ข่าว

กยท.หนุนปรับเปลี่ยนทำสวนยางเศรษฐกิจพอเพียง

กยท.หนุนปรับเปลี่ยนทำสวนยางเศรษฐกิจพอเพียง

16 มี.ค. 2560

โดย -โต๊ะข่าวเกษตร

 

กยท.หนุนสวนยางผสมผสานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มั่นใจช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพการทำสวนยาง เผยเกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและประสบผลสำเร็จ แม้ราคายางวิกฤต หรือสวนยางถูกน้ำท่วม ก็สามารถอยู่รอดได้อย่างมั่นคง

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)  เปิดเผยว่า กยท.มีนโยบายที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่9 มาประยุกต์ใช้ในการทำสวนยางแบบผสมผสาน ซึ่งที่ผ่านมามีเกษตรกรหลายรายประสบผลสำเร็จในการทำสวนยางแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ว่าราคายางพาราจะตกต่ำหรือวิกฤตแค่ไหนก็ตาม

นายวิเวก บุญช่วย เกษตรกรชาวสวนยาง  หมู่ 7 ต.เกาะขันธ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช วัย 65 ปี เปิดเผยว่า ได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของรัชกาลที่ 9 มาใช้ทำสวนยาง หลังจากที่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ก่อนที่จะยุบมาเป็น กยท.) ได้พาไปเรียนรู้วิธีการปลูกไม้ผลแซมสวนในยาง ที่ศูนย์การศึกษาพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส เมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา จนทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป ครอบครัวมีกิน มีใช้ อย่างพอเพียง และยังมีเงินเหลือเก็บไว้ให้ลูกหลานอีกด้วย จากเดิมตั้งแต่เกิดมาจนถึงอายุ 50 ปี ชีวิตไม่มีความมั่นคง อยู่ไปวันๆ ไม่มีเงินเก็บ ยิ่งช่วงฤดูปิดกรีด แทบจะไม่มีจะอยู่จะกิน

ทั้งนี้สวนยางของนายวิเวก มีทั้งหมด 14 ไร่ เดิมนั้นปลูกยางพาราเป็นพืชเชิงเดี่ยวทั้งหมด ต่อมาเมื่อ 15 ปีที่แล้วได้ปรับเปลี่ยนมาปลูกไม้ผลแซมยางพารา โดยแบ่งเป็นปลูกร่วมกับมังคุด ขนุน และหมาก 10 ไร่ ส่วนอีก 4 ไร่ ปลูกบ้าน เลี้ยงวัว เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงไก่พื้นเมือง ไก่ดำ และขุดบ่อเลี้ยงปลา ขนาด 15 X15 เมตร อีก 2 บ่อ มีทั้งปลาทับทิม ปลานิล และปลาดุก

“แปลงผลไม้ผสมสวนยางพารา สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี โดยมีรายได้จากยางประมาณปีละ 40,000 บาท จากมังคุดผลผลิตปีละ 280,000 บาท ขายเป็ด ไก่พื้นเมือง และไก่ดำ ได้อีกปีละ 50,000 บาท ส่วนวัว อีก 6 ตัว จะมีรายได้ 20,000 บาท และปลามีรายได้ 10,000 บาท เฉพาะปี59 ที่ผ่านมา ได้รายได้กว่า 400,000 บาท ทั้งๆที่ยางราคาตกต่ำ ถ้าปีไหนราคายางดีก็จะมีรายได้มากกว่านี้ ” นายวิเวกกล่าว

สำหรับการดูแลไม้ผลที่ปลูกแซมสวนยางนั้น ก็ดูแลเช่นเดียวกับยางพารา คือ ใส่ปุ๋ย ใช้มูลวัว ขี้ไก่ หมักผสมกับสารชีวภาพที่กรมพัฒนาที่ดิน นำให้มาใช้ฟรี ทำให้ลดต้นทุนค่าปุ๋ย

“เมื่อครั้งน้ำท่วมที่ผ่านมา หลายคนเดือดร้อนเพราะกรีดยางไม่ได้ บางสวนเสียหาย แต่ผมไม่เดือดร้อน เพราะมีผลไม้ไว้กิน อย่างขนุน แม้มันจะดิบเอามาต้มกินได้ แถมยังมี ไก่ ที่เลี้ยงไว้ ส่วนปลา ถึงแม้จะไปตามน้ำ แต่น้ำลดลงยังบ่อเหลืออยู่ให้เลี้ยงต่อไป” นายวิเวกก