ข่าว

“ออดิบ”ถอดพิษไข้-ละลายเสมหะ

“ออดิบ”ถอดพิษไข้-ละลายเสมหะ

29 เม.ย. 2560

“ออดิบ”ถอดพิษไข้-ละลายเสมหะ

        วันก่อนเขียนถึง“บุก”พืชสมุนไพรตระกูลบอนที่มีสรรพคุณทางยามากหลาย มีผู้อ่านถามไถ่กันเข้ามามากมาย วันนี้จะขอพูดถึงพืชตระกูลบอนอีกชนิดที่นิยมนำมาประกอบเป็นอาหารรับประทานกันโดยทั่วไป นั่นก็คือ ออดิบหรือเอาะดิบ ที่นิยมเรียกกันทางภาคใต้ตอนล่างหรือต้นคูนของภาคกลาง เวลาใช้ปรุงอาหารให้ลอกเยื่อบาง ๆ ออก แล้วหั่นเป็นท่อนคล้ายสายบัว 

“ออดิบ”ถอดพิษไข้-ละลายเสมหะ

     ออดิบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Colocasia gigante Hook. f. จัดเป็นไม้ล้มลุก อยู่ในวงศ์ Araceae เช่นเดียวกับบอน เป็นผักชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายบอน ชาวบ้านจะปลูกไว้กินริมรั้ว หรือข้างบ้าน ชอบ ขึ้นบริเวณที่มีน้ำแฉะ นำมาทำอาหาร ส่วนมากจะใช้แกงส้ม  ยำและใช้เป็นเครื่องเคียงจิ้มกับน้ำพริก มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและใต้

     ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ รูปร่างเป็นลูกศร มีนวลเคลือบแผ่นใบ ก้านใบยาวกลมมี 2 ชนิด คือ ชนิดสีเขียวอ่อน ใบมีสีเขียวอ่อน ก้านใบสีเขียวอมขาวและชนิดสีม่วง ใบและก้านใบสีม่วง ออกดอกเป็นช่อ มีกาบหุ้ม ก้านช่อดอกกลมยาว มีกาบหุ้มจนมิด เมื่อดอกยังไม่บาน ช่อดอกทรงกระบอก กลุ่มช่อดอกเพศผู้อยู่ด้านบน ตรงกลางกลุ่มช่อดอกไม่มีเพศ ช่อดอกเพศเมียอยู้ด้านล่าง 

“ออดิบ”ถอดพิษไข้-ละลายเสมหะ

     ออดิบ มีสรรพคุณทางยาลำต้นใต้ดินใช้แก้พิษไข้ พิษร้อน พิษตานซาง  รักษาแผล กัดฝ้า กัดหนอง ภาคเหนือใช้ผลสดฝนผสมกับน้ำผึ้งกินละลายเสมหะ แม้พืชตระกูลบอนบางชนิด มีสรรพคุณทางสมุนไพร แต่อีกหลายสายพันธุ์มีลักษณะสวยงาม นิยมนำมาตกแต่งสวน หากรับประทานเข้าไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