ข่าว

ชุมชน-เขตเศรษฐกิจ เสี่ยง ระดมกระสอบทรายป้องกัน

ชุมชน-เขตเศรษฐกิจ เสี่ยง ระดมกระสอบทรายป้องกัน

01 ก.ย. 2562

กรมชลฯเร่งช่วยทุกพื้นที่ พายุโพดุล ถล่มอ่วมภาคอีสาน ระดมระบายน้ำจากนาข้าวลดเสียหาย เพิ่มกระสอบทรายทำพนังป้องกั้นพื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจ

  

1 กันยายน 2562 นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโพดุล โดยที่จังหวัดร้อยเอ็ด  มีพื้นที่น้ำท่วมด้านฝั่งซ้ายของลำน้ำสูงเฉลี่ย 1.78 เมตรในอำเภอเสลภูมิ เมยวดี และโพนทองประมาณ 53,502 ไร่

 

ได้รับรายงานจากผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 ว่า น้ำในลำน้ำยังที่ไหลจากจังหวัดกาฬสินธุ์มาสมทบกับปริมาณน้ำฝนที่ตกสะสมในพื้นที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำล้นตลิ่งบริเวณที่ไม่มีพนังกั้นน้ำเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ

 

ทั้งนี้ได้ระดมเครื่องจักรเครื่องมือเข้าเสริมความมั่นคงแข็งแรงของพนังกั้นน้ำยัง สำรวจหาจุดรั่วซึมของพนังกั้นน้ำยัง ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 8 เครื่องบริเวณสะพานข้ามลำน้ำยังบ้านกุดเรือตำบลนางาม อำเภอเสลภูมิ และจัดเจ้าหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันประจำจุดเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อติดตามสภาพน้ำและตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของคันกั้นน้ำยังตลอดความ

 

ขณะนี้เร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมเพื่อไม่ให้นาข้าวเสียหายและโครงการชลประทานทั้ง 12 แห่งในเขตความรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 6 ทั้ง 5 จังหวัด คือ ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ดช่วยกันระดมกระสอบทรายกว่า 6,000 ใบ เข้าไปเสริมความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำป้องกันพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจ ส่วนพื้นที่เกษตรที่มีน้ำท่วมขณะนี้กำลังเร่งระบายออกเพื่อไม่ให้นาข้าวเสียหาย 

 

ชุมชน-เขตเศรษฐกิจ เสี่ยง ระดมกระสอบทรายป้องกัน

 

ส่วนที่จังหวัดกาฬสินธุ์มีฝนตกหนักวัดได้ถึง 139 มิลลิเมตร เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอ่างเก็บน้ำห้วยผึ้งซึ่งมั่นคงแข็งแรงปลอดภัยดี สำหรับสถากรณ์น้ำที่สูงถึงทางระบายน้ำล้น (Spillway) ที่อ่างเก็บน้ำห้วยสีทน แล้วล้นตลิ่งและไหลล้นข้ามถนนสายกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ส่งผลให้การจราจรติดขัด

 

นอกจากนี้ได้หารือกับเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์และหน่วยงานต่างๆ วางแผนแก้ไขปัญหา กำหนดจุดระบายฉุกเฉิน ตรวจสอบพื้นที่ เตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เศรษฐกิจและพื้นที่ชุมชน

 

สำหรับจังหวัดขอนแก่น ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อป้องกันอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจ อำเภอเมือง ขอนแก่น 11 เครื่อง ซึ่งพร้อมเดินเครื่องเร่งระบายน้ำทันทีหากมีน้ำท่วมขัง ที่จังหวัดมุกดาหาร ฝนที่ตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมขังบริเวณสนามกีฬากลางและถนนในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร คาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม และมีน้ำมาเติมในลำน้ำสถานการณ์น้ำจะระบายน้ำได้หมดใน 1-2 วัน ด้านจังหวัดอุบลราชธานีมีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร หมู่ที่ 18 ตำบลโนนสว่าง อำเภอข้าวปุ้น ได้เร่งสูบน้ำออก คาดว่า จะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 3-4 วัน 

 

ชุมชน-เขตเศรษฐกิจ เสี่ยง ระดมกระสอบทรายป้องกัน

 

นายทองเปลว กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในภาคเหนือ ที่จังหวัดพิษณุโลก เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมหมู่ที่ 2 3 และ4 ตำบลบ้านมุงและหมู่ที่ 2 , 3 และ 5 ตำบลวังยาง อำเภอเนินมะปราง ซึ่งโครงการชลประทานพิษณุโลกเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ 82 เครื่องไว้ก่อนแล้ว จึงเร่งระบายน้ำออกได้ทันที ขณะนี้สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นเนื่องจากมีปริมาณฝนตกในพื้นที่ลดน้อยลง และคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์

 

จังหวัดชัยนาทฝนที่ตกหนักและน้ำที่มากขึ้นได้กัดเซาะดินคันคลองฝั่งซ้ายทรุดตัวของคันคลองฝั่งซ้ายของคลองมะขามเฒ่า-กระเสียวเกิดการทรุดตัว ทำให้น้ำรั่วซึมข้างแผ่นคอนกรีตด้านซ้ายเป็นบางจุด โดยแนวทางป้องกันไม่ให้เสียหายเพิ่มเติม เป็นอุปสรรคต่อการสัญจรรวมถึงการลำเลียงผลผลิตทางการเกษตร ขณะนี้ดำเนินการซ่อมแซมเรียบร้อยแล้วที่จังหวัดนครนายกมีน้ำหลากในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาขุนด่านปราการชล เจ้าหน้าที่นำเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว 1 เครื่อง ไปติดตั้งที่ หมู่ 1 ตำบลพรหมมณี อำเภอเมืองเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาแล้ว

 
ส่วนที่ภาคตะวันออกมีฝนตกหนักในจังหวัดสระแก้ว ตรวจวัดได้ถึง 186 มิลลิเมตรทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นตลิ่งบริเวณสะพานคุ้มบ้านโป่งดาวเรือง หมู่ 6 ตำบลหนองบอน อำเภอเมืองสระแก้ว ซึ่งอยู่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำท่ากระบาก 
ท่วมถนนประมาน 15 เซนติเมตร สวนยูคาลิปตัสประมาณ 100 ไร่ บ้านเรือน 3 หลัง ปัจจุบันระดับน้ำได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่า จะระบายน้ำได้หมดในวันนี้

 

ชุมชน-เขตเศรษฐกิจ เสี่ยง ระดมกระสอบทรายป้องกัน

 

ายทองเปลว กล่าวว่า พายุโพดุลที่ทำให้เกิดฝนตกชุกในหลายพื้นที่ยังส่งผลดีต่อพื้นที่เกษตรที่ประสบภัยแล้วเช่นที่จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ และมหาสารคาม ต้นข้าวที่ขาดน้ำในช่วงฝนทิ้งช่วงมีน้ำหล่อเลี้ยง ลดความเสียหายของผลผลิตข้าวได้เป็นอย่างมาก ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กหลายแห่ง เริ่มมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯมากขึ้น ส่งผลดีต่อปริมาณน้ำในอ่างฯเพิ่มขึ้น คาดว่าจะทำให้มีปริมาณน้ำเพียงพอ สำหรับสนับสนุนกิจกรรมการใช้น้ำไปจนถึงฤดูแล้งหน้า