ข่าว

วันมงคล! ชม 3 ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์สำคัญ

วันมงคล! ชม 3 ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์สำคัญ

26 ก.ค. 2561

วันอาสาฬหบูชาต่อเนื่องวันเข้าพรรษา และวันเฉลิมพระชนมพรรษา 27-28 ก.ค.นี้ ชวน ปชช. ชม 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ฯ

 

               ปราจีนบุรี - วันอาสาฬหบูชาต่อเนื่องวันเข้าพรรษา และวันเฉลิมพระชนมพรรษา 27-28 ก.ค. นี้ ชม 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ดาวอังคารตรงข้ามดวงอาทิตย์ – จันทรุปราคาเต็มดวง - ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดในรอบปีซึ่งจะเห็นดาวอังคารสีแดง เคียงดวงจันทร์สีแดงบนฟากฟ้าเห็นได้ด้วยตาเปล่าชัดเจน


               นักดาราศาสตร์ชวน วันอาสาฬหบูชาต่อเนื่องถึงวันเข้าพรรษาและวันเฉลิมพระชนมพรรษา นี้ เกิด 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ตลอดคืน 27 จรดจนถึงรุ่งเช้า 28 ก.ค.61 ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์ ก่อนโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 15 ปี ทำให้สว่างมากและมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติ คืนเดียวกันยังเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ในรอบปี คราสเต็มดวงกินเวลา 1 ชั่วโมง 43 นาที นานที่สุดในศตวรรษที่ 21 และยังเป็นช่วงที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดในรอบปี เชิญชวนคนไทยชม 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ระบุจะมองเห็นดาวอังคารสีแดง เคียงดวงจันทร์สีแดงบนฟากฟ้าเห็นได้ด้วยตาเปล่าชัดเจนเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

 

 

วันมงคล! ชม 3 ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์สำคัญ

 

 

               วันที่ 26 ก.ค.61 นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดาราศาสตร์ และที่ปรึกษาหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า “ในค่ำคืนวันที่  27 ต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 จะมีปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ รวม 3 ปรากฏการณ์ ประกอบด้วย

 

 

วันมงคล! ชม 3 ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์สำคัญ

 

 

               ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ ที่ระยะห่าง 57.8 ล้านกิโลเมตร เราจะมองเห็นดาวอังคารสีส้มแดงสุกสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และมีขนาดใหญ่กว่าปกติ สามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้ตลอดคืน

 

               จันทรุปราคาเต็มดวง ในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 27 กรกฎาคม คราสเต็มดวงกินเวลา 1 ชั่วโมง 43 นาที เวลา 02.30 – 04.13 น. นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21

 

 

วันมงคล! ชม 3 ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์สำคัญ

 

 

               และ ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่าง 406,086 กิโลเมตร ในขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ยังตรงกับช่วงดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดังนั้นในคืนดังกล่าว เราจึงจะเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงในช่วงที่ดวงจันทร์มีขนาดเล็กที่สุดในรอบปี และยังจะเห็น “ดาวอังคารสีแดง เคียงดวงจันทร์สีแดง” อีกด้วย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าชัดเจน

 

               ทั้งนี้การเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง เริ่มหลังจากเที่ยงคืนวันที่ 27 กรกฎาคม 2561   เป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งที่ 2 ในรอบปี 2561 คราสเต็มดวง จะพาดผ่านทวีปยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา บางส่วนของทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และขั้วโลกใต้ สำหรับประเทศไทยสามารถสังเกตการณ์ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สังเกตได้ด้วยตาเปล่า ตั้งแต่เวลา 00.14 – 06.10 น.

 

 

วันมงคล! ชม 3 ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์สำคัญ

 

 

               “ในประเทศไทยสามารถเห็นคราสเต็มดวง ตั้งแต่เวลา 02.30 – 04.13 น. นานถึง 1 ชั่วโมง 43 นาที นับเป็นจันทรุปราคาที่เต็มดวงยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 และยังเป็นจันทรุปราคาในช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 406,086 กิโลเมตร นับเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงที่ดวงจันทร์สีแดงอิฐมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย” นายวรวิทย์ กล่าว

 

               ทั้งนี้ “หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบเฉลิมพระชนมพรรษาฉะเชิงเทรา เป็นหอดูดาวภูมิภาคตะวันออก ที่ใกล้กรุงเทพฯ ที่สุด ได้จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาวอังคารใกล้โลก และจันทรุปราคาเต็มดวง ในคืนวันที่ 27 ถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น. ถึงรุ่งเช้า เวลา 04.30 น.

 

 

วันมงคล! ชม 3 ปรากฎการณ์ดาราศาสตร์สำคัญ

 

 

               นอกจากนี้ คืนดังกล่าวยังมีวัตถุท้องฟ้าดาวเคราะห์มากมายให้สังเกตการณ์ อาทิ ดาวศุกร์ในช่วงเวลาหัวค่ำปรากฏทางทิศตะวันตก ตามประกอบด้วยดาวพฤหัสบดี ปรากฏทางทิศใต้ในมุมสูงบริเวณกลุ่มดาวคันชั่ง และดาวเสาร์ ปรากฏทางทิศตะวันออกเฉียงใต้บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ตลอดจนจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น แนะนำการดูดาวเบื้องต้น เรียนรู้ท้องฟ้าและกลุ่มดาวต่างๆ รวมทั้งปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง 

 

               โดยในคืนวันที่ 27 กรกฎาคม 2561 ในการสังเกตการณ์ดาวอังคาร ที่จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ หลังจากนั้น ดาวอังคาร จะโคจรเข้าใกล้โลกเรื่อยๆ จนกระทั่งเข้าใกล้โลกที่สุด ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ที่ระยะห่าง 57.6 ล้านกิโลเมตร จากระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 225 ล้านกิโลเมตร เป็นการโคจรใกล้โลกที่สุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ปี 2546 ดาวอังคารจะสว่างมาก และมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติ สังเกตเห็นได้หลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดทั้งคืนไปจนถึงรุ่งเช้าในวันถัดไป ซึ่งในวันดังกล่าวทางหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบเฉลิมพระชนมพรรษาฉะเชิงเทรา ได้จัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์เช่นเคย