ข่าว

 "การละเล่นดั้งเดิมของไทย" แก้ปัญหาเด็ก "ติดจอ"

"การละเล่นดั้งเดิมของไทย" แก้ปัญหาเด็ก "ติดจอ"

11 พ.ค. 2562

"สสส.-มหิดล-สมาคมกีฬาญี่ปุ่น" ผนึกกำลังเพื่อเด็ก

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผนึกกำลังกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคมม.มหิดลและสมาคมกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่น(Japan Sport Association) ร่วมมือกันส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กและเยาวชนโดยนำ"การเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการจากแดนซามูไร" (Active Child Program: ACP) มาผสานกับ"การละเล่นดั้งเดิมของไทย" เพื่อแก้ปัญหาเด็กไทยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สูงเกินเกณฑ์จนเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพ

ดร.นพ. ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะสสส. เปิดเผยว่าสสส. ได้นำประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กมาเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญด้านการส่งเสริมสุขภาพของประชากรและมองว่านี่คือการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่มีความคุ้มค่าที่สุดในระยะยาวโดยในปัจจุบันสถานการณ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือNCDs ที่คร่าชีวิตของประชากรไทยปีละกว่า7 แสนรายได้ลุกลามและคืบคลานมาสู่กลุ่มประชากรวัยเด็กและเยาวชนมากขึ้นรวมถึงสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงของเด็กไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อความบันเทิงประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็นสมารท์โฟนแท็ปเล็ตหรือเครื่องเล่นเกมที่พบว่ากว่าร้อยละ75 มีพฤติกรรมการใช้ที่สูงกว่าเกินเกณฑ์แนะนำทางสุขภาพเข้าขั้นวิกฤตซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติทางสายตาสมองและการเรียนรู้ตลอดจนพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคมเราจึงได้ร่วมกันทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับเด็กในโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อบูรณาการและต่อยอดแนวคิดการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการจากประเทศญี่ปุ่นเข้ากับการละเล่นดั้งเดิมของไทยที่นับวันจะเลือนหายไปอีกทั้งยังช่วยสร้างทางเลือกในการส่งเสริมการเคลื่อนไหวและการมีกิจกรรมทางกายของเด็กไทยอีกด้วย

มร.ชิฮารุ อิบาชิ ผู้จัดการทั่วไปสำนักส่งเสริมการกีฬาสมาคมกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่นกล่าวว่าผลจากการใช้แนวคิดการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการACP กับเด็กๆในประเทศญี่ปุ่นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับเด็กๆในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งในเรื่องสมรรถภาพทางกายสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงพัฒนาการตามช่วงวัยตลอดจนความสุขและรอยยิ้มที่เกิดขึ้นกับเด็กๆทางสมาคมกีฬาแห่งประเทศญี่ปุ่นจึงปรารถนาที่จะถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนแนวคิดที่เป็นประโยชน์นี้ให้กับประเทศต่างๆที่สนใจได้นำไปประยุกต์ใช้กับเด็กๆในประเทศของตนอย่างเหมาะสมตามบริบททางสังคมซึ่งเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมมือในการทำงานดังกล่าวกับประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน

ขณะที่รศ.ดร.รศรินทร์ เกรย์ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคมม.มหิดลกล่าวว่าสถาบันฯมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้านการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมทางสังคมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและสังคมซึ่งรวมถึงประเด็นทางด้านสุขภาพของประชากรกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้จึงเป็นการต่อยอดงานวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในโรงเรียนที่ทางสถาบันฯกับทางสสส. ร่วมมือกันดำเนินการก่อนหน้านี้ให้มีความหลากหลายในเชิงกระบวนการเพื่อนำไปสู่การเผยแพร่และขยายผลในระดับประเทศได้ในอนาคต

นายปัญญา ชูเลิศ หัวหน้าโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบส่งเสริมการเล่นในบริบทไทยเพื่อสร้างทักษะสำหรับเด็กและเยาวชนหรือTHAI-ACP  ชี้ให้เห็นว่าหลังจากที่ได้ทำการศึกษาเรียนรู้เรื่องACP ของประเทศญี่ปุ่นแล้วพบว่าเป็นกิจกรรมที่ส่งผลดีต่อตัวของเด็กในหลายๆขณะเดียวกันยังเห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำแนวคิดเชิงกระบวนการในกิจกรรมดังกล่าวมามาผสานและประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้เด็กไทยเนื่องจากกิจกรรมการละเล่นของเด็กไทยและเด็กญี่ปุ่นมีความคล้ายคลึงมากความร่วมมือกันในครั้งนี้จึงนับเป็นโอกาสสำคัญที่เราจะได้พัฒนาทางเลือกในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเด็กไทยให้มีความหลากหลายและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของโรงเรียนได้มากยิ่งขึ้นที่สำคัญคือเราจะมีกิจกรรมที่ช่วยดึงความสนใจของเด็กๆให้ห่างหรือลดพฤติกรรมการใช้หน้าจอให้น้อยลงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

นายกฤดรักษ์ ปฐมฐานะกุล รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางกระดี่กรุงเทพฯระบุว่าการส่งเสริมความสมบูรณ์และแข็งแรงทั้งกายและใจจึงถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการส่งเสริมอย่างเพียงพอและเหมาะสมทว่าเด็กทุกวันนี้มีโอกาสและสถานที่ในการเล่นที่จำกัดการใช้เวลาส่วนใหญ่จึงหมดไปกับอุปกรณ์หน้าจอกระทั่งเรียกได้ว่า“ติดจอติดเกม” ซึ่งทางโรงเรียนเองก็มองเห็นและพยายามให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอดอย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดเชิงสถานที่เวลาและบุคลากรตลอดจนกระบวนการจัดกิจกรรมทางโรงเรียนจึงมีความสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการTHAI-ACP ครั้งนี้โดยหวังและเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมดังกล่าวจะช่วยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกกับเด็กๆในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล