ข่าว

กำชับชาวสวนยึด GAP ตอกย้ำเพิ่มเชื่อมั่น คุณภาพ

กำชับชาวสวนยึด GAP ตอกย้ำเพิ่มเชื่อมั่น คุณภาพ

12 ต.ค. 2562

กำชับชาวสวนยึดมาตรฐาน GAP ช่วยตอกย้ำคุณภาพเพิ่มความมั่นใจคู่ค้าใน ต่างประเทศ พร้อมรับฟังปัญหาการจัดการน้ำในพื้นที่

 

12  ตุลาคม 2562 นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมงาน “รวมพลังชาวสวนภาคตะวันออกเข้าสู่ระบบรับรองมาตรฐานการผลิตพืช GAP”  

 

 

พร้อมย้ำมาตรฐาน GAP และ GMP จะส่งผลให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ส่งออกไปขายต่างประเทศได้มากขึ้น โดยเฉพาะกับประเทศจีน

 

ทั้งนี้ภาคตะวันออกเป็นแหล่งผลิตไม้ผลส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไย มะม่วงและกล้วยไข่ โดยมีจีนเป็นคู่ค้าหลัก แต่ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 จีนได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบการตรวจสอบสินค้านำเข้า เป็นทบวงการศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ GACC ทำให้มีความเข้มงวดเรื่องการนำเข้าผลไม้จากประเทศไทยมากขึ้น โดยมีข้อตกลงให้ทั้งสองฝ่ายแจ้งข้อมูลสวนและโรงคัดบรรจุผลไม้ ทำให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ภาคตะวันออกตื่นตัวกับการยื่นคำร้องขอรับรองแหล่งผลิต GAP และผู้ประกอบการต้องยื่นคำร้องการขอมาตรฐาน GMP 

 

กำชับชาวสวนยึด GAP ตอกย้ำเพิ่มเชื่อมั่น คุณภาพ

 

ที่สำคัญกว่าการยื่นคำร้องเพื่อขอรับรองมาตรฐาน GAP ของเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร คือความเข้าใจถึงการมีมาตรฐาน GAP ที่ประเทศคู่ค้าหลายประเทศให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัย และประเทศไทยเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตร เกษตรกรไทยจึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงถึงกฏระเบียบด้านการนำเข้าของต่างประเทศ

 

“นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้หน่วยงานภาครัฐเร่งดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร และรับรองมาตรฐานการผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP โดยกำหนดรูปแบบการดำเนินงานแบบ Fast track เพราะเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรให้ได้รับมาตรฐานอย่างครบถ้วน” นายนราพัฒน์ กล่าว

 

 

กำชับชาวสวนยึด GAP ตอกย้ำเพิ่มเชื่อมั่น คุณภาพ

 

นายนราพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พี่น้องเกษตรกรต้องมองการตลาดนำการเกษตร ปลูกอะไรต้องเป็นตามความต้องการของตลาด โดยกระทรวงเกษตรฯกำลังเร่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาฐานข้อมูลให้ทันสมัย เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ สังเคราะห์ พยากรณ์การพัฒนาภาคการเกษตรในอนาคตต และปัจจัยพื้นฐานด้านการผลิต ได้แก่ แหล่งน้ำ ที่ดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน องค์ความรู้ด้านการแปรรูป การตลาด ระบบขนส่งสินค้า เป็นต้น