ว่าด้วยเรื่องศัตรูพืช
คอลัมน์ - ทำกินถิ่นอาเซียน โดย - รศ.ดร.พิชัย ทองดีเลิศ [email protected]
ในช่วงเวลานี้ถ้าจะไม่พูดถึงเรื่องศัตรูพืชเลยก็ดูจะกระไรอยู่ เพราะในช่วงนี้ไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็จะถูกถามอยู่เสมอว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร เสียหายมากไหม จะจัดการอย่างไรดี ซึ่งคำถามประเภทนี้เป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับผม ตัวผมเองไม่ใช่นักกีฏวิทยา หรือนักจัดการศัตรูพืช ก็ได้แต่อาศัยพูดคุยกับเพื่อนๆ ที่อยู่ในวงการวิชาการบ้าง ก็เลยพอได้ความรู้นิดหน่อยๆ มาเล่าสู่กันฟัง เรียกว่าเป็นทัศนะของผมกับเพื่อนๆแล้วกัน เพราะบางเรื่องไม่มีงานวิจัยมาอ้างอิง เพียงแค่ได้ไปอ่านหรือผ่านหูผ่านตามาเท่านั้นเอง
รศ.ดร.วิบูลย์ จงรัตนเมธีกุล
อย่างวันก่อนผมก็ได้เจอ รศ.ดร.วิบูลย์ จงรัตนเมธีกุล นักวิชาการด้านกีฏวิทยาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องการจัดการศัตรูพืช ผมเลยได้โอกาสซักถามสิ่งที่เพื่อนๆ หลายคนฝากมาในเรื่องของหนอนกระทู้ลายจุดที่เป็นศัตรูตัวฉกาจของข้าวโพด ทั้งข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง คำตอบที่ได้ก็ยังเหมือนก่อนหน้านี้คือ การระบาดค่อนข้างรุนแรงและครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไปค่อนข้างมาก
เรียกว่าในประเทศไทยตรงไหนที่ปลูกข้าวโพดก็จะเจอเจ้าหนอนกระทู้พวกนี้ในทุกพื้นที่ ไม่เว้นแม้ประเทศเพื่อนบ้านรอบเรา ทั้งลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า รวมทั้งจีนตอนใต้ก็โดนหนอนกระทู้ลายจุดเข้าทำลายเสียหายไปมาก อย่างที่ทราบกันว่าผีเสื้อหนอนชนิดนี้บินได้ไกลข้ามน้ำข้ามทวีปกันมา ดังนั้นเกษตรกรเพื่อนบ้านเราก็ไม่อาจรอดพ้นกันไปได้เช่นกัน
เมื่อเดือนที่แล้วลูกศิษย์ผมที่อยู่เพชรบูรณ์ ซึ่งทำการเกษตรเป็นอาชีพเสริม ก็ได้โทรศัพท์มาเล่าให้ฟังว่าปลูกพืชผักอยู่หลายชนิดรวมทั้งข้าวโพดด้วย ซึ่งก็พบหนอนกระทู้ลายจุดอยู่บ้างแต่ไม่มาก ก็ได้แก้ปัญหาโดยการใช้ทั้งน้ำหมักชีวภาพที่ได้รับแจก และกากน้ำตาลผสมน้ำร่วมกับยาสูบฉีดพ่นไป ก็ได้ผลดีอยู่เนื่องจากมีพื้นที่ไม่มากที่ปลูกข้าวโพด จึงพอจะควบคุมได้ส่วนหนึ่งแต่ก็ยังเจอหนอนอยู่บ้างประปราย ส่วนบริเวณรอบๆ ที่เป็นนาข้าวของเกษตรกรรายอื่นก็เจอหนอนชนิดนี้อยู่เช่นกัน ซึ่งลูกศิษย์ผมได้ทราบข่าวเรื่องการระบาดของหนอนกระทู้ลายจุดในพื้นที่อื่นจึงเฝ้าระวัง และพอพบเข้าก็ได้กำจัดทันที ประกอบกับบริเวณรอบๆ ไม่มีเกษตรกรรายอื่นปลูกข้าวโพด จึงทำให้ควบคุมได้ไม่ยาก
ผมได้ลองถามท่าน อ.วิบูลย์ ว่าเนื่องจากมีการระบาดมากขนาดนี้จะต้องทำอย่างไรดี โดยขอคำตอบแบบที่ทุกคนทำได้ ก็ได้คำตอบว่าในเมืองไทยเรายังไม่มีงานวิจัยที่จะสนับสนุนอย่างเพียงพอในเรื่องของการป้องกัน ควบคุมและกำจัด ดังนั้นสิ่งที่จะทำได้จึงอาจจะมีทางเลือกอยู่สองทาง คือการใช้สารเคมี ซึ่งการใช้กับพื้นที่มากๆ ก็จะมีต้นทุนที่สูง ซึ่งเกษตรกรก็อาจจะต้องรับภาระในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ตามมา และอันตรายจากการใช้และการบริโภคได้ แต่ก็ดูเป็นวิธีการที่ได้ผล
