ข่าว

"กวักมรกต" ไม้ประดับสกุลใหม่ ตอน2

"กวักมรกต" ไม้ประดับสกุลใหม่ ตอน2

19 ต.ค. 2562

คอลัมน์ - ไม้ใบทำเงิน โดย - อุดม ฐิตวัฒนะสกุล [email protected] 

 

               ต่อจากเสาร์ที่แล้ว 

              เสาร์ที่แล้วพูดความเป็นมาของ “กวักมรกต” หรือที่เรียกกันในแวดวงไม้ประดับว่า “ซามิโอ” หรือ “ซามิโอคัลคัส” (ZAMIO CULCUS) ซึ่งถูกจัดจำแนกเป็นไม้ประดับสกุลใหม่ที่ในระบบการค้าใช้เรียกชื่อ กวักมรกต ให้มีความเป็นมงคล เสาร์นี้มาว่าต่อกันในเรื่องคุณประโยชน์ของไม้สายพันธุ์นี้

\"กวักมรกต\" ไม้ประดับสกุลใหม่ ตอน2

   

    \"กวักมรกต\" ไม้ประดับสกุลใหม่ ตอน2

        ไม้ชนิดนี้เลี้ยงง่ายก็ไม่แสดงอาการให้เป็นที่วิตกแก่ผู้ปลูกเลี้ยงแต่ประการใด แต่ยังคงกลับให้ความสวยงาม พร้อมคงคุณประโยชน์ให้สภาพแวดล้อมที่ประดับอยู่ ทั้งยังช่วยดูดซับสารระเหยที่เกิดจากสารประกอบอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี เหมือนกับพืชประดับอื่นๆ อีกหลายชนิดซึ่งมีผลทางการศึกษา จากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศและมีการตีพิมพ์สู่สาธารณะมาแล้ว

         กวักมรกต แต่ก่อนหน้านี้แม้จะไม่ใช่ไม้ประดับที่อยู่ในวิถีการใช้ของเหล่าบรรดาสถาปนิกและนักออกแบบจัดสวนที่จะกำหนดนำต้นกวักมรกตเข้าไปร่วมจัดกับไม้ชนิดอื่นสักเท่าไรนัก แต่ด้วยชื่อที่ถูกเรียกขานให้ดูกลมกลืนกับวิถีและความรู้สึกของคนไทยจึงเป็นโอกาสให้ไม้ที่มีชื่อจากคำนำหน้าว่า “กวัก” ที่จะช่วยเพิ่มความรู้สึกเหมือนมีเทพี (เพศหญิง) ตามความเชื่อที่นับถือเพศหญิงเป็นสำคัญ จนเรียกสิ่งที่ยิ่งใหญ่ด้วยคำว่า “แม่” นำหน้า และมีการสืบสานความเชื่อนี้มาอย่างยาวนาน อันมีปรากฏให้เห็นในยุครุ่งเรืองสมัยกรุงศรีอยุธยาสืบต่อกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน

\"กวักมรกต\" ไม้ประดับสกุลใหม่ ตอน2

          และยังมีการต่อเชื่อมสิ่งทดแทนอันมีการเรียกไม้ประดับที่มีใบกลม ปลายใบเรียวแหลมจนดูคล้ายใบโพธิ์ และใบที่มีอายุมากจะโค้งงองุ้มเข้าหาต้น เหมือนลักษณะมือที่กวักเรียก โดยเรียกชื่อไม้ชนิดนั้นว่า “นางกวัก” ซึ่งเป็นไม้ในสกุล “อโลคาเซีย” เป็นชนิด อโลคาเซียคูคัลลาตา (Alocasia cullata) ซึ่งแตกต่างไปจากกวักมรกตที่มีทั้งใบและลำต้นผิดแผกกันไปโดยสิ้นเชิง 

 

 

  \"กวักมรกต\" ไม้ประดับสกุลใหม่ ตอน2

         ด้วยมีคำว่า “มรกต” ต่อท้ายให้เป็นคำคล้องจองคำเดิมที่มีความหมายเป็นอัญมณีสีเขียวดูมีคุณค่าเปี่ยมไปด้วยความเป็นมงคลอีกนัยหนึ่ง ไม้ชนิดนี้จึงดูไม่ธรรมดาจนหลายคนคิดจะหามาปลูกเลี้ยงเพื่อใช้ประดับตามคตินิยมและความเชื่อที่มีผลต่อความรู้สึกดีๆ อีกทั้งยังปลูกเลี้ยงค่อนข้างง่าย และยังให้ประโยชน์ทางเชิงกว้างได้อีกมากจากไม้ประดับสกุลใหม่นี้จนค่อยๆ เข้ามาครองใจในคนที่นิยมปลูกเลี้ยงไม้ประดับแบบไม้ต้องดูแลมาก และให้ความสวยงามยาวนาน พร้อมกับการขยายพันธุ์ที่ทำได้ไม่ยาก ซึ่งจะมีขั้นตอนและรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างไร..?

            โปรดติดตามในตอนต่อไปนะครับ..