ข่าว

"รางจืด"ติดเหล้า-บุหรี่!หายขาด!

"รางจืด"ติดเหล้า-บุหรี่!หายขาด!

28 ก.พ. 2560

โดย - โต๊ะข่าวเกษตร

          เป็นพืชที่รู้จักกันดีในจำนวนพืชที่แก้พิษ และกำจัดสารพิษในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับ "รางจืด" จนได้ขื่อว่าเป็น "ราชาแห่งการถอนพิษ" อีกทั้ง คนโบราณยังใช้แก้พิษจากสัตว์ต่างๆ มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันนอกเฉียงใต้ อาทิ ไทย พม่า

          เป็นไม้เถา มีอายุหลายปี ในวงศ์ เหงือกปลาหมอ ACANTHACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์Thunbergia laurifolia Lindl. ชื่ออื่นๆ รางเย็น ดุเหว่า น้ำนอง กำลังช้างเผือก เครือเขาเขียว ขอบชะนาง เป็นต้น

\"รางจืด\"ติดเหล้า-บุหรี่!หายขาด!

          ลำต้น เลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้หรือเสารั้ว ขนาดเถาส่วนโคน 0.8-1.5 เซนติเมตร และค่อยๆลดขนาดลงตามความยาวของเถา ส่วนความยาวจะยาวได้มากกว่า 10 เมตร เถากลม และเป็นข้อปล้อง สีเขียวอมน้ำตาล มีขนปกคลุม เนื้อเป็นไม้เนื้ออ่อน หักง่าย

          ใบ ออกเป็นคู่ๆ ซ้าย-ขวา ตามข้อของเถา รูปหัวใจแหลม โคนมน ปลายแหลม มีติ่งแหลมที่ส่วนปลาย ใบใหญ่ ขอบเรียบ มีเส้นใบมี 3 เส้น และอีก 1 เส้นใบอยู่กลางใบ 

          ดอก ออกเป็นช่อ ตามข้อบริเวณซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงอ่อน มีโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว คล้ายรูปแตร ปลายกลีบแยกเป็นแฉกออกเป็นรูปจาน ในดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ออกดอก พฤศจิกายน-มกราคม

\"รางจืด\"ติดเหล้า-บุหรี่!หายขาด!

         ผล ออกเป็นฝัก จะเริ่มติดฝักให้ผลหลังจากที่ดอกร่วงไป ทรงกลมเป็นหลอด กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 4-5 เซนติเมตร ปลายฝักแหลม โค้งเล็กน้อย เมื่อแก่จะปริแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดด้านในสีน้ำตาล

         ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ขึ้นได้ทุกสภาพดิน ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน

         สรรพคุณ : ราก เถา และใบ รวมถึงดอก (ทั้งต้น) พบองค์ประกอบของสารเคมีที่คล้ายกัน มีสรรพคุณทางยาหลายด้าน ได้แก่ ต้านอนุมูลอิสระ,ต้านมะเร็ง,ชะลอความแก่,แก้พิษยาเบื่อ-พิษยาฆ่าแมลง,ถอนพิษสัตว์กัดต่อย,รักษาโรคผิวหนัง,แก้ร้อนใน,กำจัดแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย,ขับปัสสาวะ,ท้องเสีย-อาหารเป็นพิษ,แก้หวัด,ติดเชื้อในกระแสเลือด,ป้อง กันไขมันอุดตัน,ลดเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ,ลดความดัน,ป้องกันหลอดเลือดอุดตันในสมอง,ลดเสี่ยงเกิดโรคเบาหวาน

\"รางจืด\"ติดเหล้า-บุหรี่!หายขาด!

