สั่งไม่ฟ้องคดีนำเข้ารถตู้"โปร่งใส"
"ดีเอสไอ"แจงทําคดีนํารถยนต์ตู้เข้ามาในราชอาณาจักรโปร่งใสเป็นไปตามกฎหมายไม่พบหลักฐานเลี่ยงภาษีเห็นพ้องอัยการสั่งไม่ฟ้อง
30 เมษายน 2561ตามที่หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ได้เผยแพร่ข่าวผ่านเว็บไซต์ของสานักข่าว http://www.bangkokbiznews.com/ เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 61 ในประเด็น “วิลาศจ่อยื่น ป.ป.ช. สอบปมสั่งไม่ฟ้องรถหรูเลี่ยงภาษี”
โดยเนื้อหาสรุปว่านายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีตสมาชิกพรรค ประชาธิปัตย์ แถลงข่าวที่พรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับการดำเนินคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในคดีพิเศษ ที่ 10/2554 กรณีมีผู้กล่าวโทษให้ดาเนินคดีอาญากับบริษัทไทยยานยนต์ จำกัด กับพวก ว่ามีพฤติการณ์ร่วมกัน ดำเนินการต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร เกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์รถยนต์ตู้สำเร็จรูปเข้ามา ในราชอาณาจักร ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร โดยระบุว่ามีผู้ไปร้องเรียนกับตนเนื่องจาก ไม่เห็นด้วยกับผลการสอบสวนและการสั่งคดีของพนักงานอัยการ และสงสัยในการสอบสวนและการสั่งคดี ของพนักงานอัยการ รวมทั้งตั้งข้อสังเกตต่าง ๆ นั้น
ทีมโฆษกดีเอสไอ ระบุว่า เพื่อให้สาธารณชนเข้าใจถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และไม่เกิดความสับสน จึงชี้แจงดังนี้ 1.กรณีดังกล่าวสืบเนื่องจากมีสายลับไม่ประสงค์ออกนามแต่ประสงค์เงินสินบนรางวัล ได้มายื่นเรื่อง ขอให้ดีเอสไอ สืบสวนสอบสวนดำเนินคดีกับบริษัทไทยยานยนต์ จำกัด กับพวก เกี่ยวกับการ นำเข้ารถยนต์ตู้สาเร็จรูปยี่ห้อหนึ่งจากประเทศเยอรมนี และนำมาตกแต่ง ดัดแปลง ต่อเติมในห้อง โดยสาร ภายในเขตปลอดอากร
โดยกล่าวหาว่าบริษัทดังกล่าวได้แอบอ้างใช้สิทธิลดอัตราอากรตามประกาศ กรมศุลกากรที่ 72/2550 และประกาศอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบรถยนต์ในเขตปลอดอากร ได้ลด อัตราอากรหากมีการใช้สัดส่วนวัตถุดิบที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทย มีมูลค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของราคา ผลิตภัณฑ์หน้าโรงงาน ทั้งที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ ทำให้รัฐเสียหาย
2. คดีดังกล่าวดีเอสไอได้รวบรวมหลักฐานทุกประเด็น รวมทั้งสอบสวนเจ้าหน้าที่ของ กรมศุลกากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และสรุปสานวนการสอบสวนเสนอพนักงานอัยการตามกฎหมาย ต่อมาสำนักงานอัยการคดีพิเศษ ได้มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาเนื่องจากการกระทำไม่เป็นความผิดตามข้อกล่าวหา จึงเห็นได้ว่าการดำเนินคดีนี้เป็นไปตามขั้นตอน โปร่งใส และมีการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการตามกฎหมายทุกประการ
3. ส่วนประเด็นที่ผู้เกี่ยวข้องยังติดใจการพิจารณาของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและพนักงานอัยการ นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 146 กำหนดให้ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอต่อพนักงานอัยการเพื่อขอทราบสรุปพยานหลักฐาน พร้อมทั้งความเห็นของพนักงานสอบสวนและ พนักงานอัยการในการสั่งคดีได้ ภายในกำหนดอายุความฟ้องร้อง และหากมีพยานหลักฐานใหม่อันสาคัญแก่คดี ก็สามารถดำเนินคดีกับผู้ต้องหาได้อีกตามมาตรา 147