“ไพบูลย์” แจง สาระร่างพ.ร.บ.ปฏิปรูปวงการสงฆ์
“ไพบูลย์”แจงสาระร่างพ.ร.บ.ปฏิปรูปวงการสงฆ์ มีสภาพุธบริษัทตีความพระธรรมวินัย พร้อมตั้งกก.บริหารจัดการทรัพย์สินวัด
3 มี.ค.60-นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรากรปกป้องพิทักษ์กิจการพระศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการกรองข่าวทางสถานีวิทยุ 102 เมกกะเฮิร์ต ถึงการเสนอร่างพ.ร.บ.สภาพุธบริษัทแห่งชาติและร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุว่า ร่างพ.ร.บ.สภาพุธบริษัทแห่งชาติ เพื่อให้มีองค์กรไปตีความพระธรรมวินัยไม่ให้มีการบิดเบือนเพราะขณะนี้เกิดการตีความว่า พระภิกษุสงฆ์รับหรือไม่รับเงินได้หรือไม่ ไม่มีใครตีความชัดเจน ซึ่งร่างพ.ร.บ.นี้จะเป็นองค์กรที่ผสมผสานระหว่างคณะกรรมการกฏษฏีกาและศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อมาตีความพระธรรมวินัย โดยมีทั้งพระภิกษฺ อุบาสก อุบาสิกา ผู้เชี่ยวชาญ มาทำหน้าที่ โดยจะมีความแตกต่างกับมหาเถรสมาคมที่เป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์ เมื่อสภาพุทธบริษัทมีการตีความจากองค์กรนี้แล้วผู้ที่เกี่ยวข้องก็นำไปปฏิบัติ เช่น กรณีพระธัมมชโย ที่รับเงินมาแล้วมีการยักยอกทรัพย์ ผิดพระธรรมวินัย แต่บางคนก็บอกไม่ผิด เพราะคืนเงินวัดแล้ว เป็นต้น สภาพุทธบริษัทก็จะไปตีความหากผิดวินัยสงฆ์ พระอธิกรณ์ก็นำไปดำเนินการต่อไป
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ส่วนร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุ ก็เพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของวัดและทรัพย์สินของพระภิกษุเป็นไปอย่างเหมาะสม มีการเปิดรายการทรัพย์สินวัด พระภิกษุสงฆ์ มีการทำบัญชีราชการทรัพย์สินอย่างเป็นระรบบ ซึ่งวัดเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกับบริษัทเอกชน กระทรวง มูลนิธิ องค์กรต่างๆ ซึ่งองค์กรเหล่านี้จะต้องมีการทำบัญชีทรัยพ์สินตามมาตราฐานบัญชี วัดก็เช่นกัน เมื่อทำบัญชีแล้วก็ต้องมีผู้สอบสอบบัญชีมาตรวจสอบและสามารถเปิดเผยได้ ที่ผ่านมา ไม่มีใครรู้ว่า ว่าวัดและพระภิกษุสงฆ์มีเงินและทรัพย์สินเท่าไร ทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นของวัดหรือทรัพย์สินส่วนตัวของพระ บางครั้งก็มีการยักยอกเงินวัดเป็นทรัพย์สินของตนเอง ซึ่งการทำบัญชีนี้จะทำให้ทรัพย์สินของวัดไม่รั่วไหล ตรวสอบได้ นอกจากนี้ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศให้ถือเป็นของวัดแต่สามารถได้จ่ายทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามสมควรและเกี่ยวกับศาสนกิจเท่านั้นจะนำไปให้ญาติไปซื้อรถซื้อบ้านไม่ได้ ซึ่งต้องทำบัญชีรายงาน และเมื่อพ้นจากความเป็นพระหรือมรณภาพก็ให้ตกเป็นของวัดเช่นกัน โดยเป็นไปตามพระธรรมวินัยโดยในเรื่องนี้จะมีคณะกรรมการจัดการทรัยพ์สินของวัดทั้งพระสงฆ์ เจ้าอาวาส และอื่น มาเป็นผู้ดูแล
“การเสนอร่างกม.ทั้ง 2 ฉบับนี้ อาจจะมีเสียงต่อต้านจากพระภิกษุสงฆ์บางส่วน แต่ก็ต้องทำ เพราะมีเสียงเรียกร้องของประชาชน โดยยกตัวอย่างจากวัดพระธรรมกาย พระธัมมชโย ซึ่งปัญหานี้มีหลายวัด พระหลายรูปที่มีปัญหา ผมจึงได้เสนอร่างกม.ทั้ง 2 ฉบับนี้ แต่ก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายกฯ จะดำเนินการต่อหรือไม่ คงขึ้นอยู่กับกระแสสังคม หากเรียกร้องมาก ตนก็เชื่อว่า นายกฯและสนช.จะรับฟังและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งผมคงไม่มีการล่ารายชื่อ เพราะเรื่องนี้ก็ถึงหูผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านทางช่องทางอินเตอร์เน็ต ส่วนการนำกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชเพื่อให้ทรงทราบเท่านั้น “นายไพบูลย์ กล่าว.