เทคนิคฝนหลวง-สร้างก้อนเมฆ ปกคลุม
"ฝนหลวง"สร้างก้อนเมฆเครื่องดูดควันฝุ่นพิษ ปกคลุมเมืองหลวงได้ผล ชูเทคนิคฝนหลวง โปรยเกลือแกงดึงเม็ดน้ำในอากาศเลียบแบบน้ำทะเลระเหยขึ้นเป็นเมฆฝน
1 กุมภาพันธ์ 2562 นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่าแผนปฏิบัติการฝนหลวงเสริมธรรมชาติ ในวันนี้ได้ปล่อยบอลลูนสำรวจติดตามสภาพอากาศเมื่อเวลา 7.00 น.มาวิเคาระห์ประจำวัน
โดยทั้ง 3 สถานี คือสถานีเรดาร์สัตหีบ จ.ระยอง สถานีเรดาร์ตาคลี จ.นครสวรรค์ และสถานีเรดาร์เคลื่อนที่อ.โพธาราม สนามบินราชบุรี โดยเรดาร์สัตหีบ พบว่ามีความชื้นสัมพัทธ์ 60%เข้าเงื่อนไขปฏิบัติการฝนหลงขั้นตอนที่หนึ่ง ในส่วนความชื้นระดับบน ไม่มากอยู่ที่ 38% ขณะที่ค่าดัชนียกตัวของเมฆมีระดับดี -2.1 เป็นค่ายกตัวที่มีประสิทธิภาพมีโอกาศในการยกตัวมากขึ้น จะเห็นว่าโอกาศก่อเมฆดี แต่เมื่อเมฆเกิดพัฒนาตัวแล้วมาเจอความชื้นระดับบนยังมีน้อย
อย่างไรก็ตาม แผนปฏิบัติการหน่วยฝนหลวงเคลื่อนที่เร็จจ.ระยอง ได้ขึ้นบินเมื่อเวลา 10.00 น.เพื่อขึ้นบินแนวทิศเหนือ อ.บางคร้า จ.ฉะเชิงเทรา ไปอ.องค์รักษ์ จ.นครนายก โดยโปรยสารสร้างแนวก่อเมฆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ปล่อยไหลเข้าเขตในกรุงเทพ ถ้าเป็นฝนตกได้จะดีที่สุด ช่วยชะล้างฝุ่นละอองมลพิษได้มากขึ้น ถ้าเป็นก้อนเมฆมีความชื้นมากถึง100%มีเม็ดน้ำจำนวนมากมายอยู่ในก้อนเมฆ เม็ดน้ำเหล่านี้สามารถมาช่วยดูดชับฝุ่นละอองในอากาศได้ในระดับหนึ่ง
สถานีเรดาร์ ตาคลี จ.นครสวรรค์ ดูแลพื้นที่เสี่ยงกระทบสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ ภาคกลาง ตรวจความชื้นการเกิดเมฆ 56% ค่าดัชนัยกตัวมวลอากาศเป็นบวก 5.4 สภาพอากาศนิ่งมาก คงยากต่อการขึ้นบินปฏิบัติการให้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเมฆ ดังนั้นจึงขอติดตามสแตนบาย ดูอากาศระหว่างวัน
สถานีเรดาร์เคลื่อนที่อ.โพธาราม พบว่าค่าความชื้น 58% ใกล้เคียง60% ค่ายกตัวดีเป็น-3ในเรื่องการยกตัวมวลอากาศดี จึงตัดสินใจบินปฏิบัติการสร้างแนวแกนก่อเมฆ เพราะดัชนียกตัวดีมากๆ ทำให้เมฆเกิดการพัฒนาตัวระดับ1หมื่นฟุต เป็นไปได้ดี จะช่วยพัฒนาให้เป็นเมฆขนาดใหญ่ ปล่อยเข้าจ.นครปฐม ราชบุรี เพื่อช่วยแถบบริเวณฝั่งตะวันตกกรุงเทพ โดยขึ้นบินวางแนวเมฆ บริเวณทางทิศเหนืออ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ไปทางอ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
นายสุรสีห์ กล่าวว่าการขึ้นปฏิบัติการสร้างเมฆ เป็นแนวคิดใช้เทคนิก การปฏิบัติการฝนหลวง ในสภาพอากาศปัจจุบัน ที่มีความชื้นน้อย และยังมีเรื่องมวลอากาศแห้ง จากจีนแผ่ปกคลุมลงมา กดทับด้านบน เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตัวเป็นเมฆฝน จึงมีแนวทางสร้างเมฆให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ มาเป็นตัวช่วยดูดซับฝุ่นละอองในอากาศได้ดี
สำหรับเมฆในสภาพธรรมชาติ โดยมีอนุภาพแขวนลอยในอากาศ แบ่งออกสองชนิด เป็นชนิดที่ไม่สามารถดูดซับความชื้นได้ และอีกชนิดสามารถดูดซับความชื้นในอากาศได้ดี คือเกลือแกง จากการระเหยจากน้ำทะเล เป็นอนุภาคแขวนลอยไปในอากาศ เป็นม็ดน้ำสร้างกลุ่มเมฆ เมื่อเรานำเกลือแกงไปโปรย ช่วยกระตุ้นขบวนการ ดึงอนุภาคเล็ก ๆ ให้เป็นเม็ดน้ำขนาดใหญ่ขึ้น เกิดขบวนการทำให้เป็นเมฆใหญ่ขึ้น ซึ่งปฏิบัติการฝนหลวงเป็นการเสริมธรรมชาติ ดึงความชื้นในอากาศ เม็ดน้ำขนาดเล็ก มารวมเป็นเม็ดน้ำใหญ่ขึ้น เป็นก้อนเมฆใหญ่
โดยเมฆก้อนนี้ดูดชับอนุภาคแขวนลอยในอากาศ เปรียบเสมือนก้อนเมฆเป็นเครื่องดูดควัน เพราะในขบวนการเกิดเมฆมีการพัฒนาตัวของอากาศ ข้างใต้ฐานเมฆมีพลังดูดอนุภาคแขวนลอยเข้าไป เป็นเทคนิกของฝนหลวง มาช่วยคลีคลายลดปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ ซึ่งจะสร้างเมฆให้มากที่สุดปล่อยลอยมาเขตกรุงเทพ ปริมณฑล เพื่อดูดชับฝุ่นละอองในอากาศเข้าใต้ฐานเมฆเท่าที่จะมากได้ จากเมื่อวานนี้(30 ม.ค.)ฝนหลวงได้ปฏิบัติการสร้างเมฆตามสมมุติฐานนี้พบว่ามีความเป็นไปได้ หลังทำขึ้นบินทำเมฆมากๆและตรวจพบว่าทำให้สภาพอากาศเจือจางดีขึ้นในพื้นที่มีกลุ่มเมฆมาก