ฝัก-เถาแห้ง

        วิธีใช้ :-
       - นำทุกส่วนมาตำ หรือบดผสมน้ำ พอกแผลระงับอาการปวด ลดบวม และกำจัดพิษจากสัตว์ต่อย อาทิ งู แมงป่อง ตะขาบ แมงดาทะเล เป็นต้น
       - นำทุกส่วนบดผสมน้ำเล็กน้อย ใช้รักษาไวรัสเริม ด้วยการนำไปประคบบริเวณรอยแผลเริม แผลสด แผลเป็นหนอง จะช่วยให้แผลแห้งเร็ว ลดติดเชื้อ ลดอาการบวมของแผล
       - นำทุกส่วนนำมาต้มน้ำอาบ ช่วยบรรเทาอาการผื่นคัน ต้านเชื้อรา รักษาโรคผิวหนัง
       - นำทุกส่วนนำมาต้มน้ำดื่ม หรือคั้นน้ำดื่ม เป็นยาแก้ร้อนใน บรรเทาอาการกระหายน้ำ
       - นำใบสด เถาสด มาต้มน้ำดื่มทุกๆ 3-5 ชั่วโมง จะช่วยลดอาการเมาค้างได้เป็นอย่างดี ส่วนผู้ที่ติดสุราให้ต้มน้ำดื่มเป็นประจำ หลังอาหารและก่อนนอนทุกวัน ตลอด 3 เดือน จะช่วยลดอาการอยากดื่มสุราได้

\"รางจืด\"ติดเหล้า-บุหรี่!หายขาด!

       - นำใบสด เถาสด มาต้มน้ำดื่มเป็นประจำทุกวัน หลังอาหารและดื่มก่อนนอน ติดต่อกัน 1 เดือน ช่วยลดอาการอยากสูบบุหรี่ได้ ซึ่งการดื่มน้ำนี้จะช่วยขับสารนิโคติน สารพิษอื่นๆที่สะสมในเลือด ปอด อันเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปอด
       - ดื่มน้ำต้มจากใบสด เถาสดอุ่นๆ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคติดเชื้อต่างๆ บรรเทาอาการท้องเสีย รักษาไข้หวัด โรคติดเชื้อในกระแสเลือด ลดความดัน ลดเสี่ยงเบาหวาน ลดระดับไขมันในเส้นเลือด ลดเสี่ยงเกิดโรคหัวใจ ป้องกันเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง
       - นำทุกส่วนนำมาต้มน้ำดื่ม ปรับประจำเดือนให้มาปกติ หรือสำหรับหญิงที่คลอดบุตรใหม่ ดับน้ำคาวปลา ช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาสภาพเดิมโดยเร็ว     

\"รางจืด\"ติดเหล้า-บุหรี่!หายขาด!

 คำแนะนำ : - 

        - ใช้ใบสด รักษาพิษ สำหรับคนให้ใช้ 10-12 ใบ (วัวควายให้ใช้ 20-30 ใบ) เมื่อได้ใบสดให้นำมาตำจนละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวประมาณครึ่งแก้ว ว่านรางจืดวิธีรับประทานก็ง่ายๆ เพียงนำมาคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจต้องดื่มซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงถัดมา

        - ใช้ราก รักษาพิษ สำหรับคนให้ใช้ 1-2 องคุลี (วัวควายให้ใช้ 2-4 องคุลี) เมื่อได้รากมาแล้วให้นำมาฝนหรือนำมาตำเข้ากับน้ำซาวข้าว แล้วนำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจต้องใช้ซ้ำอีกในครึ่งชั่วโมง ถึงหนึ่งชั่วโมงเช่นเดียวกับการใช้ใบ

        - ใช้ยารางจืดถอนพิษยาฆ่าแมลงสำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาฆ่าแมลง ต้องใช้ยาให้เร็วที่สุดเพราะถ้ายาซึมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากหรือทิ้งไว้ข้ามคืนรางจืดจะได้ผลน้อยลง

\"รางจืด\"ติดเหล้า-บุหรี่!หายขาด!

ข้อควรระวัง : -

          - ใช้รางจืดร่วมกับตัวยาชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องใช้ยารักษาต่อเนื่อง เพราะรางจืดอาจไปขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกายได้

          - ผู้ป่วยเบาหวาน การใช้ควรระวังเพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

แหล่งที่มาข้อมูล : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,สมุนไพรกับวัฒนธรรมไทยตอนที่ 2 ไม้ริมรั้ว กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์