลเต่างอย พร้อมส่งเสริมให้ปลูกมะเขือเทศ นับแต่นั้นเป็นต้นมา โรงงานหลวงแห่งนี้ จึงเริ่มผลิตน้ำมะเขือเทศเข้มข้นเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดแรก

          ปัจจุบันมีเกษตรกรในตำบลเต่างอยกว่า 500 ครัวเรือน เป็นสมาชิก นอกจากนี้ยังมีสมาชิกในจังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกมะเขือเทศพันธุ์ดี ส่งให้กับโรงงานหลวงฯแห่งนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมเกษตรกรคอยให้คำปรึกษา และช่วยแก้ปัญหา เพื่อควบคุมผลผลิตให้ได้ในปริมาณและคุณภาพตามมาตรฐาน ปัจจุบันโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) เป็นโรงงาน ที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์โรงงานอาหารสะอาด ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และมาตรฐานอื่นระดับสากล อาทิ HACCP , ISO 1400 , GMP และ HALALด้วย

 

ไปสกลฯชมโรงงานหลวงฯเต่างอย ธุรกิจเพื่อสังคมของ\"ดอยคำ\"

 

          เนื่องจากมีระบบบริหารจัดการเป็นมืออาชีพอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นธรรมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ,ระบบจัดการสิ่งแวดล้อม และบำบัดน้ำเสียตามมาตรฐาน โดยให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนน้อยที่สุด อีกทั้งยังเป็นผู้กำหนดราคากลางในการรับซื้อผลผลิตการเกษตรอย่างเป็นธรรม เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกษตรกรถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง และ มีความรับผิดชอบต่อสังคมแบบรอบด้าน

          ทั้งหมดเป้นข้อมูลงบางส่วนจากที่เราได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานหลวงเต่างอยแห่งนี้