อย่างวันก่อนผมก็ได้เจอ รศ.ดร.วิบูลย์ จงรัตนเมธีกุล นักวิชาการด้านกีฏวิทยาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องการจัดการศัตรูพืช ผมเลยได้โอกาสซักถามสิ่งที่เพื่อนๆ หลายคนฝากมาในเรื่องของหนอนกระทู้ลายจุดที่เป็นศัตรูตัวฉกาจของข้าวโพด ทั้งข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง คำตอบที่ได้ก็ยังเหมือนก่อนหน้านี้คือ การระบาดค่อนข้างรุนแรงและครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไปค่อนข้างมาก
เรียกว่าในประเทศไทยตรงไหนที่ปลูกข้าวโพดก็จะเจอเจ้าหนอนกระทู้พวกนี้ในทุกพื้นที่ ไม่เว้นแม้ประเทศเพื่อนบ้านรอบเรา ทั้งลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า รวมทั้งจีนตอนใต้ก็โดนหนอนกระทู้ลายจุดเข้าทำลายเสียหายไปมาก อย่างที่ทราบกันว่าผีเสื้อหนอนชนิดนี้บินได้ไกลข้ามน้ำข้ามทวีปกันมา ดังนั้นเกษตรกรเพื่อนบ้านเราก็ไม่อาจรอดพ้นกันไปได้เช่นกัน
เมื่อเดือนที่แล้วลูกศิษย์ผมที่อยู่เพชรบูรณ์ ซึ่งทำการเกษตรเป็นอาชีพเสริม ก็ได้โทรศัพท์มาเล่าให้ฟังว่าปลูกพืชผักอยู่หลายชนิดรวมทั้งข้าวโพดด้วย ซึ่งก็พบหนอนกระทู้ลายจุดอยู่บ้างแต่ไม่มาก ก็ได้แก้ปัญหาโดยการใช้ทั้งน้ำหมักชีวภาพที่ได้รับแจก และกากน้ำตาลผสมน้ำร่วมกับยาสูบฉีดพ่นไป ก็ได้ผลดีอยู่เนื่องจากมีพื้นที่ไม่มากที่ปลูกข้าวโพด จึงพอจะควบคุมได้ส่วนหนึ่งแต่ก็ยังเจอหนอนอยู่บ้างประปราย ส่วนบริเวณรอบๆ ที่เป็นนาข้าวของเกษตรกรรายอื่นก็เจอหนอนชนิดนี้อยู่เช่นกัน ซึ่งลูกศิษย์ผมได้ทราบข่าวเรื่องการระบาดของหนอนกระทู้ลายจุดในพื้นที่อื่นจึงเฝ้าระวัง และพอพบเข้าก็ได้กำจัดทันที ประกอบกับบริเวณรอบๆ ไม่มีเกษตรกรรายอื่นปลูกข้าวโพด จึงทำให้ควบคุมได้ไม่ยาก
ผมได้ลองถามท่าน อ.วิบูลย์ ว่าเนื่องจากมีการระบาดมากขนาดนี้จะต้องทำอย่างไรดี โดยขอคำตอบแบบที่ทุกคนทำได้ ก็ได้คำตอบว่าในเมืองไทยเรายังไม่มีงานวิจัยที่จะสนับสนุนอย่างเพียงพอในเรื่องของการป้องกัน ควบคุมและกำจัด ดังนั้นสิ่งที่จะทำได้จึงอาจจะมีทางเลือกอยู่สองทาง คือการใช้สารเคมี ซึ่งการใช้กับพื้นที่มากๆ ก็จะมีต้นทุนที่สูง ซึ่งเกษตรกรก็อาจจะต้องรับภาระในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ตามมา และอันตรายจากการใช้และการบริโภคได้ แต่ก็ดูเป็นวิธีการที่ได้ผล
แต่อีกวิธีการหนึ่งก็ดูจะปลอดภัยก็คือการใช้พวกสารชีวภาพจากธรรมชาติที่มีกลิ่นรบกวนศัตรูพืช ซึ่งก็อาจจะหันเหความสนใจและรบกวนผีเสื้อของหนอนที่จะเข้ามาวางไข่ได้ หรืออาจจะเลือกวิธีการปลูกพืชชนิดอื่น เช่นพวกต้นดาวเรืองที่มีกลิ่นฉุนเพื่อรบกวนไม่ให้ผีเสื้อเข้ามาใกล้ โดยอาจปลูกแทรกๆ ไว้ในแปลงข้าวโพดเป็นระยะ ก็อาจสามารถไล่ศัตรูพืชออกไปได้ รวมถึงถ้าบริเวณรอบๆ แปลงข้าวโพดถ้าสามารถปลูกพวกหญ้าเนเปียร์ ก็จะสามารถดึงความสนใจของศัตรูพืชออกไปได้ส่วนหนึ่ง อาจทำให้จำนวนศัตรูพืชที่เข้าทำลายข้าวโพดลดลงได้จำนวนหนึ่ง
ที่ผมพูดถึงก็คงเป็นวิธีการแบบง่ายๆ ที่พอจะใช้กันได้แบบไม่ต้องหางานวิจัยอะไรมาสนับสนุน เรียกว่าเป็นการแก้ปัญหาแบบพื้นๆ พอเอาตัวรอดกันไป แต่หากรุนแรงหนักหนาสาหัสก็คงต้องปรึกษาและขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบโดยตรงกันนะครับ