“สิงโตขาว”เจ้าแห่งสัตว์ป่า จากแอฟริกาสู่สวนสัตว์ไทย
โดย - เม่นแคระ
ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการไปแล้วสำหรับสิงโตขาว “เจ้าแห่งสัตว์ป่า”จำนวน 3 ตัวของสวนสัตว์สงขลา ทีี่ย้ายมาจากสวนสัตว์อุบลราชธานี มีชื่อว่า“บัวขาว บัวงาม บัวบาน”เป็นสิงโตขาวสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งทางสวนสัตว์เปิดเขาเขียวได้รับมอบมาจากประเทศแอฟริกาใต้ เป็นของขวัญปีใหม่เมื่อปลายปี 2555 จำนวน 2 ตัวเป็นเพศเมีย 1 ตัวและเพศผู้ 1 ตัว ก่อนจะออกลูกออกหลานกระจายไปตามสวนสัตว์ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
สิงโตขาว มีชื่อสามัญ White Lion ชื่อวิทยาศาสตร์ Panthera leo เป็นลักษณะพิเศษทางภาวะพันธุกรรม ที่เรียกว่าภาวะด่าง ซึ่งเป็นสาเหตุให้สีซีดลง เป็นภาวะที่พบในเสือโคร่งขาวเช่นเดียวกัน ภาวะนี้คล้ายกับภาวะการมีเม็ดสีมากเกินไปไม่ใช่ภาวะเผือก ยังมีเม็ดสีปกติในตาและหนัง บางครั้งสามารถพบสิงโตขาวทรานเวล ในบริเวณอุทยานแห่งชาติครูเกอร์และเขตสงวนส่วนบุคคล ทิมบาวาติ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงในทางตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกา
โดยทั่วไปแล้วขนของสิงโตจะมีสีครีม ซึ่งเกิดจากยีนด้อยพฤติกรรมและใช้เวลาส่วนมากไปกับการพักผ่อนประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน แต่โดยทั่วไปแล้วมันจะกระตือรือร้นมากที่สุดตอนพลบค่ำกับช่วงเข้าสังคม แต่งขน และขับถ่าย เมื่อต้องล่าเหยื่อสิงโตจะกระตือรือร้นเป็นพักๆ ไปตลอดทั้งคืนจวบจนกระทั่งรุ่งเช้า โดยเฉลี่ยแล้ว สิงโตจะใช้เวลาเดิน 2 ชั่วโมงและกิน 50นาทีต่อวัน การรวมฝูง สิงโตเป็นสัตว์จำพวกแมว ที่อยู่เป็นสังคมมากกว่าแมวป่าชนิดอื่นๆ ที่มักอยู่อย่างโดดเดี่ยว
สิงโตเป็นสัตว์นักล่าที่มีสังคมสองรูปแบบรูปแบบแรกเป็นการรวมตัวกันที่เรียกว่า"ฝูงปกติฝูงหนึ่งจะประกอบไปด้วยสิงโตตัวเมีย 5-6 ตัว สังคมแบบที่สองเรียกว่า"พวกเร่ร่อน มีขอบเขตการหากินกว้างและย้ายถิ่นฐานเป็นระยะๆ อาจเป็นสิงโตโทนหรือคู่สิงโต การล่าและอาหาร สิงโตกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มันกินสัตว์ได้แทบทุกชนิด เช่น กระต่าย ไก่ป่า จระเข้ ลิง เม่น กวาง ม้าลาย ควายป่า เป็นต้น แม้แต่ซากสิงโตด้วยกันเองก็กิน ลูกสิงโตที่อ่อนแอจะถูกกินเพื่อให้ตัวที่แข็งแรงกว่าได้อยู่รอด
การสืบพันธุ์ฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอนมีได้ทุกเวลาตลอดปี ระยะของการเป็นสัดนาน 4-16 วัน ตัวเมียเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 3 ปี ตัวผู้ประมาณ 4-6 ปี เคยมีรายงานอายุ 2 ปี ก็ผสมพันธุ์ได้ ตั้งท้องนานราว 100 วัน ตกลูกครั้งละ 3-5 ตัว เคยมีรายงานได้ลูกถึง 7 ตัว ลูกอดนมเมื่ออายุ 3-6 เดือน อายุยืนประมาณ 30-60 ปี ลูกตัวที่อ่อนแออาจถูกทิ้งให้ตายหรือถูกกินในหมู่สิงโตด้วยกัน
สำหรับสิงโตขาว เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่จะพบได้เฉพาะอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ในประเทศแอฟริกาใต้แห่งเดียวเท่านั้น ปัจจุบันเหลือจำนวนประชากรราว 300 ตัวเท่านั้น ซึ่งในธรรมชาติ โอกาสที่สิงโตขาวจะอยู่รอดได้มีน้อยกว่าสิงโตธรรมดา เนื่องจากสีขนที่เห็นได้ชัดเจน ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะล่าอาหารได้เหมือนสิงโตธรรมดาที่แฝงตัวได้ดีกว่าในธรรมชาติ
ปัจจุบัน เป็นสัตว์ที่ได้รับการอนุรักษ์และปกป้องสายพันธุ์จากมนุษย์ มีการก่อตั้งหน่วยงานเพื่อขยายพันธุ์และศึกษาในธรรมชาติรวมถึงสถานที่เลี้ยง และมีการส่งสิงโตขาวไปเลี้ยงตามสวนสัตว์ขนาดใหญ่ ๆ ทั่วโลก เช่นสวนสัตว์ลอนดอนในประเทศอังกฤษ,สวนสัตว์ฟิลาเดียเฟียในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
แหล่งข้อมูล : http://th.wikipedia.org, www.kkopenzoo.com/th_news