จากแพปูสู่โต๊ะอาหาร อานิงสงค์โครงการ คืนปูม้าสู่ทะเลไทย
จากแพปู สู่ โต๊ะอาหาร อานิงสงค์โครงการ คืนปูม้าสู่ทะเลไทย
อานิสงค์จากโครงการ"คืนปูม้าสู่ทะเลไทย"ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561 ที่เห็นชอบให้ขยายผลธนาคารปูม้าในชุมชนชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามันให้ได้ 500 ชุมชนภายใน 2 ปี โดยมอบหมายห้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)ร่วมกับหนว่ยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนโครงากรดังกล่าว ถึงวันนี้ได้มีการดำเนินการไปแล้วกว่า 380 ชุมชนครอบคลุม 20 จังหวัดและอยู่ระหว่างการขยายผลเพิ่มอีก 94 แห่ง ในเวลาแค่จขวบปีสามารถเพิ่มปริมาณปูม้าในท้องทะเลไทยให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม
สุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ
“ท่องโลกเกษตร”เสาร์นี้ตามคณะผู้บริหารสำนักงานการวิจตัยแห่งชาตื(วช.)นำโดย“สุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ” ประธานโครงการ"คืนปูม้าสู่ทะเลไทย"เยี่ยมชมความสำเร็จของธนาคารปูม้าในพื้นที่แถบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยในจ.สุราษฎรณ์ธานีและนครศรีธรรมราช ตามโครงการสื่อมวลชนสัญจร ภายใต้หัวข้อ“ปูม้าสัตว์เศรษฐกิจ สร้างรอยยิ้มให้กับชุมชน” ที่ปัจจุบันมีธนาคารปูม้าในสองจังหวัดนี้มีจำนวน 60 กลุ่ม
สุกัญญาเผยผลการดำเนินงานของโครงการฯในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ระหว่างนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมแพปูเพชรปิยะ ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช โดยระบุว่าวช.ได้ร่วมกับกรมประมง มหาวิทยาลัยในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการดำเนินงาน ถอดบทเรียนและเผยแพร่องค์ความรู้การจัดทำธนาคารปูม้าในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นของชาวประมงในการกำหนดแนวทางการเพิ่มผลผลิตปูม้าและฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าในท้องทะเลไทย
จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลการจับปูม้าของกรมประมงตั้งแต่ตุลาคม 2561 ถึงเมาายน 2562 พบว่ามีปริมาณสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน เฉพาะเดือนเมษายน 2562 มีปริมาณการจับ 2,183 ตัน มากกว่าเดือนเมษายน 2561 ซึ่งยังไม่มีโครงการถึง 276 ตันคิดเป็นมูลค่า 55,200,000 บา หากจำหน่ายปูม้าในราคา 200 บาทต่อกิโลกรัม
จากนั้น ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยคืนปูม้าสู่ทะเลไทยในพื้นที่จ.สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชกล่าวเสริมว่าที่ผ่านมาชาวประมงชายฝั่งในบางพื้นที่ได้มีการทำธนาคารปูม้าอยู่แล้ว เพียงแต่การดำเนินการแบบชาวบ้านไม่มีความชัดเจนในเรื่องข้อมูลองค์ความรู้ แต่หลังจากมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐข้าไปส่งเสริมสนับสนุนผ่านโครงการวิจัย ทำให้การดำเนินการเป็นระบบมากขึ้น มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนเห็นผลความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
เขายอมรับว่าจากการสำรวจข้อมูลหลังมีโครงการคืนปูม้าสู่ทะเลไทยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีปริมาณปูม้าในท้องทะเลสองจังหวัดนี้เพิ่มมากขึ้น โดยเห็นได้จากปริมาณการจับของชาวประมงพื้นบ้าน จากเมื่อก่อนออกทะเลจับได้วันละ 5-10 กิโลกรัมเท่านั้น มาวันนี้จับได้เฉลี่ยวันละ 20-30 กิโลกรัม ซึ่งเป็นรายได้ที่มากพอสำหรับการดำรงชีพขงอสมาชิกในครอบครัวและสิ่งที่ต้องดำเนินการจากนี้ไปจะเร่งปลูกสร้างจิตสำนึกให้กับเด็กเยาวชน ลูกหลานชาวประมงให้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ปูม้าและธนาคารปูเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต
"สิ่งที่จะต้องทำจากนี้ไปก็คือการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์ปูม้า เพื่อป้องกันการถูกกดราคาจากพ่อค้า โดยจะรวมสมาชิกธนาคารปูในพื้นที่ 4-5 ชุมชนเป็นหนึ่งสหกรณ์ เมื่อกลุ่มสหกรณ์เกิดขึ้นจะสามารถต่อรองราคาหรือกำหนดราคาเองได้ ซึ่งเฟสหน้าผมจะทำตรงนี้เพื่อเป็นกลไกด้านราคาให้ชาวบ้านมีอำนาจต่อรอง"หัวหน้าโครงการวิจัยธนาคารปูม้าคนเดิมกล่าวย้ำ
ศิริน่า แขกพงศ์หรือนีน่า เจ้าของแพปูเพชรปิยะ ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในแพรปูเอกชนที่ร่วมโครงการคืนปูม้าสู่ทะเลไทยกล่าวยอมรับว่าหลังจากมีโครงการดังกล่าวทำให้ปริมาณปูม้าในทะเลมีเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เห็นได้จากการจับปูในแต่ละวัน จากเดิมได้วันละ 70-80 กิโลกรัมต่อลำ ทุกวันนี้จับได้เพิ่มเป็น 200-300 กิโลกรัมต่อลำ หลังจากนำปูที่จับได้มาขึ้นฝั่งก้จะทำการคัดแยกแม่ปูไข่นอกกระดองออกแล้วนำมาขังไว้เพื่อให้มันสลัดไข่ ก่อนนำไปจำหน่าย ส่วนไข่ที่สลัดก็จะเลี้ยงไว้ 1-2 วันก่อนำไปปล่อยในท้องทะเลต่อไป
"เราจะคัดแยกแม่ปูไข่ทุกวันแล้วก็นำไปปล่อยทุกวัน เรือเรามีทั้งหมด 9 ลำมีการออกทะเลทุกวัน ส่วนปูที่จับได้จะส่งโรงงานและบางส่วนก็ขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าทีมารับซื้อที่หน้าแพ ไซตืจัมโบ้กฺิดลละ 450-550 บาท สนใจโทร.083-6453239 หรือทักที่มาFB ปูม้านา มีบริการส่งด้วยค่ะ"
ด้าน เจริญ โต๊ะอีแตหรือบังมุ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 2561 สาขาการอนุรักษ์ทรัพย์กรสัตว์น้ำ ในฐานะประธานกลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้าน บ้านในถุ้ง ม.5 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราชกล่าวยอมรับว่าเมื่อก่อนปูม้า ในพื้นที่บริเวณนี้มีจำนวนมาก แต่หลังจากปี 2548 ปริมาณปูม้าลดลงอย่างรวดเร็วด้วยเครื่องมือประมงมีมากจนเกินไป ทำให้ชาวบ้านเริ่มคิดหาทางจะทำอย่างไรให้จำนวนปูม้ากลับคืนมาเหมือนในอดีต และมีโอกาสไปดูงานธนาคารปูที่จ.จันทบุรีแล้วนำมาปรับใช้ที่หน้าบ้านของตัวเอง
"ผลพวงจากที่มีเครื่องมือประมงมากเกินไป พวกเราคิดว่าถ้าเป็นแบบนี้อนาคตทะเลจะไม่มีปูม้าให้กินอย่างแน่อน ก็มาช่วยคิดกันว่าทำอย่างไรมาเติมเต้มปูม้าให้ทะเลได้ ก็ไปดูงานธนาคารปูที่จันทบุรีแล้วกลับมาทำ ทำสักพักชาวบ้านก็ไม่เอาปูม้ามาฝาก แต่ด้วยความคิดอุดมการณ์ของพวกเราที่มีอาชีพทำประมงพื้นบ้าน อยากจะให้ปูม้ากลับมาให้ได้ พอดีทางม.วลัยลักษณ์โดยอาจารย์อมรศักดิ์(สวัสดี)เข้ามาบอกว่าจะมาช่วยดูแลธนาคารปูม้า ปลายปี58 ก็สร้างอาคารหลังนี้ขึ้นมา พอปีปี59 มีชาวบ้านเอาแม่ปูม้ามาฝากเยอะมาก แล้วก็มีหลายกลุ่มองค์กรเข้ามาช่วย ทางรัฐบาลเองก็เห็นคงวามสำคัญก็มีโครงการคืนปูม้าสู่ท้องทะเลไทยเข้ามาในปี 61 จึงทำให้เห็นผลสำเร็จในวันนี้"บังมุกล่าว พร้อมย้ำว่า
จากผลสำเร็จของโครงการฯทำให้ชาวบ้านในถุ้งวันนี้ มีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มปริมาณของปูม้าในทะเล ส่งผลให้เศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้นและที่สำคัญทำให้สมาชิกในครอบครัวกลับมาอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาอย่างมีความสุข